วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกดอกหน้าวัว

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก จึงนับเป็นโชคดีของเกษตรกรไทยที่สามารถปลูกไม้ดอกที่มีความสวยแปลกตา การปลูกไม้ดอกพื้นเมือง อาจกระทำได้ง่ายเนื่องจากมีความคุ้นเคยอยู่ก่อน แต่การนำเอาไม้ดอกเขตร้อนชื้นจากต่างประเทศ เข้ามาปลูกนั้น จำเป็นต้องมีวิทยาการและเทคนิคที่เหมาะสม เนื่องจากนิสัยความต้อง การของไม้ดอกสกุลนี้ต่างจากไม้ดอกชนิดอื่นอย่างมาก
การปลูกดอกหน้าวัว
หน้าวัวและเปลวเทียนเป็นไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่มีการ ปลูกเป็นการค้าในเขตร้อนชื้น โดยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีเนื้อไม้อ่อนและมีอายุยืน ลำต้นตั้งตรง ความยาวของปล้องจะแตกต่างกันใปขี้นอยู่กับชนิดหรือพันธุ์ เมี่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้นและรากเหล่านี้จะเจริญยืดยาวลงสู่ เครื่องปลูกได้ก็ต่อเมื่อโรงเรือนมีความชื้นสูงพอ ลำต้นอาจเจริญเป็นยอดเดี่ยวหรือ แตกเป็นกอก็ได้ ใบมีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปหัวใจ ดังเช่นที่พบในหน้าวัว หรือ รูปพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปี และรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดดังที่พบใน เปลวเทียน แต่ไม่ว่าจะมีรูปร่างอย่างไรจะสังเกตเห็นว่าปลายใบแหลม ในพวกที่มี ใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแห ขณะที่พวกซึ่งมีใบแคบเส้นใบจะเรียงตัว คล้ายเส้นขนาน แต่ทั้งนี้เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน ดอกหน้าวัวและดอกเปลวเทียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศคือ ดอกแต่ละดอกจะมี ทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกมีลักษณะเป็นดอกช่อโดยดอกรูปสี่เหลี่ยมข้าว หลามตัดจะเรียงอัดกันแน่นอยู่บนส่วนที่เรียกว่าปลี ดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ สีของกลีบดอกมักจะเปลี่ยนไปเมื่อดอกบาน เช่น ในปลีของดอกหน้าวัว ส่วนใหญ่ จะพบว่า เมื่อดอกบาน สีของกลีบดอกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีขาว ส่าหรับ จานรองดอกซึ่งมีสีสันที่สวยงามนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือใบประดับที่ติดอยู่กับโคน ช่อดอกหรือปลี จานรองดอกอาจมีสีขาว ส้ม ชมพูอมส้ม ชมพู แดง ม่วง และ สีเขียว หรือบางครั้งอาจพบจานรองดอกที่มีสีเขียวและ สีอื่นปนกันก็ได้ ปกติจานรอง ดอกจะมีอายุการใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน โดยจานรองดอกจะมีคุณภาพทั้งในด้านสี และอายุการใช้งานดีที่สุดเมื่อตัดในขณะที่ดอกจริงบานได้ครึ่งปลี ส่าหรับจานรอง ดอกของหน้าวัวที่เหมาะส่าหรับในการตัดดอกเพื่อการส่งออกนั้น ควรมีร่องน้ำตาตื้น หูดอกช้อนกันเพียงเล็กน้อย และขอบจานรองดอกต้องไม่ม้วนงอ เนื่องจากลักษณะ ดังกล่าวจะช่วยป้องกันไม่ให้จานรองดอกหักในระหว่างการบรรจุและการขนส่ง อนึ่งจานรองดอกและปลีควรชี้ไปในแนวเดียวกัน ส่าหรับจานรองดอกของดอก เปลวเทียนนั้น ควรอยู่ชิดกับโคนปลีและโอบรอบปลีเอาไว้

สายพันธุ์ของดอกหน้าวัว


สายพันธุ์ของดอกหน้าวัว

พันธุ์หน้าวัวของไทยที่มีผู้นิยมปลูกเพี่อตัดดอกคือพันธุ์ดวงสมร ซึ่งมี จานรองดอกสีแดง หน้าวัวพันธุ์นี้มีสีสดใส รูปร่างจานรองดอกสวยและให้ดอกดก แต่มีข้อเสียตรงที่ว่าจานรองดอกของหน้าวัวพันธุ์นี้มักมีรอยเว้าฉีกขาดในช่วง ที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากพันธุ์ดวงสมรแล้วก็อาจจะมีผู้ปลูกพันธุ์ ผกามาศซึ่งมีจานรองดอกสีส้ม และพันธุ์ขาวนายหวานซึ่งมีจานรองดอกสีขาวอยู่บ้าง พันธุ์ไทยอื่น ๆ เช่น พันธุ์จักรพรรดิ์ แดงนุกูล กษัตริย์ศึก กรุงธน นครธน ศรีสง่า ผกาทอง ดาราทอง สหรานากง โพธิ์ทอง ประไหมสุหรี ผกาวลี ศรียาตราและ วิยะดานั้นไม่เป็นที่นิยมในการปลูกเพื่อตัดดอกนัก ส่าหรับหน้าวัวพันธุ์ต่างประเทศก็ มีผู้ปลูกอยู่บ้างเหมือนกัน ได้แก่พันธุ์ Nagai พันธุ์ Avo-Anneke พันธุ์ Sunset (ตั้งชื่อโดยคนไทยที่นำเข้า) และ พันธุ์ Dusty Rose เป็นต้น ส่าหรับพันธุ์เปลวเทียนที่ปลูกกันนั้นได้แก่พันธุ์ไทย 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์ภูเก็ตซึ่งมีจานรองดอกสีแดง และพันธุ์ลำปาง ซึ่งมีจานรองดอกสีชมพู ส่วนพันธุ์ ต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกเพี่อเป็นไม้กระถาง ได้แก่พันธุ์ ARCS ซึ่งมีจานรองดอก สีม่วง พันธุ์ Lady Jane ซึ่งมีจานรองดอกสีชมพู และ A. Amni-oquiense ซึ่งมี จานรองดอกสีม่วงอ่อน แม้ปัจจุบันพันธุ์ไม้ดอกสกุลหน้าวัวมีอยู่ค่อนข้างจำกัด แต่กรมส่งเสริมการเกษตรและมูลนิธิโครงการหลวงกำลังนำพันธุ์ต่างประเทศเข้ามา ศึกษาเพื่อเตรียมเผยแพร่ในอนาคตอัน

โรงเรือนที่ใช้ในการปลูกดอกหน้าวัว


โรงเรือนที่ใช้ในการปลูกดอกหน้าวัว

ธรรมชาติของไม้ดอกสกุลหน้าวัวต้องการสภาพที่มีความชื้นสูงและมีแสง แดดรำไร แต่ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ดังนั้นโรงเรือนจึงต้องมีความสูงไม่ต่ำ กว่า 3.0 เมตร หลังคาคลุมด้วยตาข่ายพลาสติกพรางแสงชนิดที่ยอมให้แสงผ่าน ได้ 20-30% โดยจะเลือกใช้ชนิดใดขี้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าว รอบ โรงเรือนควรปิดด้วยตาข่ายพรางแสงให้เว้นด้านบนไว้เล็กน้อย เพื่อระบายอากาศปัองกัน ไม่ให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไป พื้นโรงเรือนควรเก็บความชื้นได้ดี ขณะเดียวกันจะต้องระบายน้ำได้ดี ด้วย ดังนั้นพื้นโรงเรือนจึงอาจใช้อิฐมอญหรือกาบมะพร้าวปูพื้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม อาจใช้พื้นคอนกรีตเพือความทนทาน โดยพื้นคอนกรีตที่สร้างขึ้นจะต้องทำร่อง ระบายน้ำให้สามารถขังน้ำไว้ช่วยเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนได้ด้วย พื้นโรงเรือนใน ลักษณะที่กล่าวมานี้จำเป็นมากส่าหรับการปลูกในกระถาง แต่การปลูกในแปลงไม่ จำเป็นต้องใช้พื้นโรงเรือนที่เก็บความชื้นได้ เนื่องจากเครื่องปลูกช่วยเก็บ

วิธีการปลูกดอกหน้าวัว


วิธีการปลูกดอกหน้าวัว

ไม้ดอกสกุลหน้าวัวสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกลงแปลง ส่าหรับ เกษตรกรไทยนั้นนิยมปลูกในกระถาง เนื่องจากสะดวกในการจำหน่ายต้นพันธุ์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะปลูกในกระถางหรือปลูกลงแปลง ควรเลือกเครี่องปลูกให้ เหมาะสม ส่าหรับในประเทศไทยเครื่องปลูกที่ดีที่สุดคือ อิฐมอญทุบขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง l.5 - 3.0 เชนติเมตร เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีและมีความคงทน สูง นอกจากนี้การเลือกขนาดอิฐทุบที่เหมาะสม ยังทำให้สามารถควบคุมการระบาย อากาศได้ตามต้องการอีกด้วย อนึ่งการปลูกด้วยอิฐมอญทุบในสภาพที่ค่อนข้าง แห้ง อาจเติมถ่านแกลบหรือกาบมะพรัาวสับเพี่อช่วยเก็บความชื้นคัวยก็ได้ อย่างไรก็ ตาม ผู้ปลูกควรทดลองปลูกด้วยอิฐมอญทุบจำนวนน้อยต้นก่อน เนี่องจากคุณภาพดิน ที่ใช้ทำอิฐมอญชี่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วย นอกจากอิฐมอญทุบแล้วอาจใช้กาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกก็ได้ แต่ต้องหมั่น เติมเครี่องปลูกบ่อย ๆ เพราะกาบมะพร้าวผุพังง่าย

การปลูกดอกหน้าวัวในกระถาง


การปลูกดอกหน้าวัวในกระถาง

กระทำได้ไดยวางอิฐหักเปิดรูระบายน้ำที่บริเวณก้นกระถางเสียก่อน จากนั้นวางโคนต้นบนเศษอิฐหักนั้น โดยให้ต้นอยู่ตรงกลางกระถางและรากกระจาย อยู่โดยรอบ นำอิฐมอญทุบขนาดใหญ่ที่แต่ละก้อนมีความยาวด้านละประมาณ 4 เชนติเมตร ใส่รอบโคนต้นประมาณครึ่งกระถาง แล้วนำอิฐมอญทุบที่มีก้อนขนาด เล็กกว่าเดิมครึ่งหนึ่งมาใส่จนมีระดับต่ำกว่าปลายยอดประมาณ 2 เชนติเมตร หรือ ใส่จนเต็มกระถางในกรณีที่ต้นค่อนข้างสูง หากโรงเรือนตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพ อากาศที่ค่อนข้างแห้ง อาจใส่ใยมะพร้าวบนผิวเครี่องปลูกเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่ม ชื้น ทั้งนี้การใช้จานรองกระถางก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความชื้นให้แก่พืชได้


การปลูกดอกหน้าวัวลงแปลง


การปลูกดอกหน้าวัวลงแปลง

กระทำได้โดยกั้นขอบแปลงด้วยอิฐบล็อกหรือตาข่ายกรงไก่ให้ มีความสูงราว 30 เซนติเมตร พื้นแปลงควรทำเป็นสันนูนมีลักษณะคล้ายหลังเต่าเพื่อ ให้น้ำสามารถระบายออกทางด้านข้างแปลงได้โดยไม่ขังแฉะ และควรใช้ผ้าพลาสติก ปูพื้นแปลงเพี่อปัองกันไส้เดือนดิน จากนั้นจึงใส่เครี่องปลูกลงในแปลงให้มีความ หนาประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เสร็จแล้วปักหลักลงในแปลง ผูกต้นให้ตั้งตรงและ โคนต้นชิดกับเครี่องปลูกโดยให้รากแผ่กระจายบนเครื่องปลูกแล้วจึงเติมเดรี่อง ปลูกลงไปคล้ายกับการปลูกในกระถาง คือใส่ให้มากที่สุดโดยไม่กลบยอด

โดยปกติแล้วการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวนี้ จะปลูกให้แต่ละต้นห่าง กันไม่น้อยกว่า 30 เชนติเมตร ซึ่งถ้าเป็นการปลูกในกระถาง ก็อาจปลูกในกระถาง ขนาด 12 นิ้วแล้วนำมาวางชิดกัน หลังจากปลูกแล้วจะต้องหมั่นเติมเครื่องปลูกอยู่ เสมอ อย่าปล่อยให้เครื่องปลูกอยู่ในระดับที่ห่างจากยอดเกิน 30 เซนติเมตร เพราะ การที่ยอดอยู่สูงเหนือเดรี่องปลูกมาก ๆ จะมีผลทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร


การดูแลรักษาดอกหน้าวัว


การให้น้ำ


ควรเลือกใบ้ระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำเหวี่ยง โดยอาจใช้ระบบที่หัว พ่นน้ำตั้งบนพื้น การให้น้ำระบบนี้จะช่วยให้ความชื้นในโรงเรือนอยู่ในระดับ สูง ปกติจะให้น้ำวันละ 2 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำให้คราวละ 10 - 15 นาที การให้น้ำควรแบ่งทยอยเปิดน้ำภายในโรงเรือนเป็นส่วน ๆ ไปเพี่อรักษาความชื้น ในโรงเรือน ไม่ควรให้น้ำพร้อมกันทั้งโรงเรือน อนึ่งในช่วงที่มีสภาพอากาศ แห้ง อาจจะต้องให้น้ำถึงวันละ 3 ครั้ง


การให้ปุ๋ย


ควรให้ปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรยรอบชายพุ่ม หรือรอบโคนต้นเดือนละครั้ง ในอัตราต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม) และอาจใช้ปุ๋ย เกร็ดละลายน้ำสูตร 15-30-15 หรือะ 17-34-17 อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นเสริมให้ทุก 15 วัน จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีและออกดอกดก


การตัดแต่ง


ควรตัดแต่งใบออกบ้างในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยตัดให้ เหลือเพียงยอดละ 3 - 4 ใบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริเวณโคนต้นมีการระบายอากาศได้ดีขึ้นใน ช่วงฤดูฝน อีกทั้งการตัดใบจะช่วยให้มีโรคและแมลงลดลง โดยไม่ทำให้การเจริญ เติบโตหรือจำนวนดอกลดลงแต่อย่างใด


การขยายพันธุ์


ในการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพื่อการค้านิยมการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศหรือที่เรียกว่าการขยายโคลน เพราะต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโอกาสที่จะกลาย พันธุ์ไปจากต้นเดิมได้สูงมาก การขยายโคลนให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์เดิมอาจกระทำ ได้ดังนี้



การตัดดอก


เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก สามารถทำได้ทั้งในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าขนาด เล็กชึ่งได้จาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อ และต้นขนาดใหญ่ที่สูงเกินไปคือ ยอดสูงกว่า เครื่องปลูกเกิน 60 เชนติเมตร โดยตัดให้มีใบติดยอดมาด้วยประมาณ 4 - 5 ใบ และหากมีรากติดยอดที่ตัดมาด้วย จะทำให้ต้นตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็ว แต่ถ้าไม่มี รากติดยอดมาเลย ในช่วงแรกจะต้องนำยอดที่ตัดมานี้ไปชำไว้ในที่ซึ่งมีความชื้นสูง มากก่อน รอจนยอดแตกรากและรากมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว จึงย้ายไปไว้ในโรงเรือนตามปกติ


การตัดหน่อ


นิยมตัดหน่อที่มีรากแล้ว 2-3 ราก ซึ่งหน่อที่ตัดนี้อาจเกิดมาจากโคนต้น ของพันธุ์ที่มีหน่อดอก หรือเกิดจากตอที่ตัดยอดและหน่อไปแล้วหรือเกิดจากการชำ การรีบตัดหน่อ ในขณะที่ยังมีขนาดเล็กจะทำให้ต้นตั้งตัวช้า จึงควรทิ้งให้หน่อมีขนาดใหญ่และมีรากพอสมควรก่อน



การปักชำ


วิธีนี้จะทำกับต้นตอที่เมื่อตัดยอดไปแล้วไม่เหลือใบติดอยู่ ซึ่งปกติจะ เป็นต้นที่มีอายุมากอาจปักชำทั้งต้นหรือตัดต้นเป็นท่อน ๆ ก่อนแล้วจีงนำไปปักชำ โดยที่แต่ละท่อนจะต้องมีข้อติดไปด้วยอย่างน้อย 3 ข้อ ในการปักชำจะต้องวาง ต้นให้ทำมุมกับวัสดุปักชำ 30-45 องศา โดยให้ตาหันออกด้านข้างเพราะจะทำให้ได้ หน่อในปริมาณมาก วัสดุปักชำอาจใช้อิฐมอญทุบละเอียด หรือทรายหยาบผสมถ่าน แกลบก็ได้ ควรปักชำในบริเวณที่มีแสงน้อยกว่าปกติ ถ้าเป็นการปักชำในกระบะชำ จะต้องควบคุมความชื้นให้อยู่ในระดับสูงอยู่เสมอแต่ไม่แฉะ



การเพาะเนื้อเยื่อ


วิธีนี้เกษตรกรจะต้องพึ่งบริการจากห้องปฎิบัติการเชิงการค้า โดยจะใช้ ใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่ไปขยายพันธุ์ ซึ่งต้นพันธุ์ที่คัดเลือก ไว้เพื่อขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะ เลี้ยงเนื้อเยี่อนี้ จะต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ คือในการรดน้ำจะต้องรด เฉพาะบริเวณโคนต้นเท่านั้น การขยายพันธุ์วิธีนี้จะกระทำในกรณีที่ต้องการต้นพันธุ์ ในปริมาณมาก เช่น10,000 ต้น ในเวลา 2 - 2.5 ปี อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ได้จากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยือจะมีขนาดเล็ก จึงต้องปลูกในบริเวณที่ร่มและมีความชื้นสูง โดย เฉพา อย่างยิ่งในระยะที่นำออกจากขวดใหม่ ๆ


การตัดดอก


ไม้ดอกสกุลนี้มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน คือไม่ควรต่ำกว่า 10 วัน ในระยะ ที่จานรองดอกเริ่มคลี่จะมีสีสดใสมากแต่ความสดใสจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่าหรับอายุการปักแจกันนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อรอให้ดอกบานบนต้นนานขึ้นจนถึงระยะ ที่ปลีเปลี่ยนสีทั้งปลีแล้วจากนั้นอายุการปักแจกันของดอกจะลดลง ปกติระยะที่เหมาะสม ที่สุดในการตัดดอกคือในระยะที่ปลีเปลี่ยนสีหรือเกสรตัวเมียชูขึ้นเหนือดอกแล้ว ครึ่งปลี ซึ่งเมื่อตัดดอกแล้วควรจุ่มมีดในน้ำยาฆ่าเชื้อเช่น ฟายแชน -20 (Physan-20) ในอัตรา 5 ชีชีต่อน้ำ 1 ลิตร ทุกครั้ง เพื่อป้องกันกันการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ดอกที่ตัดมาแล้วก็ควรแช่ในน้ำสะอาดและวางไว้ในร่มก่อนที่จะจัดส่ง ไปจำหน่ายต่อไป ทิ้งนี้ต้องระวังอย่าวางดอกไว้ในที่แห้งโดยไม่แช่น้ำ

ศัตรูและการป้องกันกำจัด


ปกติไม้ดอกสกุลนี้มีศัตรูรบกวนน้อยมาก เนื่องจากสามารถผลิตสารเคมีมา ป้องกันตัวได้ อย่างไรก็ตาม หากจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็อาจพบโรคและศัตรูบางอย่าง เช่น


โรคนี้หากไม่ได้เกิดจากการได้รับแสงมากเกินไป อาจเกิดจากเชื้อรา เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส หรืออาจเกิดจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค ไฟทอพโธรา อาการของโรคแอนแทรคโนสจะสังเกตเห็นได้ชัดเพราะแผลจะแห้ง เป็นวงช้อนกันในขณะที่อาการใบแห้งจากโรคไฟทอพโธราจะไม่เป็นวง หากมีโรค ใบแห้งเกิดขึ้น ควรลดแสงเพิ่มความชื้นและการระบายอากาศให้มากขึ้น แล้วฉีดพ่น ด้วยอาลีเอท หากเป็นโรคไฟทอพโธรา หรือฉีดพ่นด้วยบาวิสติน หากเป็น

โรคแอนแทรคโนส


โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยจะทำให้เกิดอาการช้ำและไหม้ซึ่งอาจทำ ให้ต้นตายได้ โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงมากเมี่อมีความชื้นและอากาศไม่ถ่ายเท หากพบอาการในระยะเริ่มแรกควรนำต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียและฉีดพ่น ด้วยแคงเกอร์เอ๊กช์หรือสเตรป
1 คือใบที่แสดงอาการโรคใบแห้งที่เกิดจากเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไฟทอพโธรา
2 คือใบที่แสดงอาการโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบหนาและด้าน ใบจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จึง ต้องรีบนำต้นที่มีอาการของโรคไปเผาทำลายทันที

พบทั้งไรแดงและไรขาว ซึ่งจะทำลายทั้งใบและจานรองดอก ทำให้ผิว ใบและจานรองดอกมีลักษณะด้าน หากพบอาการเข้าทำลายของไร ควรฉีดพ่นด้วย โอไมท์หรือกำมะถันหรือไวท์ออยล์

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าไม้ดอกสกุลหน้าวัวเลี้ยงดูง่าย ผู้ที่สนใจ อาจเลือกปลูกพันธุ์พื้นเมือง เช่น หน้าวัวพันธุ์ดวงสมร ผกามาศและขาวนายหวาน หรือ เปลวเทียนพันธุ์ลำปาง และภูเก็ต หรือเลือกพันธุ์ต่างประเทศจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือจากประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้

ตัวอย่างเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกดอกหน้าวัว



ตัวอย่างเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกดอกหน้าวัว


คุณ ดำ อยู่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 8 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86190 คุณดำ เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รุ่น 49 ปัจจุบันเขาปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน หน้าวัว รวมทั้งจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อาทิ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และอื่นๆ เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเกษตร สิ่งที่เกษตรกรหนุ่มทำอยู่ จึงมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก

สำหรับ หน้าวัว คุณดำ ปลูกเลี้ยงมาตั้งแต่ ปี 2544 ในพื้นที่ 3 ไร่ ด้วยกัน

ก่อน หน้านี้ งานปลูกเลี้ยงหน้าวัว ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะมีการคิดคำนวณตัวเลขแล้ว ผลตอบแทนต่อไร่ค่อนข้างมาก แต่เมื่อทำเข้าจริงๆ มีอุปสรรคไม่น้อย หลายคนเลิกราไป แต่สำหรับคุณดำแล้วยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้มีอุปสรรคก็แก้ไขให้ลุล่วงได้

ถามถึงเรื่องการลงทุนก่อน ว่าตกไร่ละเท่าไร

นักเกษตรหนุ่มบอกว่า เมื่อก่อนลงทุนมากกว่าปัจจุบัน สาเหตุนั้น โครงสร้างโรงเรือนใช้เหล็กล้วนๆ ปัจจุบันมีการผสมผสานใช้เหล็กผสมผสานกับท่อ พีวีซี เรื่องของต้นพันธุ์นำเข้ามาจากฮอลแลนด์ สนนราคาต้นละ 120 บาท ต้นทุนโรงเรือนบวกกับต้นพันธุ์ เมื่อเริ่มแรกจึงตกไร่ละ 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) เมื่อผ่านปีที่ 5 ไปแล้ว ผู้ปลูกสามารถขยายพันธุ์เอง ต้นทุนช่วงหลังจึงตกไร่ละ 300,000 บาท

โรงเรือนที่ปลูกหน้าวัว มุงด้วยซาแรน ส่วนแปลงนั้นพูนดินให้เป็นรูปหลังเต่า แล้วปูด้วยพลาสติค จากนั้นทำขอบแปลงให้สูงขึ้น วัสดุปลูกดีที่สุดคือ ถ่าน สำหรับหน้าวัวที่ต้นอายุไม่มาก เมื่อเวลาผ่านไป ต้นสูงขึ้น เจ้าของบอกว่า ให้ใช้เปลือกมะพร้าวเป็นวัสดุปลูก ต้นจะได้ยึดไม่ล้มง่าย อีกอย่างต้นทุนการผลิตจะถูกลง เนื่องจากถ่านแพงกว่าเปลือกหรือกาบมะพร้าวอย่างแน่นอน

ระยะระหว่างต้นระหว่างแถวที่ปลูก ราว 1 ฟุต ไร่หนึ่งปลูกได้ประมาณ 10,000 ต้น

สายพันธุ์ที่ปลูกอยู่ มีดังนี้

สีแดง ได้แก่ พันธุ์ทรอปิคอล

สีเขียว ได้แก่ พันธุ์พิตาเช่

สีขาว ได้แก่ พันธุ์แชมเปญ

สีชมพู ได้แก่ พันธุ์เชียร์

ต้นพันธุ์ของหน้าวัว ปัจจุบันมีการสั่งเข้ามาน้อย ในเมืองไทย ถือว่ามีอยู่มากพอสมควร ผู้ที่สนใจปลูกหน้าวัว สามารถเสาะหาได้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หน่วยงานทางราชการก็สนับสนุนผู้สนใจ ทั้งเรื่องวิชาการและปัจจัยการผลิต

คุณดำ บอกว่า การดูแลรักษาหน้าวัวไม่ง่ายนัก เพราะมีปัญหาเรื่องโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย หากพบต้องรีบกำจัด อาจจะกำจัดเป็นส่วนๆ ไป เช่น ระบาดในแปลงยาว 2 เมตร อาจจะยกไปทำลาย 3 เมตร บางครั้งอาจจะทั้งแปลง โรคอย่างอื่นก็มีสาเหตุที่เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า ที่ทำให้ต้นเน่า ที่ผ่านมาคุณดำสามารถดูแลได้ แต่เน้นเรื่องของการป้องกันมากกว่า เช่น ก่อนที่จะเข้าไปชมแปลง มีอ่างน้ำยา ผู้ที่จะเดินเข้าไปในแปลงต้องจุ่มรองเท้าลงไปในน้ำยาก่อน เป็นการป้องกันขั้นพื้นฐาน เหมือนอย่างฟาร์มเป็ด ฟาร์มไก่ เขาทำกัน

เรื่องของการให้น้ำ หากเป็นหน้าแล้ง เจ้าของให้น้ำวันละ 3 ครั้ง หากเป็นหน้าฝน ที่ชุมพรฝนชุก สัปดาห์หนึ่งอาจจะไม่ต้องให้น้ำเลย

เรื่อง ของปุ๋ย เจ้าของให้ปุ๋ยละลายช้า สูตร 17-17-17 จำนวน 100 กรัม ต่อ 3 ตารางเมตร ระยะเวลา 4 เดือน ใส่ให้ครั้งหนึ่ง ปีหนึ่งใส่ให้ 3 ครั้ง

ตลาดและผลตอบแทน เป็นอย่างไรบ้าง

คุณ ดำ บอกว่า เดิมผลผลิตดอกหน้าวัวตนเองทำส่งญี่ปุ่น ราคาดอกละ 18-20 บาท แต่ขั้นตอนการบรรจุหีบห่อทำได้ยาก จึงจำหน่ายเฉพาะในเมืองไทยระยะหลัง โดยดอกส่งที่กรุงเทพฯ และภูเก็ต สนนราคาดอกละ 10 บาท ที่ชุมพรก็มีจำหน่ายบ้าง ราคาอาจจะย่อมเยาลง 5-6 บาท ต่อดอก ถือว่าราคาต่ำสุดแล้ว

“ผลผลิตหน้าวัว 3 ไร่ จำนวน 30,000 ต้น หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือ 15,000-20,000 บาท ต่อเดือน ดอกหน้าวัวตอนนี้ไม่พอส่งตลาด การตัดดอก ตัดอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 1,000 ดอก สิ่งที่ผู้ปลูกท้อกันคือโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เป็นแล้วจะลามทั้งแปลง ต้องดูอย่างละเอียด เป็นนิดเป็นหน่อยต้องเอาไปทำลาย เรื่องของพันธุ์เมื่อเข้าปีที่ 4 เริ่มตัดขยายพันธุ์ คล้ายวาสนา ต้นเป็นข้อปล้อง เป็นพืชที่น่าลงทุน ตลาดไม่พอ ยังจำหน่ายได้ราคาดี กุหลาบยังขายได้ไม่เท่าหน้าวัว”

คุณดำ บอก และเล่าอีกว่า “ที่คนไม่ค่อยทำกันคือลงทุนสูงที่โรงเรือนและพันธุ์ รวมทั้งสู้โรคไม่ได้ คนมาดูกันบ่อยที่แปลงปลูกของผม ที่ผ่านมา คนมีเงินไปดูงาน ลงทุนเป็น 10 ล้าน เจ๊งก็มี มีคนมาดูงานที่ผมแล้วไปทำได้ผล เริ่มจากเล็กๆ น้อยๆ 2,000-3,000 ต้น แล้วค่อยๆ ขยาย ที่ชุมพร สุราษฎร์ฯ มีหลายแปลง เลิกปลูกไปก็มาก ของผมถือว่ารายได้เป็นรายเดือน”

คุณดำ บอกว่า งานปลูกหน้าวัวของตนเอง หากเปรียบเทียบกับงานทางด้านอื่น เช่น ทำทุเรียนนอกฤดูส่งต่างประเทศ ทุเรียนจะดูวูบวาบกว่า มีแรงจูงใจมากกว่า เพราะมีโอกาสรับทรัพย์ก้อนโต แต่โดยรวมแล้ว หน้าวัว ก็ยังน่าทำ เนื่องจากผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพียงแต่ต้องศึกษาว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ผลิตให้เหมาะสมก็จะอยู่ได้

โรคใบไหม้ ของหน้าวัว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris

เชื้อจะเข้าบริเวณขอบและใต้ใบ ทำให้เกิดจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ สีน้ำตาล และมีสีเหลืองที่ขอบล้อมรอบแผล ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน กระจายอยู่ทั่วไป อาการจะเด่นชัดด้านหลังใบ ขนาดของแผลจะแตกต่างกันออกไป บางครั้งจะเป็นเหลี่ยม และถูกจำกัดด้วยเส้นใบ หรือขยายออกไปตามแนวยาวของเส้นกลางใบ จนถึงขอบใบ ลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม นอกจากนี้ ยังพบอาการแผลยาวสีน้ำตาลจากปลายปลีลงมาและลุกลามเข้าไปในก้านดอกและจาน รองดอกได้อีกด้วย หากใบที่เป็นโรคไม่ถูกตัดทิ้งในระยะเริ่มต้น เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปทั้งต้นพืช โดยผ่านทางท่อน้ำ ท่ออาหาร อาการต่อมาที่พบคือ ใบแก่ จะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองด้านๆ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อน้ำ ท่ออาหาร เมื่อผ่าตัดตามขวางจะเห็นท่อน้ำ ท่ออาหาร เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ก้านใบ ก้านดอก หลุดร่วงได้ง่าย

สภาพที่เหมาะต่อการระบาดนั้น มีเรื่องของความชื้น อุณหภูมิ ฝน หรือการให้น้ำถูกใบ อาจทำให้ใบเป็นแผลและเป็นทางให้แบคทีเรียเข้าทำลายได้ง่าย

นักวิชาการเกษตรแนะนำว่า ควรหาทางป้องกันโรคนี้ ดีกว่าให้ระบาดแล้วรักษาแนวทางป้องกัน ทำได้โดย

1. ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรค

2. ฆ่าเชื้อใบมีดสำหรับการตัดใบและตัดดอก โดยจุ่มในน้ำยาฆ่าเชื้อ

3. ไม่ควรปลูกพืชสกุลใกล้เคียงกันไว้ใกล้ๆ เช่น อะโกลนีมา ดิฟเฟนบาเกีย ฟิโลเดนดรอน บอน เดหลี เป็นต้น

4. ตัดแต่งใบให้ลมถ่ายเทได้สะดวก

5. หากเชื้อระบาด ควรถอนไปทำลายทิ้ง

6. ควรงดปุ๋ยไนโตรเจนชั่วคราว หากมีการระบาด

7. หากมีการระบาดควรพ่นด้วยสารสเตรปโตมัยซิน และสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

การปลูกเบญจมาศ

กลุ่มผู้ปลูกเบญจมาศ  "เบญจมาศ" เป็นไม้ตัดดอกที่มีมูลค่าการผลิตติดอันดับ 1 ใน 4 อันดับแรกของไม้ตัดดอกทั่วโลก โดยมีประเทศเนเธอร์แลนด์ โคลัมเบีย แอฟริกาใต้ สเปน อิสราเอล สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก สำหรับในประเทศไทย มีแหล่งปลูกอยู่ที่เชียงใหม่ เชียง ราย นนทบุรี สุราษฎร์ธานี สงขลา ยะลา อุบล-ราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น หนองคาย และนครราชสีมา โดยนิยมปลูกแบบดอกช่อมากกว่าแบบดอกเดี่ยว เนื่องจากดูแลรักษาง่ายกว่า สามารถผลิตได้คุณภาพดีในช่วงฤดูกาลผลิต คือ ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงมีนาคม แต่ผลผลิตที่ได้ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค บางครั้งผลผลิตก็ไม่สม่ำเสมอ ผลผลิตไม่ต่อเนื่อง มีอายุการปักแจกันสั้น จึงมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ คือมาเลเซีย และเนเธอร์แลนด์เป็นปริมาณมาก โดยมีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 25 ล้านบาทต่อปี
ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียวนี้ กลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ มีสมาชิก 40 คน เริ่มปลูกเบญจมาศเมื่อปี 2541 สามารถปลูกเบญจมาศได้ตลอดทั้งปีทั้งในฤดู และนอกฤดู มีพื้นที่ปลูกประมาณ 14 ไร่ ใช้เวลาปลูกประมาณ 2.5-3 เดือนก็เก็บเกี่ยวได้ พันธุ์ที่ปลูกทั้งหมดมมากกว่า 22 สายพันธุ์ ที่มีมากเช่นนั้นก็เพราะตลาดแต่ละที่มีรสนิยมแตกต่างกัน โดยพ่อค้าแม่ค้าจากที่ต่าง ๆ จะเดินทางมาที่นี่เอง มาบอกว่า ต้องการดอกแบบไหน สีอะไร ทางกลุ่มก็จะผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการ


เทคนิคการผลิตเบญจมาศนอกฤดู   ซึ่ง คุณสมนิตย์ เหล็กอุ่นวงษ์ นักวิชาการเผยแพร่ สนง.เกษตรจังหวัดนครราช สีมาได้ซักถามมาจากนักวิชาการเกษตร ซึ่งได้บอกถึงเทคนิคการผลิตว่า ด้วยความที่เบญจมาศเป็นพืชวันสั้น (วันสั้นตามทฤษฎีหมายถึงกลางวันสั้นกว่า 14.5 ชั่วโมง) เบญจมาศจะเริ่มสร้างตาดอก และพัฒนาเป็นดอกที่สมบูรณ์ได้ต้องมีช่วงกลางวันสั้นกว่า 13.5 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นหากปลูกเบญจมาศในช่วงวันสั้นจะออกเร็ว หรือ ให้ดอกเมื่อยังเล็กอยู่ หากปลูกเบญจมาศที่มีช่วงกลางวันยาวกว่า 14.5 ชั่วโมงจะไม่สร้างตาดอก หรือ ให้ดอกที่ผิดปกติ ดังนั้น เกษตรกรจึงใช้การบังคับช่วงวันในการผลิตเบญจมาศให้ออกดอกทั้งปีด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ 1. การบังคับไม่ให้เบญจมาศสร้างตาดอกเนื่องจากประเทศไทยมีช่วงกลางวันสั้นกว่า 16 ชั่วโมงตลอดทั้งปี ดังนั้นจำเป็นต้องให้แสงในช่วงกลางคืนแก่เบญจมาศ ระยะเวลาการให้แสงตั้งแต่ 22.00-02.00 น. ปริมาณแสงที่ให้ 80-100 ลักซ์(LUX) ที่ระดับแปลง โดยติดตั้งระบบหลอดไฟ 100 วัตต์สูงจากพื้นแปลง 1.5-2 เมตร ระยะห่างระหว่างหลอด 2 ม. ซึ่งการบังคับให้เบญจมาศเติบโตทางต้นควรเริ่มทำตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งต้นเบญจมาศมีความสูงประมาณ 30 ซม. จึงบังคับให้ออกดอกต่อไป
2.การบังคับเบญจมาศสร้างดอก จะต้องเป็นช่วงเวลาสั้นกว่า 13 ชั่วโมง (ช่วง วันสั้นเริ่มจากปลายเดือนกันยายน-ต้นเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงการผลิตในฤดู) ส่วนการบังคับเบญจมาศสร้าง และพัฒนาตาดอก ขณะที่ช่วงกลางวันยาวกว่า 13 ชั่วโมง หรือช่วงการผลิตนอกฤดู (มีนาคม-กันยายน)จะทำได้โดยใช้ผ้าดำหรือพลาสติกดำคลุมแปลงเบญจมาศให้มีความมืด 13 ชั่วโมง เช่น คลุมผ้าดำตั้งแต่เวลา 18.00-07.00 น. จนกระทั่งดอกเบญจมาศ เริ่มเห็นสีจึงเปิดผ้าคลุมในช่วงกลางคืนออก.

    บริการ ต้องการ เยี่ยมชม สามารถเข้าชมสวน และเรียนรู้การปลูกเบญจมาศได้ทุกวัน และ ตลอดทั้งวัน ทางกลุ่มจะมีสมาชิกที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกเบญจมาศ คอยต้อนรับและให้ความรู้ คำแนะนำต่าง ๆ แก่ท่าน สอบถามรายละเอียดมากกว่านี้ ได้ที่ กลุ่มผู้ปลูกเบญจมาศ ตำบลไทยสามัคคี หรือ เกษตรตำบล ไทยสามัคคี เกษตรอำเภอ วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา
    ผลิตภัณฑ์ มีการจำหน่ายกิ่งชำของเบญจมาศ และ ดอกเบญจมาศ หลากหลายสี และ พันธุ์ คุณภาพรับประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านความสด สวย และ ทนทาน และ ราคาไม่แพง
    การเดินทาง
    ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายนครราชสีมา-วังน้ำเขียว-ชลบุรี เป็นเส้นทางหลักที่ผ่านอำเภอวังน้ำเขียว และ ใช้ในการติดต่ออำเภอใกล้เคียง การเดินทางจากกรุงเทพ มายังฉะเชิงเทราก่อน ด้วยเส้นทางมอเตอร์เวย์ หรือ โดยถนนสุวินทวงษ์ก็ได้ แล้วใช้เส้นทาง ถนน 304 มุ่งสู่สี่แยกกบินทร์บุรี รวมประมาณ 180 กิโลเมตร จากแยกกบินทร์บุรีนี้ไปถึงวังน้ำเขียว อีก 60 กิโลเมตร เป็นเส้นทางลาดขึ้นเขาสวยงาม ถ้ามาจากจังหวัดนครราชสีมา ตามถนน 304 ผ่านอำเภอปักธงชัย ถึงอำเภอวังน้ำเขียว ระยะทางประมาณ 79 กิโลเมตร

    เทคนิคการปลูกมะละกอ

    เทคนิคการปลูกมะละกอ

    การเตรียมต้นกล้า
    มะละกอไม่เหมาะที่จะหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาในขั้นแรกมาก เพราะพื้นที่กว้างขวางและต้นกล้าที่งอกใหม่ๆ ต้องการเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้น การเตรียมต้นกล้ามะละกอให้แข็งแรงก่อนแล้วจึงย้ายปลูกลงแปลงปลูก จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมกว่าการหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การเตรียมต้นกล้ามะละกออาจใช้วิธีต่าง ๆ แต่เทคนิคที่ได้ผลดี ทำให้เมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตพร้อมเพรียงกัน ใช้สำหรับเพาะปริมาณมาก ๆ  มีขั้นตอน ดังนี้คือ
    1. เตรียมดินผสมที่จะใช้เพาะเมล็ดให้ร่วนโปร่ง โดยผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ย(ยักษ์เขียว)หรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน และ อินทรียวัตถุ(ขุยมะพร้าว) 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน หากใช้ปุ๋ยคอกนั้นควรเป็นปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว และไม่ร้อน ส่วนอินทรียวัตถุอาจใช้เศษหญ้าสับ แกลบหรือถ่านหรือเปลือกถั่วแทนก็ได แล้วแต่จะหาอะไรได้ในท้องถิ่น
    2. นำดินที่ผสมแล้วใส่ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำ เรียบร้อยแล้วประมาณ 4 รู ตามจำนวนหลุมปลูกในพื้นที่ซึ่งเราคำนวณ
    3. เพาะเมล็ดมะละกอ  ให้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอที่เตรียมไว้แช่ด้วยน้ำอุ่นประมาณ 40 องศาเซลเซียส  ทิ้งไว้ 1-2 วัน จนเมล็ดจมอยู่ในน้ำ แล้วแยกเมล็ดเสียที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดพันธุ์ที่จมน้ำมาคลุกด้วยชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก อัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 ลิตร แล้วห่อด้วยผ้าสำลีหรือผ้าขาวม้าเปียก คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือบ่มไว้ในถาดหรือภาชนะตามสะดวก เปิดกระสอบรดน้ำวันละครั้งให้พอชุ่ม(อย่าให้แฉะหรือน้ำขัง)หลังจากนั้นประมาณ 4-5 วัน(เมล็ดพันธุ์ที่ดีจะงอกเร็ว) รากจะเริ่มแทงออกจากเปลือก ให้คีบเมล็ดที่รากยาวประมาณ 1-3 มิลลิเมตร มาหยอดลงในถุงชำ โดยให้ฝังลงในดินให้ลึกประมาณครึ่งเซนติเมตร เกลี่ยดินปิด ถุงละ 5 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่เหลือซึ่งรากยังไม่งอก ให้ห่มผ้าและรดน้ำเหมือนเดิม เปิดผ้าวันเว้นวัน หรือ ทุกวัน เพื่อคีบเมล็ดมาเพาะตามขั้นตอนด้านบน จนหมด
    4. นำถุงชำที่หยอดเมล็ดตามขั้นตอนที่ 3 ไปตั้งในโรงเรือนกลางแจ้งที่เตรียมไว้ ตั้งเรียงไว้กลางแจ้งในบริเวณที่สามารถให้น้ำได้อย่างสม่ำเสมอทุกวัน รดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น หลังปลูก
    5. เมื่อต้นมะละกอมีใบจริง 2-3 ใบ ให้เลือกกล้าต้นที่แข็งแรงเอาไว้ถอนต้นที่อ่อนแอออก เหลือเพียง 3 ต้น  หลังจากนั้น ให้ใช้ชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดรา ไตรโค-แม็ก ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน สลับกับการใช้ชีวภัณฑ์ปองกันกำจัดแมลง เมทา-แม็ก ผสมยาจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน ครั้งแรกเมื่อตนกลาเริ่มงอกและหลังจากนั้น ช่วงระยะนี้ให้เพิ่มความแข็งแรงให้ต้นกล้าทำให้เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นโดยให้ผสม ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ20 ลิตร  ฉีดพ่นหรือผสมน้ำรดทุก ๆ 5-7 วัน จนกว่าจะย้ายกล้าลงแปลงปลูก
    6. ย้ายกล้าปลูกหลังต้นมีอายุได้ 30-45 วัน หรือมีใบแท้ประมาณ 6-8 ใบ
    การเลือกพื้นที่ปลูก
    มะละกอเป็นไม้ผลที่ชอบดินร่วนปนดินทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรีย์วัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือและไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง ถ้าหลีกเลี่ยงในการเลือกพื้นที่ที่มีลมแรงไม่ได้ควรทำแนวไม้กันลมโดยรอบด้วย  ระบบไร่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 3 x 3 เมตร หรือ 2.5 x 3 เมตร หรือ2.5x2.5 เมตรสำหรับระบบร่องน้ำ
    การเตรียมแปลงปลูก
    1. ไถพื้นที่ปราบวัชพืช 2 ครั้ง ๆ แรกด้วยไถ 3 ผาน หรือ 4 ผาน ครั้งที่ 2 ให้ย่อยดินให้เล็กด้วยผาน 7
    2. วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูกอีก 2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
    3. ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 ซม. และขุดลึก 50 ซม. เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
    4. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
    การให้ปุ๋ย
    ปุ๋ยมะละกอที่เตรียมไว้สำหรับรองก้นหลุมนั้น เพียงพอสำหรับในช่วงแรก แต่หลังจากลงกล้าปลูกประมาณ 21-30 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ยเสริมเพิ่มขึ้น เพื่อให้มะละกอมีการเจริญเติบโตเต็มที่ มีลำต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง โดยแบ่งใส่ปุ๋ยดังนี้
    ทางดิน 
    1. ระยะต้นเล็ก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) จะใส่หลังจากปลูกแล้ว 2-3 อาทิตย์ โดยแบ่งใส่ ครั้งละ 1-2 กำมือ(150-300 กรัม) ต่อต้น ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้มะละกอเจริญเติบโตได้ดี  ให้ผลผลิตเร็วและให้ผลผลิตได้นานกว่า
    2. เมื่อเริ่มให้ผลผลิต เมื่อมะละกอติดผลแล้วใช้ปุ๋ยทางดินสูตร 15-15-15 หรือ  13-13-21 ในอัตรา 100-150 กรัม(1 กำมือ) ต่อต้น ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว สูตร 2 (แถบเขียว) ครั้งละประมาณ 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น  ทุก ๆ 20-30 วัน จะทำให้ผลผลิตน้ำหนักดีและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาด
    ทางใบ
    1. หลังจากลงย้ายปลูก ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)  ฉีดพ่นในอัตรา  50  ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร  ทุก ๆ 7-10 วัน ทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี  ใบเขียวทน  แข็งแรง ทนต่อโรคและป้องกันแมลง(ช่วยลดปัญหาเรื่องเพลี้ยอ่อนได้) และศัตรูพืชต่าง ๆ เข้าทำลาย
    2. เมื่อมะละกอเริ่มให้ผลผลิต(ตั้งแต่เริ่มติดดอกจนถึงเก็บเกี่ยวทุกรุ่น) ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ฉีดพ่นช่วงตั้งแต่มะละกอเริ่มแทงช่อดอก อัตรา  30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5 วัน จนติดผล  จะทำให้มะละกอติดดอกและผลมาก ขั้วเหนียว ให้ผลผลิตได้ปริมาณมากและมีคุณภาพดี  เมื่อติดผลแล้ว ให้สลับใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพเนื้อแน่น ผลใหญ่ ได้น้ำหนัก
    3. เมื่อมะละกอติดดอกและมีลูกคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงเดียวกัน ให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)และ(สูตรเร่งขนาดผล)  ฉีดพ่นสลับกัน ทุก ๆ 7-10 วัน อัตราการใช้ตามข้อ 2  จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ต้นไม่โทรม เก็บเกี่ยวได้นานหลาย

     

    รอบ

    การออกดอกติดผล
    มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ
    1. ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งเพราะไม่ให้ผล หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย หรือต้นสมบูรณ์เพศ
    2. ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้นเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
    3. ต้นสมบูรณ์เพศ จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา (Elongata) ทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ (Intermediate) ทำให้ผลบิดเบี้ยว และดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก (Pantandria) ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็กๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลเล็กที่อยู่ที่แขนงข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลายช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย
     

    เทคนิคการสังเกตและตัดแต่งต้น
    จากขั้นตอนการเพาะชำนั้น จะเหลือต้นมะละกอ 3 ต้นต่อถุง หรือ ต่อหลุมปลูก  เราสามารถเริ่มตัดต้นทิ้งให้เหลือแต่ต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย) ได้โดยให้สังเกตเมื่อมะละกอเริ่มออกดอก ตัดเหลือต้นสมบูรณ์เพศ(กะเทย)ไว้เพียงต้นเดียวจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี และได้ราคา
    การป้องกันศัตรูมะละกอ
    เพลี้ยไฟ  เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กมาก มี 6 ขา มีลำตัวแคบยาว สีเหลืองซีด เมื่อโตเต็มที่มีปีกยาวบนหลังจึงบินได้และปลิวไปตามลม มักพบระบาดในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูแลง อาการที่พบใต้ผิวใบจะแห้งเหี่ยว โดยเฉพาะเส้นกลางใบหรือขอบใบแห้งเป็นสีน้ำตาลถาเปนกับผลทำใหผลกรานเปนสีน้ำตาล ในฤดูฝนจะไม่ค่อยพบ และหากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำก็จะพบได้น้อย  ถ้าพบอาจใช้น้ำฉีดพ่นแรง ๆ ให้หล่นไป หรือหากมีการระบาดมากในช่วงที่อากาศแล้งจัดใช้ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน
    ไรแดง  เป็นสัตว์ขนาดเล็กมี 8 ขา จะทำให้ผิวใบจะไม่เขียวปกติเกิดเป็นฝ้าด่าง ถ้าดูใกล้ ๆ จะพบตัวไรสีคล้ำ ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก เดินกระจายไม่ว่องไว หรืออาจเห็นคราบไรสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป แมลงศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่าเล็ก ตัวดำลำตัวรี  ตัวอ่อนด้วงเต่าก็กินไรได้ดี  หากใช้ไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ จะป้องกันการระบาดของไรได้ดี หากช่วงใดมีอากาศร้อน อบอ้าว จะพบว่ามีไรระบาดมากให้ใช้ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก ฉีดพ่น 2-3 ครั้งทุก 5-7 วัน ในอัตรา 100 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อตัดวงจรของการระบาด
    แมลงวันทอง  แมลงวันทองเป็นแมลงที่ทำลายผลไม้หลายชนิด โดยจะวางไข่ที่ผลขณะแก ทำให้หนอนที่ฟักเป็นตัว ทำลายเนื้อของผลเสียหาย เมื่ออยู่บนต้นหรือในขณะบ่มผล  แมลงวันทองจะระบาดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดินชื้นตัวเต็มวัยจะขึ้นจากดินมาผสมพันธุ์กัน ช่วงที่ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรมากที่สุดคือ ระยะที่เป็นตัวหนอน การป้องกัน  คือ เก็บผลมีสีเหลืองที่ผิว 5% ของพื้นที่ผิวผล ไม่ปล่อยให้สุกคาต้น  ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยขับไล่ป้องกันการเข้าทำลายได้ดี และหากมีการระบาดเป็นประจำทุก ๆ ปีให้ใช้เหยื่อโปรตีนผสม เมทา-แม็ก  คลุกเหยื่อล่อ วางไว้เป็นจุด ๆ รอบบริเวณที่มีการระบาด เพื่อล่อให้แมลงมาตอม และสัมผัส เมทา-แม็ก แมลงที่มาสัมผัส จะติดโรค หยุดการเข้าทำลายผลผลิต เคลื่อนที่ช้าลงและตายภายใน 2-3 วัน  และให้ป้องกันผลด้วยการห่อกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเก็บผลที่เน่าเสีย เนื่องจากแมลงและโรคออกจากแปลงปลูกฝังดินลึก ๆ หรือเผาไฟ 
    แมลงวันผลไม้(แมลงวันทอง)ตายโดย เชื้อ "เมทา-แม็ก"
    เพลี้ยอ่อน  เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงดูดที่สำคัญชนิดหนึ่งในมะละกอ สันนิษฐานกันว่าเป็นตัวถ่ายทอดโรคใบด่างเหลืองที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคนี้พบวากำลังเปนกับมะละกอในแหลงผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง  ควรป้องกันก่อนเข้าทำลายโดยใช้ไบโอเฟอร์ทิล เป็นประจำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด  และหากมีการระบาดมากให้ใช้ยากำจัด จำพวก ปิโตรเลียมสเปรย์ออล์ย ผสมกับ ชีวภัณฑ์ กำจัดแมลง เมทา-แม็ก  ฉีดพ่น
    โรคใบด่างของมะละกอ(ใบจุดวงแหวน)  อาการที่เกิดกับต้นกล้ามะละกอจะแสดงอาการใบด่างผิดปกติ ใบมีขนาดเล็กลง สีซีดต่อมาใบร่วงและทำให้ต้นตาย  สำหรับต้นที่โตแล้ว จะแสดงอาการโดยใบยอดเหลืองซีด ใบมีขนาดเล็กลง ก้านใบสั้น ใบด่างสีเหลืองสลับเขียว ส่วนต้น หรือ ก้านใบจะพบจุดหรือขีดสีเขม มะละกอจะให้ผลผลิตน้อยหรือไม่ได้ผลเลย  สาเหตุเกิดจากเชื้อ ปาปายาริงสปอทไวรัส  ซึ่งเชื้อนี้บางครั้งมีการแฝงอยู่ในมะละกอตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่อต้นมะละกออ่อนแอ
    การป้องกัน
    1. เลือกเมล็ดพันธุ์ที่นำมาปลูกจากแหล่งที่ไว้ใจได้ ไม่มีเชื้อปนเปื้อน
    2. บำรุงต้นด้วย ไบโอเฟอร์ทิล และปุ๋ยตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นแข็งแรง สามารถแบกผลผลิตได้มาก และมีความต้านทานโรคได้ดีขึ้น
    3. ถ้าพบ วาเปนโรคตองโคนทิ้งและไมนำมีดที่มีเชื้อไปตัดตนดีเพราะจะทำใหเชื้อแพรกระจายไปไดและ ฉีดพ่นยาป้องกันเพลี้ยอ่อนหรือเพลี้ยอื่นๆ บางชนิด เช่น เพลี้ยไก่ฟ้า ไม่ให้มาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ปกติ นอกจากนี้อาจใช้พันธุ์ต้านทานปลูกก็ได้
    โรคราแป้ง  อาการปรากฏบนใบและบนผลที่มีสีเขียว เกิดคราบฝุ่นของเชื้อราเป็นขุยสีขาว ๆ คล้ายแป้งที่บนใบ ก้านใบ และผล ใบอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วงหรือใบเสียรูป ยอดชะงักการเจริญเติบโต ผลอ่อนมากๆ ถ้าเป็นโรคผลจะร่วง แต่ถ้าเป็นกับผลโตผลจะไม่ร่วงยังเจริญเติบโตได้ แต่ผิวจะกร้าน และขรุขระไม่น่าดู ส่วนที่ก้านนั้นมีสีเทาจาง ๆ แผลจะมีขอบเขตไม่แน่นอน 
    สาเหตุของโรค  โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โดยเชื้อราจะสร้างสปอร์ปลิวไปตามลมแพร่ระบาดไปได้ไกล ๆ โรคนี้มักจะเกิดในปลายฤดูฝนหรือต้นฤดูหนาว
    การป้องกันกำจัด ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เมธาแล็กซิลหรือเบโนมีล หรือไดโนแคพ
    โรคโคนเน่า  อาการของโรคพบทั้งที่ราก และโคนลำต้น อาการเน่าที่โคนต้นจะเน่าบริเวณระดับดิน แผลจะลุกลามมากขึ้น และจะปรากฏอาการที่ใบทำให้ใบเหี่ยวและเหลือง ยืนต้นตายหรือล้มได้ง่ายที่สุดเพราะเมื่อโคนลำต้นเน่า  ก็หมายถึงภายในเนื้อเยื่อจะเน่าเละหมด ไม่มีส่วนแข็งแรงที่จะทรงตัวอยู่ได้
    สาเหตุของโรค โรคโคนเน่าเกิดจากเชื้อ Phytophthora plamivora พบเป็นมากในฤดูฝน เชื้อราเป็นพวกเชื้อราในดิน เมื่อมะละกอเจริญเติบโต เชื้อรานี้จะแพร่ระบาดได้รวดเร็ว เมื่อมีความชื้นสูงโดยสปอร์จะไหลไปกับน้ำเข้าทำลายต้นอื่น
    1. การป้องกันและกำจัด  ถ้าหากมีน้ำท่วมขังชื้นแฉะจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนี้ได้ง่าย การจัดระบบปลูกให้มีการระบายน้ำที่ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น เมื่อปรากฏอาการของโรคควรถอน ขุดทำลาย ถ้าตรวจพบว่าโรคนี้เริ่มเข้าทำลายก็ควรรดด้วยเมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำราดบริเวณโคนต้นตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
    โรคแอนแทรคโนส  อาการที่ผลอ่อนจะเกิดจุดและเน่าเสียหาย ส่วนที่ผลแก่จะเกิดจุดแผลสีน้ำตาลลุกลามเป็นวงกลม เมื่อผลใกล้สุกมีความหวานมากขึ้น และเนื้อเริ่มนิ่มอาการของโรคจะยิ่งลุกลามรวดเร็วและเป็นรุนแรง ลักษณะอาการที่เห็นได้ชัดคือแผลกลมนุ่ม และเป็นวงซ้อน ๆ  กัน เป็นได้ทั้งบนต้นและในระหว่างบ่มตลอดจนในช่วงวางขายในตลาด
    สาเหตุของโรค เกิดจาก เชื้อรา Colletotrichum gloeosporieides (Glomerella cingulata) เชื้อราชนิดนี้ ทำลายทั้งใบอ่อนและผล ความสำคัญและพบระบาดเสมออยูที่ผลสปอรของเชื้อราดังกลาวจะแพรระบาดไปยังผลมะละกอในต้นเดียวกันและตนอื่น ๆ ตลอดจนในภาชนะบรรจุผลมะละกอได้โดยง่าย โดยอาศัยอาการสัมผัสติดไปหรือลมเป็นพาหนะนำเชื้อโรคไป
    การป้องกันและกำจัด 
    1. เมื่อใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ เปอร์เซ็นต์การเข้าทำลายจะน้อยมาก จากข้อมูลที่เกษตรกรได้ใช้ พบว่าปัญหาของโรคลดลงไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิต ช่วยประหยัดต้นทุนสารเคมี
    2. เมื่อเริ่มพบการระบาด ให้รีบใช้ ไตรโคแม็ก ผสมน้ำตามอัตราที่ระบุ ฉีดพ่นทางใบทันที 2 ครั้ง ห่างกัน 4-7 วัน
    3. แต่หากมีโรคระบาดในแปลงปลูกขั้นรุนแรงก็พ่นด้วยสารเคมี เช่น เบโนมีล 10 กรัมตอน้ำ  20 ลิตร แมนโคเซป หรือ แคปแทน
    ข้อเปรียบเทียบหลังจากเกษตรกรใช้ผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตามคำแนะนำเป็นประจำ            
    1. มะละกอติดดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก
    2. แมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
    3. อายุการให้ผลผลิตของต้นจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด
    4. เนื้อแน่น สามารถลดการต้นทุนจากการใช้ปุ๋ยเคมีจากเดิมลงได้ประมาณ 20-50%
    5. สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
    6. โรคเชื้อราที่เข้าทำลายต้นลดลง
    7. หลังจากใช้เป็นประจำการใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม  เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

    การปลูกมะพร้าว

    มะพร้าว (Coconut) เป็นพื้นที่สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินเป็นกลาง ลักษณะดินร่วนปนทราย มีฝนกระจายสม่ำเสมอตลอดปี ปัจจุบันคนไทยนิยมทานยอดมะพร้าวเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหาร ยำ ผัด แกง ฯลฯ โดยเฉพาะต้มยำกุ้งยอดมะพร้าวเป็นเมนูยอดนิยม ซึ่งยอดมะพร้าวเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่ปลอดสารพิษ และเพิ่มเส้นใยอาหารได้ดี สำหรับราคาขายยอดมะพร้าวในตลาดราคากิโลกรัมละ 30-40 บาท ซึ่งยอดหนึ่งอาจมีน้ำหนักตั้งแต่ 10-15 กิโลกรัม อายุปลูก 2 ปี แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและดูแลอย่างดี
    ข้อควรคำนึงในการปลูกมะพร้าวระยะชิดเพื่อบริโภคยอด มีดังนี้คือ

    1. แหล่งน้ำต้องมีน้ำใช้รดต้นมะพร้าวตลอดปี คือ ต้องให้น้ำมะพร้าวทุก 2 สัปดาห์
    2. ต้องมีเงินทุนเพียงพอ เพราะว่าต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี จึงเก็บเกี่ยวได้
    3. ต้องปฏิบัติดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดายหญ้าและให้น้ำ ปุ๋ย
    4. เมื่อตัดสินใจแล้วว่าเรามีพื้นที่ และปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นพร้อมแล้วก็ดำเนินการติดต่อแหล่งรับซื้อให้เรียบร้อยก่อน


    การปลูก

    1. เตรียมพื้นที่ โดยไถแปร ไถพรวน ชักร่อง ใช้ระยะ 3x2 เมตร แล้วหว่านเมล็ดพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ฯลฯ เพื่อปรับปรุงคุณภาพดิน และเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ให้กับดินในราคาถูกที่สุด 2. เตรียมผลพันธุ์มะพร้าว ที่จะปลูกโดยใช้พันธุ์มะพร้าวใหญ่ หรือมะพร้าวน้ำหอมก็ได้ แล้วแต่เกษตรกรที่จะสามารถหาพันธุ์ได้ในราคาถูก หรือในสวนของเกษตรมีพันธุ์มะพร้าวอะไร ก็สามารถปลูกได้
    2. เตรียมผลพันธุ์มะพร้าว ที่จะปลูกโดยใช้พันธุ์มะพร้าวใหญ่ หรือมะพร้าวน้ำหอมก็ได้ แล้วแต่เกษตรกรที่จะสามารถหาพันธุ์ได้ในราคาถูก หรือในสวนของเกษตรมีพันธุ์มะพร้าวอะไร ก็สามารถปลูกได้

    ภาพที่ 1 ก่อนคิดปลูกมะพร้าวเพื่อตัดยอดควรเตรียม ผลพันธุ์ก่อน โดยเฉพาะช่วงที่ผลมะพร้าวราคาถูก ประมาณเดือน เมย.-พค. นำมาปาดหัวแล้วให้น้ำเช้า เย็น ทุกวัน ประมาณ 2 เดือน มะพร้าวจะงอก
    ภาพที่ 2 ผลพันธุ์มะพร้าวที่พร้อมที่จะปลูกคือมีใบ 4-6 ใบ
    3. ระยะปลูก 3x2 เมตร คือ ปลูกไร่ละ 270 ต้น หรือ ถ้าจะปลูกระยะ 2x2 เมตร ได้ไร่ละ 400 ต้น ซึ่งต้องเตรียมชักร่อง 2x2
    ภาพที่ 3 ไถแปร ไถพรวน แล้วชักร่องขนาด 3x2 เมตร
    4. การให้น้ำ ต้องให้น้ำมะพร้าวอย่างสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ - 3 สัปดาห์ แล้วแต่สภาพพื้นที่ คือ อย่างให้ดินแห้ง
    ภาพที่ 4 ปลูกมะพร้าว ขนาด 3x2 เมตร โดยปลูกข้างร่องน้ำเพื่อกล้ามะพร้าวจะได้น้ำอย่างเต็มที่
    5. การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 2 เดือน โดยใช้สูตร 15-15-15 และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้วัว ขี้หมู ก็จะทำให้มะพร้าวเติบโตแข็งแรงได้ดีอย่างน้อยปีละครั้ง
    ภาพที่ 5 แปลงปลูกมะพร้าว อายุ 6 เดือน
    6. การปลูกพืชแซมในสวนมะพร้าว ก็ย่อมทำได้ ทำให้มีรายได้เสริมในช่วงที่ยังไม่ตัดยอดมะพร้าวและเป็นผลดีต่อมะพร้าวเพราะจะต้องดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ย พืชแซม เช่น ข่า เผือก ฯลฯ ก็จะมีผลดีกับต้นมะพร้าวด้วย
    ภาพที่ 6 แปลงปลูกมะพร้าว อายุ 6 เดือน และแซมด้วยข่าและเผือก
    7. การเก็บเกี่ยว พอมะพร้าวตั้งสะโพกอายุปลูกประมาณ 1 ปี 8 เดือน - 2 ปี ก็สามารถตัดยอดขายได้ ซึ่งถ้าดูแลรักษาอย่างดี มะพร้าวจะมีน้ำหนัก 10-20 กิโลกรัม/ยอด
    ภาพที่ 7 แปลงปลูกมะพร้าวที่มี อายุ 1 ปี

    ภาพที่ 8
    ต้นมะพร้าวที่จะตัดยอด คือ เริ่มตั้งสะโพกมีอายุ 1 ปี 8 เดือน - 2 ปี

    ภาพที่ 9 ยอดมะพร้าวที่พร้อมจะขายส่งตลาดท้องถิ่นหรือส่งตามร้านอาหาร

    ภาพที่ 10
    เมื่อตัดยอดมะพร้าวขายแล้วประมาณ 2 เดือนลำต้นที่เหลืออยู่จะย่อยสลายไปไม่มีผลต่อดินและสามารถปลูกพืชแซมเสริมต่อไปได้เลย


    ผลตอบแทนในการลงทุน

    ต้นทุนการผลิตมะพร้าว
     
    ปีที่1
    ปีที่2
    1. ค่าเตรียมแปลงปลูก ไถพรวน ไถ แปร ชักร่อง
    600 บาท/ไร่
    2. ค่าพันธุ์มะพร้าว 10 บาท x 270 ต้น/ไร่
    2,700 บาท
    -
    3. ปุ๋ยเคมี 270 ต้น x 1/2 กก. x 8 บาท
    2,160 บาท
    2,160
    4. ค่าปุ๋ยอินทรีย์ ไร่ละ 270 ต้น/ 1 กก. x 3 บาท
    810.00
    810
     
    6,270 บาท
    2,970 บาท
    รายได้ 270 x 10 กก. x 15 บาท = 40,500 บาท
    กำไร
    31,260 บาท /ไร่ / 2 ปี
    เหลือไร่ละ
    15,630 บาท/ปี

    สารสกัดจากเมล็ดลำไย

    สารสกัดจากเมล็ดลำไย
    ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่จะมีปัญหาสุขภาพกันมากขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยตามไขข้อ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ บวกกับอายุที่เริ่มมากขึ้น
    จากปัญหาดังกล่าว ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ภาควิชาชีวเคมี และภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงศึกษา “วิจัยพัฒนาสารสกัดเมล็ดลำไยเพื่อผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมหรือมีอาการปวดจากกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง” ขึ้น โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. สนับสนุนทุนวิจัยศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ
    สารสกัดจากเมล็ดลำไย

    ศ.ดร.อุษณีย์ เปิดเผยว่า ผลจากการที่เกษตรกรนำลำไยไปแปรรูปอบแห้งเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งหลังขบวนการดังกล่าว จะมีเมล็ดเหลืออยู่มาก โดยทั่วไปการทำลายส่วนใหญ่จะใช้วิธี “เผาทิ้ง” และจากการศึกษาข้อมูลพบว่า ในเมล็ดลำไยจะมีสารสำคัญ ได้แก่ Gallic acid, Ellagic acid และสารฟลาโวนอยด์อีกหลายๆชนิด มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันขบวนการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และ ยับยั้งการสลายกระดูกอ่อน
    จากคุณประโยชน์ดังกล่าว ทีมวิจัยจึงนำเมล็ดที่ผ่านการอบแห้งเหลือทิ้งแล้วนำเข้าสู่ขบวนการสกัดตามวิธี โดยใช้เมล็ดลำไย 1 กิโลกรัม ได้ประมาณ 20 กรัม โดยใช้เวลา 3-4 วัน กระทั่งได้สารลองกานอยด์ (สารไกลโคส-อะมิโนไกล-แคน และกรดไฮยารูโลนิค) ที่สามารถยับยั้งการสลายสารองค์ประกอบพื้นฐานของกระดูกอ่อนได้ดี อีกทั้งยังยับยั้งเอนไซม์แมทริกซ์เมทัลโลโปรทีเนสที่สลายกระดูกอ่อน เป็นการยืดอายุกระดูกอ่อน ไม่ให้เกิดการสึกหรอก่อนควร
    จากนั้นนำไป ผสมกับว่านพื้นเมืองของทางภาคเหนือ ซึ่งได้มาจากภูมิปัญญาล้านนาของหมอเมือง และเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้จึงทำออกมาในรูปของ ครีมทาถูนวด แล้วนำไปทดสอบกับกลุ่มอาสาสมัครที่มีปัญหาเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน พบว่า หลายคนพึงพอใจอาการปวดข้อกระดูกลดลง หลายคนเดินสะดวกขึ้น ที่สำคัญครีมดังกล่าวไม่มียากลุ่มสเตียรอยด์หรือยากลุ่มไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID, Nonsteroid anti-inflam-matory drug) ซึ่งไม่เหมาะสมต่อผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มผู้เป็นโรคความดันโลหิต หัวใจ กระเพาะอาหารผสมและเพื่อให้สามารถใช้ได้ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ จึงได้ทำออกมาทั้งสูตรเฮอร์บัลวอร์ม ที่พัฒนาจากสูตรดั้งเดิมกลิ่นสมุนไพร และ สูตรคูลแอนด์อะโรมา ที่ให้ความเย็นพร้อมกลิ่นหอมสดชื่นของน้ำมันหอมระเหย ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวยังได้รับ รางวัลนวัตกรยอดเยี่ยม จาก Chulalongkorn bussi-ness school Innovation คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้านต้นแบบนวัตกรของไทยเพื่อเป็นต้นแบบสำหรับคนรุ่นใหม่ที่อยากจะคิดค้นและสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้กับประเทศ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา

    พันธุ์ไม้มงคล

    พันธุ์ไม้มงคล

    ตกแต่งระเบียงด้วยต้นไม้ เสริมฮวงจุ้ย

    สวัสดีคะ เมื่อไม่นานมานี้ บ้านไอเดียได้แนะนำต้นไม้มงคล สำหรับปลูกบริเวณบ้านกันแล้ว มาวันนี้ บ้านไอเดีย ขอเอาใจบ้านที่ไม่มีบริเวณสำหรับการปลูกต้นไม้ แต่มีระเบียงกันสักหน่อยนะค่ะ อาจจะเป็น หอพัก อพาร์ทเม้นท์ คอนโดมิเนียม ก็ได้คะ พื้นที่ระเบียงเป็นบริเวณที่ได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่  จึงเหมาะสำหรับการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับที่มีสีสัน ดูแลง่าย อาจจะปลูกในกระถาง หรือแขวนไว้บนราวก็ได้เช่นกันคะ ไม่เพียงแต่สร้างสวยงาม ให้แก่บ้านแล้ว ยังสร้างความเป็นศิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย การปลูกต้นไม้ ดอกไม้ จะทำให้ผู้อยู่อาศัยเป็นคนใจเย็น และจิตใจเบิกบานขึ้นอีกด้วย


    ต้นไม้มงคล เสริมฮวงจุ้ย ปี 2555

    6 พันธุ์ ต้นไม้มงคล ปลูกริมระเบียง

    • กระบองเพชร  ต้นกระบองเพชรต้นใหญ่ ช่วยในการขจัดสิ่งที่ไม่เป็นมงคลให้ออกจากบ้านได้
    • ต้นกวักมรกต ปลูกง่าย ดูแลง่าย ช่วยดูดซับโชคลาภ นำมาซึ่งความร่ำรวยแก่ผู้อยู่อาศัย
    • ต้นเขียวหมื่นปี ช่วยรับพลังและโชคลาภ ทั้งยังเสริมโชคชะตาให้แก่บ้าน
    • กุหลาบ ช่วยปกป้องบ้านจากการรุกราน แถมยังมีสีสันที่สวยงาม
    • ไผ่ดำ ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยปลอดภัย ปราศจากภยันตราย
    • ต้นศุภโชค เป็นต้นไม้ที่ช่วยเสริมดวงชะตาชีวิตได้เป็นอย่างดี
    พันธุ์ไม้มงคล เสริมฮวงจุ้ย ปี 2555

    สังเกตได้ว่า ต้นไม้มงคล ช่วยเสริมดวงชะตา สามารถปลูกได้บนระเบียง จะมีลักษณะลำต้นใหญ่ อวบ ใบใหญ่สีเขียว ส่วนบ้านใดที่มองออกไปจากระเบียงแล้ว เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล เช่น ถนนที่พุ่งเข้าหาตัวบ้าน หลุมฝังศพ โรงพยาบาลฯ ก็ควรจะปลูกต้นไม้ที่มีหนามแหลม เช่น กระบองเพชร กุหลาบฯ เพื่อช่วยบรรเทาเรื่องร้ายให้เป็นเรื่องดี แต่ไม่ว่าจะปลูกต้นอะไรก็ตาม เมื่อปลูกแล้วก็ควรจะดูแล รดน้ำ พรวนดินอยู่เสมอนะคะ ต้นไม้ ดอกไม้ จะได้เติบโตอย่างสวยงาม และเสริมโชคชะตาของผู้อยู่อาศัยได้อย่างเต็มที่คะ แม้คุณจะเชื่อหลักฮวงจุ้ยหรือไม่นั้น ก็ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญแต่อย่างใด เพียงแค่ตื่นเช้ามาแล้วพบกับใบไม้ ดอกไม้ที่สดใส เพียงแค่นี้ก็ทำให้ชีวิตของคุณ สดใสได้ทันตาเห็นแล้วคะ

    การปลูกต้นไม้ในบ้าน : ไม้ประดับ ไม้เลื้อย และสวนครัว

    การปลูกต้นไม้ในบ้าน : ไม้ประดับ ไม้เลื้อย และสวนครัว
    ว่ากันเรื่องการปลูกต้นไม้ในบ้านกันต่ออีกตอนครับ

    4.ไม้ประดับ ตกแต่ง (ornament) จะเป็นไม้เล็ก ล้มลุก ไม้คลุมดิน และไม้ดอกที่เราจะจัดพุ่มหรือจัดกลุ่ม ประกอบกับไม้ใหญ่ หรือไม้หลัก ให้ผสมกลมกลืนกันไป แล้วแต่รูปแบบที่เราต้องการ หรือแล้วแต่สไตล์ของสวน เราสามารถเลือกปลูกได้ตามความแตกต่างของขนาดความสูง รูปทรง สี โดยให้สลับหรือผสมกลมกลืนกันก็ได้ แล้วแต่ความชอบ เช่นผกากรอง กระดุมทอง ฤษีผสม ดาดตะกั่ว ม้าลาย เป็นต้น แต่อยากแนะนำให้หาไม้พันธุ์พื้นเมือง ที่ดูแลง่ายหน่อย เพราะขึ้นง่าย ตายยาก ไม่ต้องประคบประหงม หรือเปลี่ยนกันบ่อยๆ การจัดให้เรียงตามลำดับความสูง คือให้ต้นสูงกว่าอยู่ด้านหลัง และต้นเตี้ยคลุมดินอยู่ด้านหน้า จะจัดเป็นกลุ่มหรือเป็นแนวตรงหรือโค้งได้ตามความเหมาะสม หรือปลูกล้อมไม้ใหญ่เป็นกลุ่ม หรือปลูกต้นไม้ที่มีใบละเอียดสลับกับใบหยาบ สำหรับคนที่ปลูกเองไม่ได้ให้ช่างหรือใครออกแบบ ก็ต้องดูจากหนังสือ ดูรูปเยอะๆ แล้วเลือกสไตล์ที่ชอบ ไปประยุกต์เอาเองได้
























































































    5. ไม้เลื้อย (vine) เป็นไม้ล้มลุก ไม่สามารถปลูกไว้ในดินเฉยๆได้ จึงต้องทำอะไรให้มันเกาะ หรือปลูกตามรั้ว มักมีดอกสวย หรือกลิ่นหอม ถ้าสร้างเรือนหรือระแนงสวยๆ ก็จะช่วยเสริมให้สวนดูสวยงามขึ้นอีกมาก บางชนิดเกาะตามผนังตามกำแพงได้ เราสามารถจัดทำเป็นมุมนั่งเล่น นอกบ้านได้ด้วยซุ้มระแนงรูปแบบต่างๆมากมาย ไม้เลื้อยของไทยมีหลายชนิด เช่น พวงหยก อัญชัน สร้อยอินทนิล ถ้วยทอง เล็บมือนาง สายหยุด พวงชมพู เป็นต้น
















































































    6.ไม้เลี้ยงสะสม (collecting) ไม้ประเภทนี้ต้องดูแลเป็นพิเศษ โดยมากจะมีราคาแพง มักไม่จัดรวมกับไม้อื่นๆ แต่จะแยกเป็นนั่งร้าน หรือชั้นวาง เรียงกันไป เพื่อให้เห็นเด่นชัด เป็นต้นต้นไป เช่นไม้แคระ(bonsai) ไม้ดัด บอนสี โป๊ยเซียน ตะบองเพชร ไม้เลี้ยงพวกนี้ถ้าออกแบบจัดตั้งดีๆ หรือจัดกลุ่มแบบไม้ประดับ ก็เป็นสวนสวยได้อย่างหนึ่ง










































































    7. ไม้สวนครัว (kitchen & herb) ต้นไม้ที่เป็นสวนครัว ตามปกติจะปลูกเป็นแปลงๆ แบ่งแปลงตามประเภทของพืชผักนั้นๆ แต่ในทางธรรมชาติแล้ว พืชผักต่างๆ ก็มีความสวยงามในตัวของมันเอง ดังนั้น ทำไมเราไม่เอามันมาแต่งสวนบ้างล่ะ ลบภาพของแปลงผักออกไป ลองดู form หรือรูปทรง พุ่มใบของมันดูบ้าง บางอย่างจะเอามาปลูกเป็นไม้ประดับได้ หรือแก้ขัดยามขาดตลาดได้ เช่นพวกตะไคร้ ตะไคร้หอม ใบยาวๆเป็นพุ่ม พวกพริกต่างๆสีสันก็สวยงาม โหระพา กะเพราะ สะระแหน่ นี่ปลูกได้ทั้งนั้นเลย ต้นใหญ่หน่อยก็พวกมะกรูด มะนาว ( ตอนเด็กๆจำได้ หลังครัวติดกับรั้วเพื่อนบ้าน เขาปลูกมะกรูดไว้ เราก็ได้อาศัยเอื้อมมือไปเด็ดมาใช้บ่อยๆ) และยังมีประเภทไม้เลื้อยแบบรั้วกินได้อีกหลายอย่างเช่นตำลึง ขจร


































































    จะเห็นว่าต้นไม้ มันก็มีหน้าที่ต่างกันไปได้ด้วย ไม่ใช่แค่ต้นไม้สวยๆเหมือนกันหมด และเราก็ต้องการต้นไม้มาใช้งานหลากหลายเช่นกัน เมื่อเราเข้าใจมันแล้ว เวลาเลือกมาปลูก จะได้หาต้นไม้ที่ตรงตามวัตถุประสงค์ได้ง่ายขึ้น เพราะบางทีเราไปหาซื้อต้นไม้โดยระบุชื่อที่เราต้องการ แต่ถ้าไม่มี คนขายก็จะแนะนำไม่ถูกว่าควรจะซื้ออะไรที่แทนกันได้ แล้วเราก็ไม่ได้ต้นไม้ตามที่ต้องการ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เรายังคิดไม่ออกว่าจะปลูกอะไร แต่เวลาเราไปเดินดูต้นไม้ เราเห็นต้นไม้บางต้นแล้ว เราจะเกิดไอเดียได้ว่าต้นนี้จะไปปลูกตรงไหนจะไปใช้งานอะไร แล้วก็จะทำให้สนุกกับการปลูกต้นไม้มากขึ้นอีกด้วยครับ