วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรอินทรีย์ 
          มนุษย์รู้จักการนำเอาจุลินทรีย์มาใช้ในการเกษตรมานับพันปีแล้ว  โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการแปรรูปผลผลิต  การผลิตอาหาร การปรับปรุงบำรุงดิน และการป้องกัน
กำจัดโรคและศัตรูพืช ในช่วง 3 ทศวรรษมานี้ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการเกษตรมากขึ้น  ซึ่งอาจจะแยกประเภทของจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการเกษตรออก
เป็น 5 ประเภท คือ
  1. ประเภทที่ใช้ในการผลิตอาหาร เช่น เห็ดชนิดต่างๆ
  2. ประเภทที่ใช้ในการแปรรูปผลผลิต เช่น ยีสต์ เชื้อรา ฯลฯ
  3. ประเภทที่ใช้ในการปรับปรุงดิน เช่น ไรโซเบียม ไมโคไรซ่า ฯลฯ
  4. ประเภทที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น เชื้อ bacillus thuringieneses, เชื้อไวรัส NPV Nuclelar Polyhedrosis Virus, เชื้อราEntomophthora
    grylli
     เป็นต้น
  5. ประเภทที่ใช้ในการสร้างพลังงาน เช่น จุลินทรีย์ที่ใช้ทำก๊าซชีวภาพ
จะเห็นได้ว่าจุลินทรีย์มีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก โดยเฉพาะในด้านการผลิตอาหารที่ปลอดจากสารเคมีนั้น  จุลินทรีย์จะมีบทบาทที่ช่วยทดแทนการใช้สารเคมีได้
มาก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าสามารถจะใช้ทดแทนสารเคมีการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์แบบทีเดียว ที่กล่าวมานี้มิใช่จะเกินความเป็นจริง เพราะได้พิสูจน์ด้วยการปฏิบัติมาแล้วดังนี้คือ
            ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องจุลินทรีย์จากสามาคมเกษตรธรรมชาติเกาหลี
                อาจารย์ภรณ์  ภูมิพันนา  สตรีที่อดีตเคยเป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเป็นผู้ที่ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และสติปัญญาของเธอให้กับการเกษตรธรรมชาติ
ให้ชักนำ Mr. Han Kyu Cho เกษตรกรชาวเกาหลีซึ่งเป็นประธานของสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี (The Korean Natural Farming Association –
KNFA) ให้ได้มีโอกาสมาเสนอความรู้ในเรื่องการใช้จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organism-IMO) แก่เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนโดยได้จัดการบรรยาย
ขึ้นที่กรมวิชาการเกษตรและสถานที่ต่างๆ ในช่วงกรกฎาคม-สิงหาคม 2540  จากความรู้ที่ได้รับจาก Mr. Cho ในครั้งนั้น กลุ่มของนักวิชาการและเกษตรกรไทยได้นำไปทดลอง
ปฏิบัติทั้งผลิตและใช้  รวมทั้งบางรายสามารถจะผลิตเพื่อจำหน่ายได้ด้วย   และด้วยความมหัศจรรย์ของ IMO  ในการปรับปรุงบำรุงดิน    การทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อการ
ทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืช  รวมทั้งการช่วยขจัดสิ่งปฏิกูลทั้งในน้ำและในกองขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ   จึงทำให้เกษตรกรและประชาชนจำนวนมากได้นำไปใช้จากการ
เผยแพร่ของกลุ่มนักวิชาการ และนักปฏิบัติที่ได้ตั้งเป็นชมรมเกษตรธรรมชาติ จนขณะนี้มีผู้นำไปใช้อย่างได้ผลอย่างกว้างขวางในเวลาเพียงสามปีเศษเท่านั้น Koyama, A (1996) ได้รายงานไว้ในวิทยานิพนธ์ว่า Mr. Cho ได้แยกผลิตภัณฑ์ของจุลินทรีย์ พื้นฐานออกเป็น 5 ชนิด คือ

                1. จุลินทรีย์พื้นบ้าน (Indigenous Micro-organisms)
                        สามารถจะเก็บได้จากธรรมชาติโดยใช้ข้าวหุงสุกแล้วใส่จานหรือถาดเกลี่ยให้หนาประมาณ 3 เซนติเมตร ปิดด้วยกระดาษ แล้วนำไปใส่ในกรง เพื่อกันหนูหรือสัตว์
อื่นมากิน  แล้วนำไปตั้งทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ในป่าละเมาะ หรือภายในกองใบไม้แห้งที่มีผ้าพลาสติกคลุม เพื่อกันฝนและน้ำค้างที่มากเกินไป ทิ้งไว้ 5-6 วัน  จะมีราสีขาวขึ้นคลุมหน้า  จาก
นั้นให้เทข้าวใส่ในโถกระเบื้องดินเผา  ผสมกับน้ำตาลแดงหรือกากน้ำตาล สัดส่วน 1/3  ของน้ำหนักข้าว  ส่วนผสมนั้นจะกลายเป็นของเหลวข้นมีจุลินทรีย์เจริญอยู่มากมาย แล้วนำ
ของเหลวนี้ไปผสมกับรำข้าวในสัดส่วนร้อยละ 0.2   ใช้กระสอบป่านคลุมจะเกิดความร้อน  ต้องคอยควบคุมไม่ให้ความชื้นเกิดกว่าร้อยละ 65  แต่ถ้าแห้งเกินไปก็ให้พรมน้ำ ทิ้งไว้
2-3 วัน  จึงเอาไปคลุกผสมกับปุ๋ยคอก   มูลสัตว์ในปริมาณ 30 - 50 เท่า    แล้วคลุมไว้ประมาณ 3 สัปดาห์   ก็จะได้ปุ๋ยหมักสมบูรณ์     นำไปใส่ปรับปรุงดินประมาณ 1 กิโลกรัม /
1ตารางเมตร สำหรับการปลูกผักอินทรีย์

                2. น้ำหมักพืช (Fermented Plant Juice-FPJ)
                        ขณะที่คนไทยเรียกว่าน้ำสกัดชีวภาพ (Bio-Extract-B.E.)  ผลิตภัณฑ์นี้ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีสรรพคุณที่หลากหลายเช่นเดียวกับสาร อี.เอ็ม. วิธีการก็คือนำ
เศษพืช    ถ้าหากเป็นพืชชนิดเดียวกับที่ปลูกอยู่ก็จะดี  และไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนของพืชที่จะใช้เป็นอาหาร   แต่อาจจะเป็นเศษเหลือที่จะทิ้งแล้วก็ได้   ในปริมาณ 3 ส่วนต่อน้ำตาล
ทรายแดงหรือกากน้ำตาล 1 ส่วน  สำหรับเศษพืชนั้นควรจะสับให้มีขนาดเล็ก 2-3 นิ้ว แล้วใส่ในภาชนะคลุกเคล้าให้เข้ากันภาชนะไม่จำกัดชนิดและขนาดในสวนผักบางแห่งใช้วง
ซีเมนต์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.0-1.5 เมตร สำหรับทำบ่อส้วม จำนวน 3 วง มาเชื่อมต่อกันเป็นภาชนะ  โดยมีทอเปิดด้านล่าง  เมื่อหมักได้ที่  ซึ่งจะใช้เวลา 5-7 วันก็จะ
ได้น้ำหมักพืชหรือน้ำสกัดชีวภาพตามต้องการ  น้ำหมักพืชนี้จะต้องนำไปเจือจางในน้ำธรรมดาในอัตรา 1:1,000  1 ช้อนแกง (10 ซีซี) ต่อน้ำ 10 ลิตร (1,000 ซีซี) ใช้รดพืชผัก
และใช้รดลงในดินที่ปลูกพืช

                3.  ซีรั่ม ของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum, LAS)
                       เตรียมได้จากการดึงเอาจุลินทรีย์ในอากาศมาอยู่ในน้ำซาวข้าว  แล้วจึงนำไปเพาะเลี้ยงในน้ำนมอีกให้เกิดเป็น ซีรั่มของกรดแล็คติค     ใช้น้ำหมักนี้ในการพ่นลงบน
ใบพืชให้มีความแข็งแรง เพื่อป้องกันโรคพืช

                4. กรดอะมิโนจากปลา (Fish Amino acid, FAA)
                       ทำได้จากการนำเอกเศษปลามาผสมกับน้ำตาลทรายแดง อัตราส่วน 1/1 หมักทิ้งไว้ 30 วันหรือนานกว่าก็ได้ (หรืออาจจะใช้กากน้ำตาล) น้ำจากการหมักนี้จะเป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจนให้กับพืชอย่างดีเยี่ยม

                5.  สุราหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar)
                       สุราเกิดจากการหมักของข้าวกล้อง  หรือถ้าไม่มีก็น่าจะใช้สุราขาวที่มีขายโดยทั่วไป นำมาผสมน้ำให้เจือจาง ฉีดพ่นบนใบพืชจะทำให้พืชแข็งแรงต้านทานต่อโรค
พืชได้
                *  เอนไซม์ คือ สารอินทรีย์ที่พืชและสัตว์  รวมทั้งจุลินทรีย์สร้างขึ้นในขบวนการหมัก (fermentation) มีหน้าที่ช่วยในการทำงานของทุกระบบในสิ่งมีชีวิตทั้งหมด  สิ่งมีชีวิต   จะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าขาดเอนไซม์   เอนไซม์บางชนิดทำหน้าที่ย่อยอาหารในคนและสัตว์  จุลินทรีย์ผลิตเอนไซม์เพื่อย่อยอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อ
จุลินทรีย์เองและต้นไม้
                *  ฮอร์โมน  เป็นสารอินทรีย์อีกชนิดหนึ่งที่พืช สัตว์และจุลินทรีย์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของส่วนต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตในคนและสัตว์  ฮอร์โมนในพืช
ชนิดที่เราคุ้นเคยกันดี ได้แก่ จี.เอ. หรือจิบเบอร์เรลลิค (Giberellic) อ๊อคซิน (Auxin) จุลินทรีย์ก็สามารถผลิตฮอร์โมนต่างๆ ได้เช่นเดียวกับพืชและสัตว
            ความเข้าใจต่อบทบาทจุลินทรีย์ 

            จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถพิเศษ สามารถมีชีวิตและขยายพันธุ์ได้โดยอาศัยอินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหาร จุลินทรย์หลายชนิดรวมกันและอาศัยพึ่งพาซึ่งกัน
และกัน จุลินทรีย์มีความหลากหลายของชนิดที่สามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ร้อนจัด เย็นจัดหรือแห้งแล้งจัด แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของแต่ละชนิดด้วยเทคนิค
จุลินทรีย์การปลูกพืชอินทรีย์ โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี เพราะพืชสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองเกือบทั้งหมด ส่วนที่ขาดก็จะได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ได้จากซากสัตว์
และพืช  รวมทั้งซากของจุลินทรีย์ โดยจุลินทรีย์จะผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นธาตุอาหารสำหรับจุลินทรีย์เองและพืชก็จะได้รับประโยชน์ด้วยจากการดูดเข้า
ไปทางรากในรูปแบบของสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น กรดอะมิโน กลูโคส ไวตามิน ฮอร์โมนและแร่ธาตุ เป็นต้น

            ประสบการณ์ของคนไทยในการพัฒนาจุลินทรีย์หมักดอง
            นับตั้งแต่  Mr. Han Kyo Cho  ประธานสมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี   ได้มาเปิดเผยเคล็ดลับของการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น  (IMO = Indigenous
Micro-organism   ในการทำน้ำหมักพืช  เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา    คนได้ที่ได้รับความรู้ดังกล่าวได้นำไปทดสอบ ทดลอง ปรับปรุง พัฒนากันอย่างกว้างขวาง
บางคนก็เห็นว่าความรู้นี้เป็นประโยชน์มากมายทั้งในด้านการเกษตร การรักษาโรค การบำบัดน้ำเสีย และสิ่งโสโครก ฯลฯ และได้มาฟรี จึงพยายามถ่ายทอดไปให้ผู้อื่นได้มีความรู้
นี้สืบทอดต่อกัน จนแพร่หลายไปทั่วประเทศอยู่ในขณะนี้
การผลิตน้ำสกัดชีวภาพจากพืช

               น้ำสกัดชีวภาพ   คือ น้ำที่ได้จากการหมักพืชอวบน้ำ   เช่น ผัก ผลไม้ ด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ     น้ำที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์  และสารอินทรีย์หลากหลายชนิด
จุลินทรีย์ส่วนใหญ่จะเป็นพวกยีสต์ แบคทีเรียสร้างกรดแลกติก และพวกราแบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคยพบในน้ำสกัดชีวภาพ

               1. 
วัสดุและอุปกรณ์ 
                    1.1 ถังหมักที่มีฝาปิดสนิท จะเป็นถังพลาสติก ถังโลหะ หรือกระเบื้องเคลือบหรือจะใช้ถุงพลาสติกก็ได้
                    1.2 น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาจใช้กากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูก
                    1.3 พืชอวบน้ำทุกชนิด   เช่น ผัก ผลไม้ ทั้งแก่และอ่อน  ถ้าเก็บจากไร่ – สวน ที่สดจากต้นในเวลาเช้าตรู่ได้เท่าใดก็ยิ่งดี    รวมทั้งเปลือกผักผลไม้อวบน้ำที่สดไม่เน่า
                           เปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน และเปลือกมะม่วง เป็นต้น
                    1.4 วัสดุมีน้ำหนักใช้ในการกดทับ เช่น อิฐบล็อก หรือก้อนหิน

               2. วิธีทำ 
                    2.1 นำพืช ผัก ผลไม้ ตามข้อ 1.3 หั่นหรือสับให้เป็นชิ้นขนาด 1-2 นิ้ว แล้วนำผสมกับน้ำตาลในภาชนะที่เตรียมไว้ในอัตราน้ำตาล 1 ส่วน ต่อพืช ผัก ผลไม้ 3 ส่วน
                           คลุกให้เข้ากัน  หรือถ้ามีปริมาณมากจะโดยทับสลับกันเป็นชั้นๆ ก็ได้  ในกรณีผักผลไม้ที่ใช้หมักเป็นชนิดที่ไม่อวบน้ำ      ควรเติมน้ำพอให้อยู่ระดับเดียวกับผัก
                           ผลไม้ที่อยู่ในภาชนะ
                    2.2 ใช้วัสดุมีน้ำหนัก ตามข้อ 1.4  วางทับบนพืชผักที่หมัก   เพื่อกดไล่อากาศที่อยู่ระหว่างพืชผัก ของหนักที่ใช้ทับควรมีน้ำหนักประมาณ 1 ใน 3 ของน้ำหนักพืช
                           ผัก วางทับไว้ 1 คืน ก็เอาออกได้
                    2.3 ปิดภาชนะที่หมักให้สนิทถ้าเป็นถุงพลาสติก ก็มัดปากถุงพลาสติกให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปได้  เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์หมัก
                           ดองลงไปทำงาน
                     *หมักทิ้งไว้ 3-5 วัน  จะมีของเหลวสีน้ำตาลอ่อนถึงแก่ (ขึ้นอยู่กับชนิดของผลไม้และน้ำตาลที่ใช้หมัก)  เกิดขึ้นจากการละลายของน้ำตาลและน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของ
                           พืชผักน้ำตาล และน้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์  จุลินทรีย์หมักดองก็จะเพิ่มปริมาณมากมาย    พร้อมกับผลิตสารอินทรีย์หลากหลายชนิด   ดังกล่าวข้างต้น
                           ของเหลวที่ได้เรียกว่า “น้ำสกัดชีวภาพ” 

                    2.4 ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน  เมื่อน้ำสกัดชีวภาพมีปริมาณพอประมาณ ก็ถ่ายน้ำสกัดชีวภาพออกบรรจุลงในภาชนะพลาสติก  น้ำสกัดชีวภาพที่ถ่ายออกมาใหม่ๆ
                           กระบวนการหมักยังไม่สมบูรณ์  จะมีก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์เกิดขึ้นในภาชนะ ต้องคอยเปิดฝาภาชนะบรรจุทุกวันจนกว่าจะหมดก๊าซ
                    *ปริมาณของน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ผัก ผลไม้ ที่ใช้หมัก   ซึ่งจะมีน้ำอยู่ร้อยละ 95-98 
                    2.5 ควรเก็บถังหมักและน้ำสกัดชีวภาพไว้ในที่ร่ม     อย่าให้ถูกฝนและแสงแดดจัดๆ   น้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านการหมักสมบูรณ์แล้ว   ถ้าปิดฝาสนิทสามารถเก็บไว้ได้
                           หลายๆ เดือน
                    2.6 กากที่เหลือจากการหมัก  สามารถนำไปฝังเป็นปุ๋ยบริเวณทรงพุ่มของต้นไม้ได้ หรือจะคลุกกับดินหมักเอาไว้ใช้เป็นดินปลูกต้นไม้ก็ได้  ในกรณีต้องการหมักต่อ
                           โดยใช้กากที่เหลือ อาจจะเติมผักผลไม้ลงไปเพิ่ม  พร้อมกับเพิ่มปริมาณน้ำตาลตามสัดส่วน 1:3 ลงไปก็ได้
                    2.7 น้ำสกัดชีภาพที่มีคุณภาพดี  จะมีกลิ่นหมักดอง และมีกลิ่นแอลกอฮอล์บ้าง     มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลและปริมาณผลไม้ที่หมัก  ถ้าชิมดูน้ำสกัดชีวภาพ
                           จะมีรสเปรี้ยว  แต่ถ้าหากเกิดกลิ่นเหม็นเน่าเกิดขึ้น แสดงว่าปริมาณน้ำตาลที่ใช้น้อยเกินไป ให้เติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปให้มากขึ้น

               3. วิธีใช้ในพืช 
                    3.1 ผสมน้ำสกัดชีวภาพ กับน้ำในอัตรา 1 ส่วนต่อน้ำ 500-1,000 ส่วน (1 ช้อนแกงต่อน้ำ 10 ลิตร) รดต้นไม้หรือฉีดพ่นบนใบ แล้วให้ไหลลงดินรอบต้นไม้ เพื่อ
                           ให้จุลินทรีย์ลงไปช่วยทำงานในดิน
                    3.2 ควรทำในตอนเช้าหรือเย็น
                    3.3 ควรใช้อย่างสม่ำเสมอ และในดินควรมีอินทรียวัตถุอย่างเพียงพอ เช่นปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้งและฟาง เป็นต้น
                    3.4 ใช้ได้กับพืชทุกชนิด  น้ำสกัดชีวภาพเจือจางใช้แช่เมล็ดพืชก่อนนำไปเพาะ จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้น และจะได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์
ประโยชน์
               นอกจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่นจุลินทรีย์ที่ช่วยอินทรียวัตถุ จุลินทรีย์ที่ช่วยกำจัดโรคพืชแล้วในน้ำสกัดชีวภาพยังประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ หลากหลายชนิด
เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และธาตุอาหารต่างๆ    เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์    เป็นอาหารของจุลินทรีย์เอง   และเป็นอาหารของต้นพืช
อย่างไรก็ตาม  ฮอร์โมนหลายชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น  จะเป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าใช้ในปริมาณเล็กน้อย  ถ้าใช้ในปริมาณที่เข้มข้นเกินไปก็อาจจะทำให้ต้นไม้เฉาตายได้   ฉะนั้น
จำเป็นต้องใช้ในอัตราเจือจาง สารอินทรีย์บางชนิดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นเป็นสารที่เพิ่มความต้านทานให้แก่พืช ทำให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพ เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

               น้ำสกัดชีวภาพ  ช่วยสร้างความต้านทานแก่พืชเพื่อสู้กับศัตรูพืช  ถึงแม้มีโรคและแมลงมารบกวนก็จะไม่เกิดความเสียหาย  เนื่องจากพืชมีความแข็งแรงเช่นเดียวกับ
มนุษย์ที่แข็งแรงก็จะไม่เจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม น้ำสกัดชีวภาพที่ได้จากการหมักผลไม้ผสมสมุนไพรจะช่วยให้พืชมีความต้านทานต่อศัตรูพืชได้ผลดียิ่งขึ้น

               วิธีทำ       
                    1.  วิธีทำน้ำสกัดชีวภาพเพื่อป้องกันและรักษาศัตรูพืชก็เช่นเดียวกับการทำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กล่าวมาแล้ว เพียงแต่ใช้ผลไม้หมักทั้งหมด  ผลไม้ใช้ได้ทั้งดิบและ
                         สุก หรือเปลือกผลไม้ถ้าเป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ทางยาสมุนไพร เช่น ผลมะม่วงหินพานต์ จะยิ่งดี
                                    
                    2.  สมุนไพรที่ต้องการใช้ร่วมกับน้ำสกัดชีวภา   ได้แก่ ใบสะเดา ตะไคร้หอม ฟ้าทะลายโจร กระเทียม พริกขี้หนู ว่านหางจระเข้ ขิง ข่า และยาสูบเป็นต้น นำมา
                         ทุบหรือตำให้แตก ใส่น้ำให้ท่วม หมักไว้ 1 คืน เพื่อสกัดเอาน้ำสมุนไพร นำไปกรองเอาแต่น้ำ
            
               วิธีใช้
               -  
ผสมน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำสมุนไพรและน้ำในอัตราน้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน น้ำสมุนไพร 1 ส่วน และน้ำ 200-500 ส่วน
                    -  ฉีดพ่นต้นพืชให้เปียกทั่ว ควรเริ่มใช้ตั้งแต่ต้นพืชเริ่มงอก ก่อนที่โรคและแมลงจะมารบกวนอย่างต่อเนื่อง
                    -  ควรฉีดพ่นในตอนเช้าหรือเย็น หรือหลังฝนตก
การผลิตปุ๋ยน้ำสกัดชีวภาพจากสัตว์น้ำ

ในปัจจุบันมีเศษของสัตว์น้ำที่เป็นอาหารของมนุษย์ และศัตรูพืชเหลือทิ้งให้เป็นขยะที่สร้างกลิ่นรบกวนแก่ผู้ที่อยู่ในบริเวณข้างเคียง  และผู้รับผิดชอบต้องเสียค่าใช้
จ่ายในการบำบัดขยะเหล่านั้นอีกมากมายด้วย แต่ถ้าหากได้นำสิ่งเหลือใช้เหล่านั้น มาผ่านขบวนการหมักด้วยน้ำตาลและจุลินทรีย์ที่ดีก็จะเปลี่ยนของเสียเหล่านั้นให้กลายเป็นปุ๋ย
ที่มีประโยชน์
นอกจากนี้สัตว์น้ำบางชนิดที่เป็นศัตรูของพืช  เช่น หอยเชอรี่ ศัตรูพืชในนาข้าวที่ทำลายต้นข้าวให้เสียหาย  แต่ในปัจจุบันชาวนาที่ฉลาดในหลายๆ ท้องที่ได้นำหอย
เชอรี่มาหมักกับกากน้ำตาลเป็นน้ำหมักชีวภาพใช้ในการบำรุงต้นไม้และช่วยลดการระบาดของโรคและศัตรูพืชได้ดีอีกด้วย
               วิธีทำ
                    1. นำปลาหรือเศษปลามาสับให้เป็นชิ้นขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ในกรณีที่ใช้หอยเชอรี่ ให้ทุบหรือบดด้วยเครื่องบด   แต่ในบางโอกาสที่ไม่ต้องการเสียเวลาก็อาจ
                         จะใช้หอยเชอรี่ทั้งตัว  โดยไม่ต้องทุบหรือบดก็ได้  แต่การหมักจะต้องใช้เวลานานกว่าปกติ (ไม่ต่ำกว่า 1-2 เดือน)
                    2. นำปลาหรือหอยเชอรี่ ตามข้อ 1 ผสมกับกากน้ำตาลในอัตราส่วน 1:1  โดยน้ำหนัก  ผสมให้เข้ากันดี  โดยจะผสมในภาชนะที่จัดไว้ผสมโดยเฉพาะ หรือทำใน
                         ภาชนะที่ใช้หมักก็ได้  ขนาดบรรจุของภาชนะที่ใช้หมักอาจแตกต่างกันตามต้องการอาจจะเป็นขนาด 20, 50, 100 หรือ 200 ลิตร   ก็ได้ตามปริมาณการใช้
                         ที่ต้องการหลังจากนั้นให้เติมหัวเชื้อน้ำสกัดชีวภาพที่ทำจากสับปะรดในอัตรา 1 ต่อ 10 ของปริมาตรส่วนของผสมของปลากับหอย และน้ำตาลที่คลุกเคล้ากัน
                          แล้ว  ในระหว่างการหมักหากมีกลิ่นเหม็นแสดงว่าใส่น้ำตาลน้อยเกินไป    ควรเติมน้ำตาลเข้าไปให้มากขึ้น   แล้วกวนให้เข้ากับส่วนผสมเดิมให้คลุกเคล้ากันดี
                    * อนึ่ง  ระหว่างการหมักอาจจะใช้เครื่องเติมอากาศที่ใช้กับตู้ปลาสวยงาม เพื่อให้ออกซิเจนในการหมักเพิ่มอัตราเร็วขึ้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ของผู้ที่ผลิตเป็นการ
                         ค้าที่ทำอยู่ในขณะนี้ 

                    3. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน  จึงเอาน้ำที่ได้มาผสมน้ำในสัดส่วน 1:500  ถึง 1:1,000 หรือประมาณ 2-3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดให้เป็นฝอยให้เคลือบใบ
                         พืช และใส่ลงดินที่โคนต้นพืช
การผลิตปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ

               ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีในน้ำสกัดชีวภาพ  จนเกิดการย่อยสลายอินทรียวัตถุโดยจุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์ และช่วยใน
การปรับปรุงดิน  ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
วัสดุทำปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ
  1. มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
  2. แกลบดำ (ที่ผ่านการเผา) 1 ส่วน
  3. อินทรียวัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื้อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
  4. รำละเอียด 1 ส่วน
  5. น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน+น้ำตาล 1 ส่วน-น้ำ 100 ส่วน คนจนละลายเข้าด้วยกัน
วิธีทำ
  1. นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นขั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี
  2. เอาส่วนผสมของน้ำสกัดชีวภาพ น้ำตาล และน้ำใส่บัว ราดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันทั่วจนได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นเกินไป
  3. หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 4-5 วัน ก็นำไปใช้ได้
  4. วิธีหมักทำได้ 3 วิธี คือ
    4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 คืบ คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อนในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจต้องเอากระสอบที่คลุมออก
           แล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน  หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลง นำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่คลุกเข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ยไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ทิ้งไว้ 5-7 วัน
    4.3 บรรจุในที่สานด้วยไม้ไผ่ สามารถถ่ายเทความร้อนได้รอบด้าน โดยใช้กระสอบปิดด้านบนไว้ 5-7 วัน
               ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพที่ได้จากการเตรียมดังกล่าว   จะประกอบด้วยจุลินทรีย์และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกับน้ำสกัดชีวภาพแต่อยู่ในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมี
กลิ่นของดินที่ไม่เหม็น   มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะกันเป็นก้อน  อุณหภูมิในระหว่างการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส   ถ้าหากให้ความชื้นสูงเกินไปจะเกิด
ความร้อนสูงเกินไปด้วย  ฉะนั้นความชื้นที่ให้ต้องพอดีประมาณร้อยละ 30 (สังเกตจากการกำวัตถุที่หมักพอจับกันเป็นก้อนไม่เหลวผ่านซอกนิ้วออกมา) ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพเมื่อ
แห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน  โดยเก็บไว้ในที่แห้งในร่ม 

วิธีใช้
  1. ผสมปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
  2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 1 กำมือ
  3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 1-2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้งหรือฟางแล้วรดน้ำสกัดชีวภาพให้ชุ่ม
  4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง  ครั้งละ 1 กำมือ
               การนำปุ๋ยหมักไปใช้อย่างประหยัด   และได้ผลอีกวิธีหนึ่งก็คือ     ก่อนนำไปใช้ควรผสมปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเสียก่อน   ในอัตราส่วนปุ๋ยหมักแห้ง
ชีวภาพ 1 ส่วนต่อปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน คลุกให้เข้ากันดีแล้วนำไปใช้เช่นเดียวกับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกโดยวิธีนี้จะใช้มากเท่าไรก็ไม่เป็นผลเสีย อย่าลืมด้วยว่าเทคนิค
จุลินทรีย์ เราไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกปริมาณมากเช่นที่เราเคยปฏิบัติมาใช้เพียง 1 ใน 4 ก็พอแล้ว  หรือขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุที่มีอยู่แล้วในดิน  ถ้ามีอยู่มากเรา
ก็ใส่แต่น้อย ถ้ามีอยู่น้อยเราก็ใส่มากหน่อยหรือบ่อยหน่อย ตามปกติในการทำปุ๋ยหมักจะต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะได้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายสมบูรณ์  แต่ถ้าใช้น้ำสกัดชีวภาพ
เป็นตัวเร่งจะได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ภายใน 7-15 วัน

หมายเหตุ  
ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ คือ  ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก     ที่มีการย่อยสลายอินทรียวัตถุอย่างสมบูรณ์ เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื้นพอเหมาะ  เชื้อจุลินทรีย์จะทำหน้าที่ย่อยสลาย
อินทรียวัตถุในดินให้เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้    จึงไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมากๆ แต่ในดินต้องมีอินทรียวัตถุพวกปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง  และใบไม้แห้ง
และมีความชื้นอย่างเพียงพอ   ต้นพืชจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ   ตรงกันข้ามถ้าให้ครั้งละมากเกินไป      อาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ปริมาณที่พอเหมาะนั้น  สำหรับการปลูกโดยทั่วไปจะใช้รองก้นหลุมประมาณ 1 กำมือต่อต้น หรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1-2 ตารางเมตร

       
      แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การทำการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการใช้ปัจจัยการผลิต ต่างๆ เพื่อเพิ่มผลผลิตเฉพาะพืชที่ปลูก ซึ่งเป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะให้ความสนใจเฉพาะแต่ผลผลิตของพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำ การผลิต
จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการ เกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี
เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการ ทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยว กับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการ แห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของ ตัวเองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและ เรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย
แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิต เพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งใน ระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและ สังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Agriculture - CSA) หรือระบบอื่นๆ ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรอง ที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด
จากแนวคิดหลักพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ ที่มุ่งเน้นการทำการเกษตรที่อนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติของเกษตรอินทรีย์จึงเน้นการผลิตความสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ โดยการประยุกต์ปรับใช้กลไกนิเวศธรรมชาติสำหรับการทำเกษตร ที่สำคัญได้แก่ การหมุนเวียนธาตุอาหาร, การสร้างความอุดมสมบูรณ์ของดิน, ความสัมพันธ์แบบสมดุลของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย, การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร,

การหมุนเวียนธาตุอาหาร

ในป่าธรรมชาติ ต้นไม้พืชพรรณได้รับธาตุอาหารจากดินและอากาศ โดยธาตุอาหารในดินจะถูกดูดซึมผ่านทางราก ส่วนธาตุอาหารในอากาศพืชจะได้รับจากการหายใจทางใบ เมื่อพืชได้รับแสงก็จะสังเคราะห์ธาตุอาหารเหล่านี้มาเป็นสารอาหารต่างๆ ซึ่งทำให้พืชเจริญเติบโต และเพิ่มชีวมวล (biomass) ของพืชเอง ไม่ว่าจะเป็นลำต้นที่ขยายใหญ่ขึ้น กิ่งก้านและใบเพิ่มขึ้น ฯลฯ เมื่อใบหรือกิ่งแก่ลงก็จะร่วงหล่นลงดิน หรือบางส่วนของพืชอาจถูกสัตว์หรือแมลงกัดแทะ และเมื่อสัตว์ถ่ายมูลออกมา มูลเหล่านั้นก็กลับคืนลงสู่ดิน ทั้งชีวมวลจากพืชและมูลสัตว์ที่กินพืช (ที่เราเรียก “อินทรีย์วัตถุ”) เมื่อกลับคืนสู่ดินก็จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์และปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา ซึ่งรากพืชจะดูดซึมกลับไปเป็นธาตุอาหารอีกครั้งหนึ่ง วัฏจักรหรือวงจรธาตุอาหารที่หมุนเวียนไปอย่างสมดุลนี้เอง ที่ทำให้พืชในป่าสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนเป็นเวลาหลายร้อยหลายพัน ปี เพราะธาตุอาหารทั้งหมดหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง
แน่นอนว่าการทำเกษตรไม่ว่าจะเพื่อยังชีพ หรือเพื่อจำหน่ายก็ตาม ธาตุอาหารส่วนหนึ่งย่อมสูญหายไปจากระบบนิเวศการเกษตรจากการบริโภคผลผลิต ดังนั้นเกษตรกรจำเป็นต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการหาธาตุอาหารจากภายนอก ฟาร์มมาชดเชยส่วนที่สูญเสียไป แต่ปัญหาการสูญเสียธาตุอาหารในฟาร์มที่สำคัญกว่าก็คือ การสูญเสียธาตุอาหารในดินที่เกิดขึ้นจากการชะล้างหน้าดิน, การกัดเซาะของลม ฝน และน้ำ, ธาตุอาหารที่ไหลลงดินลึกชั้นล่าง รวมถึงที่สูญเสียไปทางอากาศ ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงให้ความสำคัญกับการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารที่ เกิดจากระบบการผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาแหล่งธาตุอาหารจากภายนอกฟาร์มที่มากเกินไป
แนวทางการหมุนเวียนธาตุอาหารในฟาร์มอาศัยหลักการทางธรรมชาติ ด้วยการใช้ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปของอินทรีย์วัตถุที่สามารถย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้วงจรธาตุอาหารหมุนเวียนได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของการหมุนเวียนธาตุอาหารในแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ คือ การใช้ปุ๋ยหมัก, การคลุมดินด้วยอินทรีย์วัตถุ, การปลูกพืชเป็นปุ๋ยพืชสด และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น

ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารในดิน

"ความอุดมสมบูรณ์ของดิน” ถือได้ว่าเป็นหัวใจของเกษตรอินทรีย์ ผิวดินในระบบนิเวศป่าธรรมชาติจะมีเศษซากพืชและใบไม้ปกคลุมอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอินทรีย์วัตถุที่คลุมดินนี้ นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะและการพังทลายของหน้าดินแล้ว ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น เพราะอินทรีย์วัตถุเหล่านี้เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ที่อยู่ใน ดิน ดังนั้นการมีอินทรีย์วัตถุคลุมหน้าดินจึงทำให้ “ดินมีชีวิต” ขึ้น ซึ่งเมื่ออินทรีย์วัตถุเหล่านี้ย่อยสลายผุพัง (โดยการทำงานของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน) ก็จะทำให้เกิดฮิวมัสซึ่งทำให้ดินร่วนซุย และสามารถเก็บกักน้ำและธาตุอาหารต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้น ดินจึงมีความชื้นอยู่ตลอดเวลาและมีธาตุอาหารเพียงพอให้กับพืชพรรณในบริเวณ ดังกล่าวเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง
ดังนั้น หลักการของการทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องหาอินทรีย์วัตถุต่างๆ มาคลุมหน้าดินอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นฟาง ใบไม้ หรือแม้แต่พืชขนาดเล็ก (เช่น พืชที่ใช้ปลูกคลุมดิน) ซึ่งอินทรีย์วัตถุเหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดินฟื้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ในดิน (เช่น สารเคมีกำจัดศัตรูพืช) เป็นการช่วยทำให้ดินสามารถฟื้นความสมบูรณ์ของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เมื่อดินมีความสมบูรณ์พืชที่ปลูกก็แข็งแรง มีความต้านทานต่อโรคและแมลง รวมทั้งให้ผลผลิตสูง

ความหลากหลายที่สัมพันธ์กันอย่างสมดุลในระบบนิเวศ

นิเวศป่าธรรมชาติมีพืชพรรณและสิ่งมีชีวิตต่างๆ อยู่ร่วมกันอย่างหลากหลาย สิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีทั้งที่พึ่งพาอาศัยกัน แข่งขันกัน หรือเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง แต่ต่างก็สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ พืชพรรณต่างๆ แม้จะมีแมลงหรือศัตรูที่กินพืชนั้นเป็นอาหารบ้าง แต่ก็ไม่ได้ทำลายพืชนั้นจนเสียหายไปทั้งหมด ทั้งนี้เพราะพืชเองก็มีความสามารถที่จะฟื้นฟูตัวเองจากการทำลายของศัตรูพืช ได้ และนอกจากนี้เมื่อมีแมลงศัตรูพืชเกิดขึ้นมาก ก็จะมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติมาควบคุมประชากรของศัตรูพืช ให้ลดลงอยู่ในภาวะที่สมดุล
จากหลักการนี้เอง การทำเกษตรอินทรีย์จะต้องหาสมดุลของการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชร่วมหลายชนิดในเวลาเดียวกัน หรือเหลื่อมเวลากัน ตลอดจนการปลูกพืชหมุนเวียนต่างชนิดกัน รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้การทำเกษตรที่หลากหลาย (ซึ่งมักนิยมเรียกกันว่า “เกษตรผสมผสาน”) นับเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า และยังเป็นการลดความเสี่ยงภัยจากปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชระบาดอีกด้วย นอกจากนี้การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะมีส่วนช่วยให้ศัตรูธรรมชาติสามารถ แสดงบทบาทในการควบคุมศัตรูพืช ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลนิเวศการเกษตรอีกวิธีหนึ่ง เพราะการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะทำลายศัตรูธรรมชาติในสัดส่วนที่มากกว่า ศัตรูพืช ทำให้ศัตรูพืชกลับยิ่งระบาดรุนแรงมากขึ้นอีก

การอนุรักษ์และฟื้นฟูนิเวศการเกษตร

แนวทางสำคัญของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตรและสิ่งแวดล้อม ด้วยการปฏิเสธการใช้สารเคมีสังเคราะห์ทุกชนิด ทั้งนี้เพราะปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ทำลายสมดุลของนิเวศการ เกษตรและส่งผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีฆ่าแมลง สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา และสารเคมีกำจัดวัชพืช) มีผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ในฟาร์มทั้งที่อยู่บนผิวดินและใต้ดิน เช่น สัตว์ แมลง และจุลินทรีย์ ในกลไกธรรมชาติสิ่งมีชีวิตต่างๆ เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยควบคุมประชากรของสิ่งมีชีวิตอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัตรูพืช หรือการพึ่งพาอาศัยกันในการดำรงชีวิต เช่น การผสมเกสร และการช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ซึ่งสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ส่วนใหญ่มีทั้งที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่เกษตรกร เพาะปลูก หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้สร้างผลเสียกับพืชที่ปลูกแต่อย่างใด แต่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชนั้นมีผลทำลายสิ่งมีชีวิตทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ ในขณะที่โรคและแมลงศัตรูพืชมักจะมีความสามารถพิเศษในการพัฒนาภูมิต้านทานต่อ สารเคมี ดังนั้นเมื่อมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แมลงที่เป็นประโยชน์จึงถูกทำลายได้โดยง่าย ในขณะที่แมลงศัตรูพืชสามารถอยู่รอดได้โดยไม่เป็นอันตราย แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็มีผลเสียต่อจุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตในดิน ทำให้สมดุลของนิเวศดินเสีย ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จึงห้ามไม่ให้ใช้ปัจจัยการผลิตที่เป็นสารเคมี สังเคราะห์ทุกชนิดในการเพาะปลูก
นอกเหนือจากการอนุรักษ์แล้ว แนวทางเกษตรอินทรีย์ยังเน้นให้เกษตรกรต้องฟื้นฟูสมดุลและความอุดมสมบูรณ์ของ ระบบนิเวศด้วย ซึ่งหลักการนี้ทำให้เกษตรอินทรีย์มีความแตกต่างอย่างมากจากระบบเกษตรปลอดสาร เคมีที่รู้จักกันในประเทศไทย แนวทางหลักในการฟื้นฟูนิเวศการเกษตรก็คือ การปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ และการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับระบบเกษตรอินทรีย์ ดินถือว่าเป็นกุญแจสำคัญ เพราะการปรับปรุงบำรุงดินทำให้ต้นไม้ได้รับธาตุอาหารอย่างครบถ้วนและสมดุล ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้แข็งแรง มีความต้านทานต่อการระบาดของโรคและแมลง อันจะทำให้เกษตรกรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งยังสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างยั่งยืนกว่าการเพาะปลูกด้วยระบบเกษตรเคมี อีกด้วย นอกจากนี้ผลผลิตของเกษตรอินทรีย์ยังมีรสชาติดี และมีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน
นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินแล้ว การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในไร่นาก็เป็นสิ่งจำเป็น นับเป็นเรื่องสำคัญต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศการเกษตร เพราะการที่สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอยู่ร่วมกันย่อมก่อให้เกิดความเกื้อกูล และสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกระบวนการและพลวัตทางธรรมชาติที่เกื้อหนุนต่อการทำ เกษตรอินทรีย์อีกต่อหนึ่ง วิธีการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น การปลูกพืชร่วม, พืชแซม, พืชหมุนเวียน, ไม้ยืนต้น หรือการฟื้นฟูแหล่งนิเวศธรรมชาติในไร่นาหรือบริเวณใกล้เคียง

การพึ่งพากลไกธรรมชาติในการทำเกษตร

เกษตรอินทรีย์ตั้งอยู่บนปรัชญาแนวคิดที่ว่า การเกษตรที่ยั่งยืนต้องเป็นการเกษตรที่เป็นไปตามครรลองของธรรมชาติ ไม่ใช่การเกษตรที่ฝืนวิถีธรรมชาติ ดังนั้น การทำเกษตรจึงไม่ใช่การพยายามเอาชนะธรรมชาติ หรือการพยายามดัดแปลงธรรมชาติเพื่อการเพาะปลูก แต่เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติและปรับระบบการทำเกษตรให้เข้ากับวิถีแห่ง ธรรมชาติ
กลไกในธรรมชาติที่สำคัญต่อการทำเกษตรอินทรีย์ได้แก่ วงจรการหมุนเวียนธาตุอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงจรไนโตรเจนและคาร์บอน วงจรการหมุนเวียนของน้ำ, พลวัตของภูมิอากาศและแสงอาทิตย์ รวมทั้งการพึ่งพากันของสิ่งมีชีวิตอย่างสมดุลในระบบนิเวศ ทั้งในเชิงของการเกื้อกูล การพึ่งพา และห่วงโซ่อาหาร
ตามที่ต่างๆ ทั่วโลกย่อมมีระบบนิเวศและกลไกตามธรรมชาติที่แตกต่างกันออกไป เกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของ ท้องถิ่นที่ตนเองทำการเกษตรอยู่ การหมั่นสังเกต เรียนรู้ วิเคราะห์-สังเคราะห์ และทำการทดลอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ว่าระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรแต่ละรายจะได้ใช้ประโยชน์จาก กลไกธรรมชาติและสภาพนิเวศท้องถิ่นอย่างเต็มที่

การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิต

เกษตรอินทรีย์มีแนวทางที่มุ่งให้เกษตรกรพยายามผลิตปัจจัย การผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ เมล็ดพันธุ์ ฯลฯ ด้วยตนเองในฟาร์มให้ได้มากที่สุด แต่ในกรณีที่เกษตรกรไม่สามารถผลิตได้เอง (เช่น มีพื้นที่การผลิตไม่พอเพียง หรือต้องมีการลงทุนสูงสำหรับการผลิตปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต้องใช้) เกษตรกรก็สามารถซื้อหาปัจจัยการผลิตจากภายนอกฟาร์มได้ แต่ควรเป็นปัจจัยการผลิตที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่น
แนวทางนี้เป็นไปตามหลักการสร้างสมดุลของวงจรธาตุอาหารที่ กระตุ้นให้เกษตรกรพยายามจัดสมดุลของวงจรธาตุอาหารในระบบที่เล็กที่สุด (ซึ่งก็คือในฟาร์มของเกษตรกร) และมีความสอดคล้องกับนิเวศของท้องถิ่น อันจะช่วยสร้างเสถียรภาพและความยั่งยืนของระบบการผลิตในระยะยาว นอกจากนี้การเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในท้องถิ่นยังเป็นการใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขนย้ายปัจจัยการผลิตเป็นระยะทางไกลๆ
การพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตยังมีนัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญ กล่าวคือ เกษตรอินทรีย์ไม่ใช่เพียงแค่เทคนิคการผลิต แต่เป็นวิถีชีวิตและขบวนการทางสังคม จากประสบการณ์ของการพัฒนาระบบเกษตรเคมีที่ผ่านมา เกษตรกรสูญเสียการเข้าถึงและการควบคุมปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตในเกือบ ทุกขั้นตอน จำเป็นต้องพึ่งพิงองค์กรภาครัฐและธุรกิจเอกชนในการจัดหาปัจจัยการผลิตและ เทคโนโลยีการผลิตเกือบทุกด้าน จนเกษตรกรเองแทบไม่ต่างไปจากแรงงานรับจ้างในฟาร์มที่ทำงานในที่ดินของตนเอง การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองของเกษตรกรในระบบเกษตรอินทรีย์จึงเป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้างความเข้มแข็งและความเป็นอิสระของเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยระดับรากหญ้าอีกด้วย
เกษตรอินทรีย์ คือ ระบบการเกษตรที่ผลิตอาหารและเส้นใย ด้วยความยั่งยืนทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ โดยเน้นหลักที่การปรับปรุงบำรุงดิน การเคารพต่อศักยภาพทางธรรมชาติของพืช สัตว์ และนิเวศการเกษตร เกษตรอินทรีย์ลดการใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และ เวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์พยายามประยุกต์กลไกและวัฐจักรธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง หลักการเกษตรอินทรีย์นี้เป็นหลักการสากล ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ-สังคม ภูมิอากาศ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นด้วย
แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์คือ การบริหารจัดการการผลิตทางการเกษตรแบบองค์รวม ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนจากการเกษตรแผนใหม่ที่มุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูงสุด โดยการพัฒนาเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการให้ธาตุอาหารพืชและป้องกันกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่อาจมีผลในการทำให้พืชที่ปลูกมีผลผลิตลดลง แนวคิดเช่นนี้เป็นแนวคิดแบบแยกส่วน เพราะแนวคิดนี้ตั้งอยู่บนฐานการมองว่า การเพาะปลูกไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ดังนั้นการเลือกชนิดและวิธีการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ มุ่งเฉพาะแต่การประเมินประสิทธิผลต่อพืชหลักที่ปลูก โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรการเกษตรหรือนิเวศการเกษตร สำหรับเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นการเกษตรแบบองค์รวมจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน, การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้เพราะแนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิต ดังนั้นเกษตรอินทรีย์จะประสบความสำเร็จได้ เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้กลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ
จากเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เกษตรอินทรีย์จึงปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของวงจรของธาตุอาหาร, การประหยัดพลังงาน, การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าเกษตรอินทรีย์เป็นการบริหารจัดการฟาร์มเชิงบวก (positive management) และการจัดการเชิงบวกนี้เองที่ทำให้เกษตรอินทรีย์แตกต่างอย่างสำคัญจากการเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีแบบปล่อยปะละเลย (ที่มักอ้างว่า เป็นการเกษตรตามแบบธรรมชาติ) หรือเกษตรปลอดสารเคมีและเกษตรไร้สารพิษที่เฟื่องฟูในบ้านเรามานานหลายปี
เนื่องจากเกษตรอินทรีย์เป็นการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับการทำฟาร์มเชิงสร้างสรรค์ (เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตรในไร่นา) ดังนั้นเกษตรกรที่หันมาทำเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องพัฒนาการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและการบริหารจัดการฟาร์มของตนเพิ่มขึ้นด้วย ผลที่ตามมาก็คือเกษตรอินทรีย์จึงเป็นแนวทางการเกษตรที่ตั้งอยู่บนกระบวนการแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพราะเกษตรกรต้องสังเกต, ศึกษา, วิเคราะห์-สังเคราะห์ และสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการทำการเกษตรของฟาร์มตนเอง ซึ่งจะมีเงื่อนไขทั้งทางกายภาพ (เช่น ลักษณะของดิน ภูมิอากาศ และภูมินิเวศ) รวมถึงเศรษฐกิจ-สังคมที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น เพื่อคัดสรรและพัฒนาแนวทางเกษตรอินทรีย์ที่เฉพาะและเหมาะสมกับฟาร์มของตัวเองอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับเกษตรกรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น เกษตรอินทรีย์มุ่งหวังที่จะสร้างความมั่นคงในการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกร ตลอดจนอนุรักษ์และฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรกรรม วิถีการผลิตของเกษตรอินทรีย์เป็นวิถีการผลิตที่เกษตรกรต้องอ่อนน้อมและเรียนรู้ในการดัดแปลงการผลิตของตนให้เข้ากับวิถีธรรมชาติ อาศัยกลไกธรรมชาติเพื่อทำการเกษตร ดังนั้นวิถีการผลิตเกษตรอินทรีย์จึงเป็นวิถีแห่งการเคารพและพึ่งพิงธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับวิถีชีวิตของชุมชนเกษตรพื้นบ้านของสังคมไทย
แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรอินทรีย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธการผลิตเพื่อการค้า เพราะตระหนักว่าครอบครัวเกษตรกรส่วนใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาการจำหน่ายผลผลิตเพื่อเป็นรายได้ในการดำรงชีพ ขบวนการเกษตรอินทรีย์พยายามส่งเสริมการทำการตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศ โดยการตลาดท้องถิ่นอาจมีรูปแบบที่หลากหลายตามแต่เงื่อนไขทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นนั้น เช่น ระบบชุมชนสนับสนุนการเกษตร (Community Support Super Mai Agriculture - CSSMA) หรือระบบอื่นๆ ซึ่งมาจากปะเทศใดในโลก ที่มีหลักการในลักษณะเดียวกัน ส่วนตลาดที่ห่างไกลออกไปจากผู้ผลิต ขบวนการเกษตรอินทรีย์ได้พยายามพัฒนามาตรฐานการผลิตและระบบการตรวจสอบรับรองที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ว่า ทุกขั้นตอนของการผลิต แปรรูป และการจัดการนั้นเป็นการทำงานที่พยายามอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ตลอดจนรักษาคุณภาพของผลผลิตให้เป็นธรรมชาติเดิมมากที่สุด
โดยสรุปจะเห็นว่า เกษตรอินทรีย์เป็นระบบเกษตรที่มีลักษณะเป็นองค์รวม ที่ให้ความสำคัญในเบื้องต้นกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศการเกษตร และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ละเลยมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพราะความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมไม่อาจดำรงอยู่ได้ โดยแยกออกจากความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร

หลักการเกษตรอินทรีย์

หลักการสำคัญ 4 ข้อของเกษตรอินทรีย์ คือ สุขภาพ, นิเวศวิทยา, ความเป็นธรรม, และการดูแลเอาใจใส่ (health, ecology, fairness and care)
(ก) มิติด้านสุขภาพ เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องส่งเสริมและสร้างความยั่งยืนให้กับสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมของดิน พืช สัตว์ มนุษย์ และโลก
สุขภาวะของสิ่งมีชีวิตแต่ละปัจเจกและของชุมชน เป็นหนึ่งเดียวกันกับสุขภาวะของระบบนิเวศ การที่ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์จะทำให้พืชพรรณต่างๆ แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี ส่งผลต่อสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ที่อาศัยพืชพรรณเหล่านั้นเป็นอาหาร
สุขภาวะเป็นองค์รวมและเป็นปัจจัยที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต การมีสุขภาวะที่ดีไม่ใช่การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงภาวะแห่งความเป็นอยู่ที่ดีของกายภาพ จิตใจ สังคม และสภาพแวดล้อมโดยรวม ความแข็งแรง ภูมิต้านทาน และความสามารถในการฟื้นตัวเองจากความเสื่อมถอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสุขภาวะที่ดี
บทบาทของเกษตรอินทรีย์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในไร่นา การแปรรูป การกระจายผลผลิต หรือการบริโภค ต่างก็มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตทั้งปวง ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กสุดในดินจนถึงตัวมนุษย์เราเอง เกษตรอินทรีย์จึงมุ่งที่จะผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และมีคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์ได้มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เกษตรอินทรีย์จึงเลือกที่จะปฏิเสธการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เวชภัณฑ์สัตว์ และสารปรุงแต่งอาหาร ที่อาจมีอันตรายต่อสุขภาพ
(ข) มิติด้านนิเวศวิทยา เกษตรอินทรีย์ควรจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของระบบนิเวศวิทยาและวัฐจักรแห่งธรรมชาติ การผลิตการเกษตรจะต้องสอดคล้องกับวิถีแห่งธรรมชาติ และช่วยทำให้ระบบและวัฐจักรธรรมชาติเพิ่มพูนและยั่งยืนมากขึ้น
หลักการเกษตรอินทรีย์ในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ที่มองเกษตรอินทรีย์ในฐานะองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่มีชีวิต ดังนั้น การผลิตการเกษตรจึงต้องพึ่งพาอาศัยกระบวนการทางนิเวศวิทยาและวงจรของธรรมชาติ โดยการเรียนรู้และสร้างระบบนิเวศสำหรับให้เหมาะสมกับการผลิตแต่ละชนิด ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของการปลูกพืช เกษตรกรจะต้องปรับปรุงดินให้มีชีวิต หรือในการเลี้ยงสัตว์ เกษตรกรจะต้องใส่ใจกับระบบนิเวศโดยรวมของฟาร์ม หรือในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรกรต้องใส่ใจกับระบบนิเวศของบ่อเลี้ยง
การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ หรือแม้แต่การเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่า จะต้องสอดคล้องกับวัฐจักรและสมดุลทางธรรมชาติ แม้ว่าวัฐจักรธรรมชาติจะเป็นสากล แต่อาจจะมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่นนิเวศได้ ดังนัน การจัดการเกษตรอินทรีย์จึงจำเป็นต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น ภูมินิเวศ วัฒนธรรม และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม เกษตรกรควรใช้ปัจจัยการผลิตและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการใช้ซ้ำ การหมุนเวียน เพื่อที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืน
ฟาร์มเกษตรอินทรีย์ควรสร้างสมดุลของนิเวศการเกษตร โดยการออกแบบระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสม การฟื้นฟูระบบนิเวศท้องถิ่น และการสร้างความหลากหลายทั้งทางพันธุกรรมและกิจกรรมทางการเกษตร ผู้คนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การแปรรูป การค้า และการบริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ควรช่วยกันในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในแง่ของภูมินิเวศ สภาพบรรยากาศ นิเวศท้องถิ่น ความหลากหลายทางชีวภาพ อากาศ และน้ำ
(ค) มิติด้านความเป็นธรรม เกษตรอินทรีย์ควรจะตั้งอยู่บนความสัมพันธ์ที่มีความเป็นธรรมระหว่างสิ่งแวดล้อมโดยรวมและสิ่งมีชีวิต
ความเป็นธรรมนี้รวมถึงความเท่าเทียม การเคารพ ความยุติธรรม และการมีส่วนในการปกปักพิทักษ์โลกที่เราอาศัยอยู่ ทั้งในระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ในหลักการด้านนี้ ความสัมพันธ์ของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับควรมีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นธรรม ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค ทุกผู้คนควรได้รับโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีส่วนช่วยในการรักษาอธิปไตยทางอาหาร และช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน เกษตรอินทรีย์ควรมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและผลผลิตการเกษตรอื่นๆ ที่เพียงพอ และมีคุณภาพที่ดี
ในหลักการข้อนี้หมายรวมถึงการปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสภาพการเลี้ยงให้สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์ รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของสัตว์อย่างเหมาะสม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่นำมาใช้ในการผลิตและการบริโภคควรจะต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ทั้งทางสังคมและทางนิเวศวิทยา รวมทั้งต้องมีการอนุรักษ์ปกป้องให้กับอนุชนรุ่นหลัง ความเป็นธรรมนี้จะรวมถึงว่า ระบบการผลิต การจำหน่าย และการค้าผลผลิตเกษตรอินทรีย์จะต้องโปร่งใส มีความเป็นธรรม และมีการนำต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาเป็นต้นทุนการผลิตด้วย
(ง) มิติด้านการดูแลเอาใจใส่ การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ควรจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย
เกษตรอินทรีย์เป็นระบบที่มีพลวัตรและมีชีวิตในตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ควรดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตในการผลิต แต่ในขณะเดียวกันจะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ดังนี้น เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ จะต้องมีการประเมินผลกระทบอย่างจริงจัง และแม้แต่เทคโนโลยีที่มีการใช้อยู่แล้ว ก็ควรจะต้องมีการทบทวนและประเมินผลกันอยู่เนืองๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เรายังไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจอย่างดีพอเกี่ยวกับระบบนิเวศการเกษตร ที่มีความสลับซับซ้อน ดังนั้น เราจึงต้องดำเนินการต่างๆ ด้วยความระมัดระวังเอาใจใส่
ในหลักการนี้ การดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการ การพัฒนา และการคัดเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในเกษตรอินทรีย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจว่า เกษตรอินทรีย์นั้นปลอดภัยและเหมาะกับสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประสบการณ์จากการปฏิบัติ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมถ่ายทอดกันมาก็อาจมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน เกษตรกรและผู้ประกอบการควรมีการประเมินความเสี่ยง และเตรียมการป้องกันจากนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ และควรปฏิเสธเทคโนโลยีที่มีความแปรปรวนมาก เช่น เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีต่างๆ จะต้องพิจารณาถึงความจำเป็นและระบบคุณค่าของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ และจะต้องมีการปรึกษาหารืออย่างโปร่งใสและมีส่วนร่วม
อ้างอิง  
สหพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (International Federation of Organic Agriculture Movement – IFOAM)
        ประเทศไทยมีเนื้อที่สำหรับทำการเกษตรอันดับที่ 48 ของโลกแต่ใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้า และฮอร์โมนอันดับ 4 ของโลก ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินจากการนำเข้าสารเคมีปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท เกษตรกรเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะต้นทุนทางการเกษตรสูงกว่ามูลค่าผลผลิตที่ได้รับ ทำให้เกิดปัญหาเกษตรกรละทิ้งถิ่นฐาน ขายไร่ ขายนา เพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตดั้งเดิมเข้าสู่เมือง จึงส่งผลกระทบต่อระบบพื้นฐานสังคมและเศรษฐกิจ ไทย

ทำความเข้าใจเรื่องเกษตรอินทรีย์

รัฐบาลมีนโยบายที่พยายามจะแก้ไขปัญหาด้วยการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตมา เป็นระบบเกษตรปลอดภัย ด้วยการลดอัตราการใช้สารเคมีและส่งเสริมเกษตรกรรมทางเลือก ซึ่งมีหลายรูปแบบและหนึ่งในนั้นคือ เกษตรอินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคนิยมซื้อหาผลผลิตที่ได้จากเกษตรธรรมชาติมากยิ่งขึ้น มีอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นในตลาดโลกแต่ผู้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องบริโภคพืชผลเกษตรที่ได้จากแปลงเกษตรอินทรีย์ ในขณะที่เกษตรกรหลายรายยังไม่เชื่อว่ากกระบวนการผลิตตามแนวทางเกษตรอินทรีย์จะช่วยเพิ่มผลผลิต ผลิตผลมีคุณภาพและได้ราคาดีมากกว่าเดิม

เกษตรอินทรีย์ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาแล้วพืชผักจะโตได้อย่างไร

คำตอบที่ดีที่สุดและตรงที่สุดคือ ดินดี หลักการสำคัญของเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติคือการว่าด้วยเรื่องของคุณภาพดิน ดินดีเป็นดินมีชีวิต มีธาตุอาหารสมบูรณ์ตามธรรมชาติ มี จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ปล่อยธาตุอาหารให้พืชและทำให้ดินมีความร่วนซุยอย่างพอเหมาะที่จะให้รากพืชชอนไชหาอาหารได้อย่างกว้างกวาง ซึ่งหมายความว่าพืชที่ได้รับอาหารอย่างสมดุลก็จะ มีความแข็งแรง ระบบรากทำงานเต็มประสิทธิภาพในการดูดซับพลังดินที่สะอาด (ปราศจากสารเคมีอันตราย) ได้ธาตุอาหารสูง ดูดซับพลังน้ำที่บริสุทธิ์
ผลที่ตามมาก็คือเกษตรกรจะได้ผลผลิตที่เติบโตแข็งแรงดี พืชผักมีคุณค่าทางโภชนาการสูง รสชาติอร่อยจำหน่ายได้ในราคาสูงเพราะเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งไม่มีผลกระทบที่เกิดจากสภาวะสารเคมีสะสมในร่างกาย

ผลกระทบของระบบเกษตรแบบสารเคมีหรืเกษตรเชิงเดี่ยวต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ

  1. ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง
  2. เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี แต่ผลผลิตกลับได้เท่าเดิม
  3. เกิดปัญหาโรคและแมลงระบาด เนื่องจากระบบนิเวศเสียสมดุล ธรรมชาติไม่สามารถดูแลตัวเองได้ จึงเพิ่มความยุ่งยากให้เกษตรกรในเรื่องการป้องกันและกำจัด
  4. แม่น้ำและทะเลสาบถูกปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีทางการเกษตร และเกิดความเสื่อมโทรมของดิน
  5. พบสารปนเปื้อนในผลผลิตเกินปริมาณเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้เกิดพิษภัยต่อผู้บริโภค
  6. สภาพแวดล้อมถูกทำลายเสียหายจนยากที่จะเยียวยาให้กลับคืนมาดังเดิม

ปุ๋ยสำหรับเกษตรอินทรีย์

ปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ เน้นให้ผลิตขึ้นด้วยวัสุดชีวภาพที่หาได้ในท้องถิ่นเพื่อมาทำเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยชีวภาพในการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อให้ ต้นพืชมี ความแข็งแรง สามารถต้านทานโรคและแมลงได้ด้วยตนเอง ผลผลิตทางการเกษตรที่ได้จึงปลอดภัยจากอันตรายของสารพิษตกค้าง และไม่ทำลายดิน น้ำ ส่งผลให้เกิดผลดีต่อระบบนิเวศ

ทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนที่ใส่ใจต่อสุขภาพตนเองคืออะไร?

ถ้าจะบอกว่าปลูกผักกินเองสิปลอดภัยที่สุดคงมีคนน้อยนักที่สามารถทำเช่นนั้นได้ ดังนั้น การซื้อหาผักสดๆ จากแหล่งผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ที่เชื่อถือได้จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่เหมาะสมกับสภาพการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ผักที่ผ่านการปลูกด้วยกรรมวิธีแบบเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรธรรมชาติ ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าอาหารที่ได้จากกระบวนการเกษตรอินทรีย์ คืออาหารที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ และระบบนิเวศ
ผู้ที่บริโภคผักเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะมีสุขภาพดีปลอดภัยจากสารเคมีแล้ว ยังได้ช่วยให้เกษตรกรไทยมีสุขภาพแข็งแรงและมีรายได้ที่มั่นคง และเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ

ผักปลอดสารพิษหรือผักอนามัยปลอดภัยแค่ไหน?

ผักปลอดสารพิษหรือผักอนามัยที่มักจะเห็นวางจำหน่ายอยู่ในซุปเปอร์มาเก็ตชั้นนำในบ้านเรา คือการปลูกผักที่ยังคงใช้สารเคมีแต่ถูกกำหนดให้ใช้ในระดับที่เหมาะสมตามมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวนั้นก็จำเป็นต้องให้เวลาสารเคมีเหล่านั้นเจือจางลง โดยการทิ้งช่วงเวลาก่อนตัดไปขายและแน่นอนว่าผู้บริโภคยังมีโอกาสสะสมของสารพิษเช่นเดียวกัน ผักปลลอดสาร เป็นประโยคการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภคสบายใจในระดับหนึ่งแต่สำหรับเมืองไทยนั้นยังไม่มีการตรวจสอบที่จะให้ความมั่นใจได้ว่าปลอดสารคือปลอดภัยแค่ไหน

เสียงสะท้อนจากเกษตรกร

มีพี่น้องเกษตรกรหลายรายประสบกับปัญหาเช่นนี้ ปัจจุบันสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ถึงแม้จะทราบดีว่าเกษตรอินทรีย์มีคุณประโยชน์มากมายแต่ถ้าพื้นที่เกษตรกรรมรอบๆ แปลงของเรายังทำเกษตรเคมี สิ่งที่ เราทำก็ไปก็คงได้ผลไม่มากและอาจจะเสียหายมากกว่าเดิม
กรีนลาเต้ได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ของ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ประเทศไทย และขอสรุปข้อแนะนำดังนี้
  1. ปลูกพืชเป็นแนวกั้นระหว่างแปลงผลผลิตเคมีกับแปลงเกษตรอินทรีย์ โดยเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร เช่น แค ฝรั่ง กระถิน ไผ่ กล้วย เป็นต้น
  2. แบ่งสัดส่วนพื้นที่ปลูกพืชให้ชัดเจน เช่น ผลผลิตยืนต้นให้ปลูกรอบนอก ส่วนผักหรือพืชล้มลุกให้ปลูกด้านใน
  3. มีบ่อเก็บน้ำห่างจากการปนเปื้อนของแปลงเคมีกับแปลงเกษตรอินทรีย์
  4. ตรวจแปลผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของแมลงให้ใช้สารชีวภาพแทนสารเคมีฉีดฆ่าหรือเผาทำลาย
เมื่อเกษตรกรยึดแนวทางเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง 2-3 ปี ระบบนิเวศที่ถูกฟื้นฟูสภาพจะเริ่มดูแลตัวเองได้ซึ่งหมายความว่าผลผลิตของเกษตรกรจะได้ทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เรียบเรียงโดย www.greenlattes.com และขอบคุณ : กรมวิชาการเกษตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพจ บุญแรง

ชอบๆๆๆๆๆ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

บล็อกนี้เป็นบล็อกส่วนตัวที่ใช้ในการประกอบการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน