วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555



พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกร

พันธุ์ยางที่แนะนำสำหรับเกษตรกรทั่วไป  
      สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2536 สำหรับเกษตรกรทั่วไปไว้ดังนี้  
พันธุ์ยางชั้น 1 ได้แก่       ยางพันธุ์ดีแนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยไม่จำกัดพื้นที่ปลูก  
พันธุ์ยางชั้น 2 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี       แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยจำกัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่  
พันธุ์ยางชั้น 3 ได้แก่ ยางพันธุ์ดี       แนะนำให้เกษตรกรปลูกโดยกำจัดพื้นที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่ปลูกยางที่ถือครองแต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่   พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางเดิม (ภาคใต้และภาคตะวันออก)   พันธุ์ยางชั้น 1 BPM 24, สงขลา 36 2/, RRIM 600, GT 1, PR 255, PR 261  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 217, RRIC 110, RRIC 100, PB 260, PB 255, PB 235  
พันธุ์ยางชั้น 3 KRS 251, PR 305, PR 302, RRIC 101, BPM 1, RRIM 712, KRS 250, KRS 226, KRS 225, KRS 218, PB 311, RRIC 121  พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกในแหล่งปลูกยางใหม่ (ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) 
พันธุ์ยางชั้น 1 RRIM 600, GT 1, สงขลา 36, BPM 24, PR 255  
พันธุ์ยางชั้น 2 PB 235, PB 260

   


การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง

ความเตรียมพื้นที่ปลูกยาง  
      ในพื้นที่ที่เป็นสวนยางเก่า ป่า หรือมีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นอยู่ จะต้องโค่นไม้ เหล่านั้นเสียก่อน การโค่นจะใช้วิธีตัดต้นไม้ให้เหลือตอสูง 40-50 เซนติเมตร แล้วทำลายตอไม้เหล่านั้นให้ผุสลายในภายหลัง โดยใช้สาร เคมีไทรโคลเปอร์ หรือการ์ลอน 4 (ชื่อการค้า) ในอัตรา 5 ซี.ซี. ผสมน้ำ 95 ซี.ซี. ต่อตอ โดยทาก่อนหรือหลังตัดต้นไม้ 1-7 วันก็ได้  หรือจะใช้ รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ออกจากแปลงให้หมดก็ได้เช่นกัน  
      หลังจากโค่นต้นยางเก่า หรือต้นไม้อื่นๆ แล้วต้องเก็บไม้ใหญ่ออก จากนั้นเก็บเศษไม้รวมเป็นกองๆ เรียงเป็นแนวตามพื้นที่ ตากให้แห้ง ทำแนวกันไฟแล้วเผา หลังจากเผาเสร็จควรเก็บปรนที่ยังไหม้ไม่หมดรวมกันเผาอีกครั้ง 


การเตรียมหลุมปลูก

      หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุมี

การปลูกซ่อม

      หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืชทำได้ 3 วิธีคือ 
1. ใช้จอบถากหรือแทรกเตอร์ไถ วิธีนี้เกษตรกรนิยมใช้มากแต่มีข้อเสียคือจะกระทบกระเทือนต่อราก ทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต 
2. ใช้วิธีปลูกพืชคลุมดิน โดยนำเมล็ดพืชคลุมดินแต่ละชนิดมาผสมกันแล้วนำไปปลูกโดยใช้เมล็ดพืชคลุมดินในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ปลูกยาง 1 ไร่ ยกเว้นในท้องที่แห้งแล้งใช้อัตรา 1.5 กิโลกรัมต่อไร่ 
 
อัตราการผสมเมล็ดพืชคลุมดิน 
ภาคใต้และภาคตะวันออก 
- คาโลโปโกเนียม 2 ส่วน เซนโตรซีม่า 2 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน 
-  คาโลโปโกเนียม 5 ส่วน เซนโตรซีม่า 4 ส่วน เพอราเรีย 1 ส่วน 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
-  คาโลโปโกเนียม 1 ส่วน  เพอราเรีย 1 ส่วน 
โดยก่อนปลูกควรนำเมล็ดพืชคลุมดินไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำร้อน 2 ส่วนผสมกับน้ำ เย็น 1 ส่วน) ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วเทน้ำทิ้ง ปล่อยให้เมล็ดแห้งพอหมาด จากนั้นนำเมล็ดไปคลุกกับปุ๋ยร้อคฟอสเฟตในปริมาณที่เท่ากันโดยน้ำหนัก แล้วจึงนำไปปลูกได้ 
- วิธีการปลูกพืชคลุมดิน ให้ใช้จอบขุดดินเป็นร่องลึกประมาณ 2-3 นิ้ว ให้เป็นแถว 3 แถว โดยให้แถวริม ที่อยู่ชิดแถวยางอยู่ห่างจากแถวยางข้างละ 2 เมตร ส่วนแถวกลางให้อยู่ระหว่างกลางของแถวริมทั้งสอง นำเมล็ดพืชคลุมดิน โรยลงในร่องแล้วเกลี่ยดินกลบเมล็ด 
การปลูกพืชคลุมดินนี้ จะลงมือปลูกพืชคลุมดินก่อน หรือจะปลูกพร้อมๆกับ ปลูกยาง หรือหลังปลูกยางแล้ว ก็ได้ แต่เพื่อความสะดวกและง่าย ต่อการกำจัด วัชพืชควรปลูกพืชคลุมดินหลังจาก ได้เตรียมดินวางแนว และกะระยะปลูกยาง เสร็จเรียบร้อยแล้ว 
หลังจากปลูกพืชคลุมดินจนกระทั่งเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าเล็กๆแล้ว ควรดูแลกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งพืชคลุมดินเริ่มทอดเถาเลื้อย ไปคลุมดินจึงใส่ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ในอัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อบำรุงพืช คลุมดิน 
 
3. การใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ให้ผลดี ประหยัดแรงงาน และเวลา นิยมใช้กับต้นยางที่มีอยายุ 1 ปีขึ้นไป หรือต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินมากกว่า 75 เซนติเมตรไปแล้ว ส่วนต้นยางที่มีเปลือกบริเวณโคนต้นเป็นสีน้ำตาลสูงจากพื้นดินน้อยกว่า 75 เซนติเมตรไม่ควรใช้วิธีนี้ 
 
การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับยางอ่อน  
การปลูกยางโดยใช้ต้นตอตาหรือยางชำถุง จะใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในแถวยาง ได้อย่างปลอดภัยต่อเมื่อต้นยางมีเปลือก สีน้ำตาลที่บริเวณ โคนต้นสูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร 
สารเคมีที่ใช้ในสวนยางอ่อนมีอยู่หลายสูตร แต่จะแนะนำเฉพาะบางสูตรที่หา ได้ง่ายเช่น 
สูตรที่ 1 ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ระวังอย่าให้สารเคมี ถูกใบหรือส่วนที่เป็นสีเขียวของต้น สูตรนี้จะเหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป สามารถคุมวัชพืชได้นาน 3-5 สัปดาห์ โดยหลังจากพ่นสารเคมี แล้วยภายใน 2-3 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์ 
สูตรที่ 2 ใช้ดาลาพอน 800 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่น และหลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้พ่นซ้ำด้วยพาราควอท 40 กรัม (เนื้อสาร บริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ อีกครั้งหนึ่ง สูตรนี้เหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงเดี่ยว 
สูตรที่ 3 ใช้พาราควอท 60 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) และ 2,4-ดี  150 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สุตรนี้จะเหมาะกับต้นยาง ที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่จะใช้กำจัดวัชพืชพวกใบเลี้ยงคู่ รวมทั้งพืชคลุม ที่เลื้อยเข้าไปพันต้นยาง 
สูตรที่ 4 ใช้ไกลโฟเสท 205 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ สามารถ กำจัดวัชพืชได้หลายชนิดโดยไม่มีพิษตกค้างในดิน สามารถคุมวัชพืช ได้นาน 2 เดือน สูตรนี้เหมาะกับต้นยางที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยหลังจากพ่น สารเคมีแล้วภายใน 6 ชั่วโมง จะต้องไม่มีฝนตก การใช้สารเคมีจึงจะได้ผลสมบูรณ์ 
การใช้สารเคมีกำจัดพืชสำหรับสวนยางที่กรีดแล้ว  
ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 50 ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีเหลือง 
การกำจัดหญ้าคา  
การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคานับว่าเป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้ ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ โดยมีสูตรการใช้สารเคมีให้เลือก 3 สูตรคือ 
สูตรที่ 1 ใช้ดาราพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยใช้หัวฉีดสีแดง หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้ดาลาพอนในอัตราเดิม ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง จากนั้นประมาณ 3-4 เดือน หากมีหญ้าคางอกหรือหลงเหลืออยู่ ควรฉีดพ่นสารเคมี อีกครั้งในอัตราเดิม 
สูตรที่ 2 ถ้าต้นยางมีอายุตั้งแต่ 2 ปี ลงมาและมีหญ้าคาขึ้นบริเวณโคนต้น ให้ฉีดพ่น ด้วยด้วยดาลาพอน 1.6 กิโลกรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ หลังจากฉีดพ่นแล้ว 21 วัน ให้ใช้พาราควอท 80 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อลดอันตรายของต้นยางอ่อนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากดาลาพอน 
สูตรที่ 3 ใช้ไกลโฟเสท 410 กรัม (เนื้อสารบริสุทธิ์) ผสมน้ำ 100 ลิตรต่อพื้นที่ 1 ฉีดพ่นเพียงครั้งเดียว 
ข้อสังเกต การกำจัดหญ้าคาควรฉีดพ่นสารเคมีในช่วงที่หญ้าคากำลัง เจริญเติบโต (ต้นฤดูฝน) จะได้ผลดีที่สุด การกำจัดหญ้าคาด้วยไกลโฟเสทให้ผลดีกว่า ดาลาพอน ซึ่งดาลาพอนต้องพ่นถึง 2 ครั้ง แต่เมื่อเปรียบเทียบทางด้านค่าใช้จ่ายแล้วการใช้ดาลาพอนจะประหยัดกว่า 
หมายเหตุ : เนื้อสารบริสุทธิ์ หมายถึง ปริมาณสารออกฤทธิ์ซึ่งจะต้องปรากฏ ในฉลาก ที่ภาชนะบรรจุเป็นภาษาไทย ตามพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2510 มาตรา 21 
 


บริเวณที่ใส่ปุ๋ย

      ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่น อยู่ในบริเวณห่างจากลำต้น ประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การ ดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณ ที่มีรากดูดอาหาร หนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลม รอบลำต้น ส่วนต้นยาง ที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาว ไปให้แถวยาง ห่างจากโคน ต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่าง จากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยาง ที่เปิดกรีด แล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร


บริเวณที่ใส่ปุ๋ยให้ต้นยางก่อนเปิดกรีด
การกรีดยาง

การกรีดยางต้องยึดหลักที่ว่า เมื่อกรีดแล้วจะต้องได้น้ำยางมากที่สุด เปลือกเสียหายน้อยที่สุด กรีดได้นาน 25-30 ปี และประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด  ขนาดของต้นยางที่เปิดกรีดได้ 
1. ขนาดของต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดต้องมีเส้นรอบต้นไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร วัดที่ความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร 
2. เปิดกรีดครั้งแรกเมื่อมีจำนวนต้นยางที่พร้อมเปิดกรีดในสวนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง ของต้นยาง ทั้งหมดในสวน 
3. ต้นยางติดตา สามารถเปิดกรีดครั้งแรกได้ที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 50, 75, 100, 125, หรือ 150 เซนติเมตรระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าเปิดกรีดต่ำจะได้รับผลผลิตมากกว่า 


วิธีติดรางและถ้วยรับน้ำยาง  เวลาที่เหมาะสมในการกรีดยาง 
ควรจะเริ่มกรีดยางตั้งแต่ตอนเช้า ประมาณ 06.00-08.00 น. เพราะจะทำให้ปฏิบัติงานได้สะดวก เนื่องจากมองเห็นชัดเจนกว่ากลางคืนและผลผลิตที่ได้ใกล้เคียงกับการ กรีดในตอนกลางคืน 
ขนาดของงานกรีดยาง 
คนกรีดยาง 1 คน จะสามารถกรีดยางในสวนยางที่ปลูกในพื้นที่ราบ ตามระบบครึ่งลำต้นวันเว้นวัน  
ได้ประมาณ 400-450 ต้นต่อวัน 
วิธีการกรีดยาง 
ควรกรีดยางโดยใช้วิธีกระตุกข้อมือหรือการซอย พร้อมกับย่อตัวและสลับเท้าไปตามรอยกรีด ของต้นยาง อย่ากรีดโดยวิธีใช้ท่อนแขนลากหรือกระชากเป็นอันขาด การกรีดโดยวิธีกระตุกข้อมือจะทำให้กรีดได้เร็ว ควบคุมการกรีดง่าย กรีดเปลือกได้บาง แม้จะกรีดบาดเนื้อไม้ก็จะบาดเป็นแผลเล็กๆเท่านั้น 
ระบบการกรีดยาง 
เนื่องจากในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีด ต้นยางยังอยู่ในระยะการเจริญเติบโตค่อนข้างสูง การกรีดยาง มากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงควรกรีดยางในระบบครึ่งต้นวันเว้นวัน โดยหยุดกรีดในช่วงผลัดใบและไม่มีการกรีดชดเชยเพื่อ ทดแทน วันที่ฝนตกจนกระทั่งปีที่ 4 ของการกรีดเป็นต้นไป จึงสามารถกรีดชดเชยได้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันนี้ใช้ได้กับยาง เกือบทุกพันธุ์ ยกเว้นบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่ายเท่านั้นที่ควรใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้น วันเว้นสองวัน 
ข้อควรปฏิบัติในการกรีดยาง 
1. ควรกรีดยางตอนเช้าหลังจากที่มีแสงสว่างแล้ว 
2. กรีดยางเฉพาะต้นที่ได้ขนาดแล้ว 
3. รอยกรีดจะต้องเริ่มจากซ้ายบนมาขวาล่าง เอียงประมาณ 30 องศากับแนวระดับ 
4. อย่ากรีดเปลือกหนา เพราะจะทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหาย 
5. อย่ากรีดเปลือกหนา ภายใน 1 เดือน ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 2.5 เซนติเมตร หรือภายใน 1 ปี ไม่ควรกรีดให้เปลืองเปลือกเกิน 25 เซนติเมตร 
6. หยุดกรีดเมื่อยางผลัดใบหรือเป็นโรคหน้ายาง 
7. มีดกรีดยางต้องคมอยู่เสมอ 
8. การเปิดกรีดยางหน้าที่สองและหน้าต่อไปให้เปิดกรีดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร  
การกรีดยางหน้าสูง  
การกรีดยางหน้าสูง หมายถึง การกรีดยางหน้าบนเหนือหน้ากรีด ปกติซึ่งเป็นส่วน ที่ไม่เคยกรีดยางมาก่อน ต้นยางที่เหมาะสมที่จะทำการกรีดยางหน้าสูงคือ ต้นยางก่อนโค่นซึ่งมีอายุมาก หรือหน้ากรีดปกติเสียหาย 
โดยทั่วไปการกรีดยางหน้าสูงจะต้องใช้สารเคมีเร่งน้ำยาควบคู่กันไปด้วย เพื่อต้องการให้ได้รับยาง มากที่สุดก่อนที่จะโค่นยางเก่าเพื่อปลูกแทน 2-4 ปี โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางอีเทรล 2.5 เปอร์เซ็นต์ เป็นตัวเร่ง 
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง  
วิธีนี้เหมาะสำหรับต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ ทาเหนือรอยกรีดหน้าล่างทุก 3 สัปดาห์โดยไม่ต้องขูดเปลือกและลอกขี้ยาง แต่ต้องกรีดครึ่งต้น วันเว้นสองวันโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันการเกิดอาการ โรคเปลือกแห้ง ไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี เร่งน้ำยายางกับยางที่เพิ่งเปิดกรีดใหม่ ยกเว้นยางบางพันธุ์ที่มักจะให้น้ำยางน้อย ในช่วงแรก ของการเปิดกรีด เช่น พันธุ์จีที (GT) 1 อาจใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ทาในรอยกรีด โดยลอกขี้ยางออกก่อนจากที่เปิดกรีดไปแล้ว 1 เดือนก็ได้และทาสารเคมีเร่งน้ำยางทุก 3-4 เดือน หรือปีละ 3-4 ครั้ง ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นสองวัน แต่ในปีถัดไปถ้าผลผลิตสูงขึ้น แล้วควรหยุดใช้ สารเคมีเร่งน้ำยาง 
สรุปคำแนะนำการกรีดยางและการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง  
เรื่องคำแนะนำ
การเปิดกรีด
- ต้นติดตา- เปิดกรีดเมื่อเส้นรอบวงของลำต้นมีขนาดตั้งแต่ 50 เซนติเมตรขึ้นไป โดยวัดตรงบริเวณที่สูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร
- รอยกรีดทำมุม 30 องศากับแนวระดับ เอียงจากซ้ายบนลงมาขวาล่าง
- หน้าที่ 1 เปิดกรีดที่ระดับ 50, 75, 100, 125 หรือ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน ระดับใดระดับหนึ่งก็ได้ แต่หน้าที่ 2 และเปลือกงอกใหม่เปิดกรีดที่ระดับ 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน
ระบบกรีด
-กรีดยางหน้าล่าง- กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวันสำหรับ ยางทุกพันธุ์ยกเว้น บางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย เช่น พันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 628, พีบี 28/59, พีบี 5/63
-กรีดยางหน้าสูง- การกรีดมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ใช้ระบบกรีดขึ้นหนึ่ง ในสามของลำต้นวันเว้นวัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
- การกรีดน้อยกว่า 2 ปี ใช้ระบบกรีดขึ้นหนึ่งในสี่ของลำต้น 2 รอย กรีดสลับรอยทุกวัน ควบคู่กับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
- การกรีดหักโหม ( 6 เดือนก่อนโค่น) ใช้ระบบกรีด ขึ้นครึ่งลำต้น 2 รอยสลับวันกัน ควบคู่กับการใช้สารเคม ีเร่งน้ำยางเมื่อถึงเดือนสุดท้ายก่อนโค่น ให้กรีดทั้ง 2 รอยพร้อมกัน
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับการกรีดยางหน้าล่าง
-ใช้กัเปลือกงอกใหม่- ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ เหนือรอยกรีดทา เป็นรอยกว้าง 1.25 เซนติเมตรใช้ปีละ 3-4 ครั้ง
- ควรกรีดวันเว้นสองวัน
- ใส่ปุ๋ยเป็นประจำทุกปี
-ใช้กับเปลือกเดิม- ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ โดยวิธีลอกขี้ยางออกแล้วทาในรอยกรีด ใช้ปีละ 3-4 ครั้ง
- ควรกรีดวันเว้นสองวัน
- ทาสารเคมีเร่งน้ำยางทันทีที่ลอกขี้ยางเสร็จ
-การกรีดยางหน้าสูง- ทาสารเคมีเร่งน้ำยาง 2.5 เปอร์เซ็นต์ บนรอยขูดเปลือกในแนวตั้ง 3 รอย ความยาวของรอยที่ขูด 40-50 เซนติเมตร กว้าง 1.5 เซนติเมตร
- ทาทุก 1-2 เดือน

**ควรใช้เฉพาะกับยางพันธุ์จีที (GT) 1 ในช่วง 1-3 ปีแรกของการเปิดกรีด 

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง

ยางพาราจะสามารถปลูกได้และให้ผลดีถ้ามีสภาพแวดล้อมบางประการ ที่เหมาะสมดังนี้  
1. พื้นที่ปลูกยาง  
- ไม่ควรอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลเกิน 200 เมตร และไม่ควรมีความลาดเทเกิน 45 องศา หากจะปลูกยางในพื้นที่ที่มีความลาดเทเกิน 15 องศาขึ้นไป ควรปลูกแบบขั้นบันได  
2. ดิน  
- ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร โดยไม่มีชั้นของหินแข็งหรือดินดาน ซึ่งจะขัดขวางการเจริญเติบโตของราก เนื้อดินควรเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำและอากาศดี น้ำไม่ท่วมขัง ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 1 เมตร ไม่เป็นดินเค็มและมีความเป็นกรดเป็นด่าง 4.0-5.5  
3. น้ำฝน  
- มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,350 มิลลิเมตรต่อปี และมีฝนตกไม่น้อยกว่า 120 วันต่อปี  
4. ความชื้นสัมพันธ์  
- เฉลี่ยตลอดปีไม่น้อยกว่า 65 เปอร์เซ็นต์  
5. อุณหภูมิ  
- เฉลี่ยตลอดปีไม่แตกต่างกันมากนัก ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 24-27 องศาเซลเซียส  
6. ความเร็วลม  
- เฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตรต่อวินาที  
7. แหล่งความรู้  
- ควรมีแหล่งความรู้เรื่องยางไว้ให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่ด้วย

การเตรียมดิน

      เมื่อเผาปรนเสร็จให้เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ในกรณีที่เป็น พื้นที่ลาดเทมาก เช่น เนินเขาชันเกิน 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดหรือชานดิน เพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนชะล้างเอาหน้าดินไหลไปตามน้ำ อาจทำเฉพาะต้นหรือ ทำยาวเป็นแนวเดียวกัน ล้อมเป็นวงกลมรอบไปตามไหล่เขาหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานไปกับพื้นดิน ขั้นบันไดควรกว้างน้อยที่สุด 1.50 เมตร แต่ละขั้น ให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างขั้นบันไดประมาณ 8-10 เมตร

ชนิดของต้นพันธุ์ยาง

1. ต้นตอตา  
คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้ว จึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 ฝ นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก  
2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง  
คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 ฝ นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษา จนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่  
3. ต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง   
คือการปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก  
ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  
 

การใส่ปุ๋ย

สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดิน และอายุของ ต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3

    ตารางที่ 3 แสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง
ปุ๋ยสูตรที่
สูตรปุ๋ย
ชนิดของดิน
อายุของต้นยาง
 ปุ๋ยเม็ด
ปุ๋ยผสม
118-10-68-14-3ดินร่วน2 - 41 เดือน
218-4-513-9-4ดินร่วน47 - 71 เดือน
316-8-148-13-7ดินทราย2 - 41 เดือน
414-4-1911-10-7ดินทราย47 - 71 เดือน
5-15-0-18ดินทุกชนิดต้นยางหลังจากเปิดกรีดซึ่งเคยปลูกพืชคลุมดิน และใส่ปุ๋ยฟอสเฟต บำรุงพืชคลุมดิน
615-7-1812-5-14ดินทุกชนิดต้นยางหลังเปิดกรีด ซึ่งไม่เคยปลูกพืชคลุมดินมาก่อน


หมายเหตุ 
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด
- ดินทราย คือดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย
มีโปแตสเซียมต่ำ
-ดินร่วน คือดินที่มีเนื้อดินละเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ  
ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
- ปุ๋ยเม็ด คือปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ
ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
- ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น
นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น
ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วน
ที่แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางที่ 4
        ตารางที่ 4 แสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม
ปุ๋ยผสมสูตรที่ปริมาณธาตุอาหาร (%)น้ำหนักของแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสม (กิโลกรัม)
ไนโตรเจน (N)ฟอสเฟต 
(P2 O5)
โปแตสเซี่ยม (K2O)แอมโมเนียมซัลเฟต (21%N)ร้อคฟอสเฟต (25%P25)โปแตสเซี่ยมคลอไรด์
(60%K20)
1814338575
2139460346
38137365311
411107503812
515-1871-29
612514572023


หมายเหตุ - ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้ว ควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว

วิธีการใส่ปุ๋ย

วิธีการใส่ปุ๋ย 
วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถ ดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้ 
ใส่รองพื้น- นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง  ใส่แบบหว่าน - เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกัน การชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย  ใส่แบบเป็นแถบ - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถว ต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย  ใส่แบบเป็นหลุม - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้าง ของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเท และไม่ได้ทำขั้นบันได  นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยม ีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินมีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 

โรคและแมลงศัตรูยางพารา

1. โรครากขาว 
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่ 
ลักษณะอาการ 
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน 
การป้องกันและรักษา 
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด 
โรครากขาวได้ 
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง 
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป 
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย 



2. โรคเส้นดำ 
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น 
ลักษณะอาการ 
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้ 
การป้องกัน 
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น 
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้ 
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา 
การรักษา  
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ  ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย 


3. โรคเปลือกเน่า  
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้ 
ลักษณะอาการ 
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ 
การป้องกัน  
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง 
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น 


4. โรคเปลือกแห้ง  
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย 
ลักษณะอาการ  
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา 
การป้องกันและรักษา  
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ 
การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก 



5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า  
ลักษณะอาการ  
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย 
การป้องกันและรักษา   
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น 


6. ปลวก  
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู 
การป้องกันและรักษา  
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง 


7.   หนอนทราย  
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้  สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย 


8. โคนต้นไหม้  
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย 
การป้องกันและรักษา  
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล 


9. อาการตายจากยอด  
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี 
ลักษณะอาการ  
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน 
การป้องกันและรักษา  
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด 
 

ระยะปลูก

ระยะปลูก  
1. พื้นที่ราบ  
ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง  
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่  
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่  
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง  
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่  
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่  
2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา   
ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร  
เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม 

วิธีปลูก

การปลูกยางพาราจะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน 1. การปลูกด้วยต้นตอตา   
นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี  
2. การปลูกด้วยต้นยางชำถุง  
2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้   
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก  
2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ   
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

ระยะเวลาและอัตราการใส่ปุ๋ย

ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือน จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุ  
เกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางที่5 และ6  
ตารางที่ 5 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก
อายุ
ต้นยาง
(เดือน)
จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กรัมต่อต้น)
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
สูตร 1 (ดินร่วน)
และ
สูตร 3 (ดินทราย)
สูตร 2 (ดินร่วน)
และ
สูตร 4 (ดินทราย)
ปุ๋ยผสม
260 130ใส่รอบต้นรัศมี 30 เซนติเมตร
460 130ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
690 200ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
11120 260ใส่รอบต้นรัศมี 50 เซนติเมตร
14120 260ใส่รอบต้นรัศมี 60 เซนติเมตร
17120 260ใส่เป็นแถบในแถวยาง ห่าง  
จากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
23190 400
29190 400
35190 400
41190 400
47 250530
53 250530
59 250530
65 250530ใส่เป็นแถบกว้าง 2.5 เมตร  
ห่างจากโคนต้นยางข้างละ  
อย่างน้อย 50 เซนติเมตร
71 250530
77 250530
83 250530


ตารางที่ 6 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  
อายุต้นยางหรือเดือนที่ใส่ปุ๋ย
สูตรปุ๋ยที่ใช้กับชนิดของดิน
อัตราปุ๋ย (กรัมต่อต้น)
ดินร่วน
ดินทราย
ปุ๋ยเม็ด
ปุ๋ยผสม
1 เดือนหลังปลูก
ปุ๋ยเม็ด
18-10-6
หรือปุ๋ยผสม
8-14-3
ปุ๋ยเม็ด
16-8-14
หรือปุ๋ยผสม
8-13-7
45100
4 เดือน (ต.ค.)70150
11 เดือน (พ.ค.)90200
16 เดือน (ต.ค.)90200
23 เดือน (พ.ค.)135300
28 เดือน (ต.ค.)135300
35 เดือน (พ.ค.)135300
40 เดือน (ต.ค.)135300
47 เดือน (พ.ค.)
ปุ๋ยเม็ด
18-4-5
หรือปุ๋ยผสม
13-9-4
ปุ๋ยเม็ด
14-4-9
หรือปุ๋ยผสม
11-10-7
190400
52 เดือน (ต.ค.)190400
59 เดือน (พ.ค.)190400
64 เดือน (ต.ค.)190400
71 เดือน (พ.ค.)190400
76 เดือน (ต.ค.)190400


หมายเหตุ เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป   ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรกหลังจากที่ยาง 
ผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม  
ดังแสดงไว้ในตารางที่ 7  
ตารางที่ 7 แสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว  
เวลาที่ใส่ปุ๋ย
สำหรับยางที่
เปิดกรีดแล้ว
ชนิดของปุ๋ย
จำนวนปุ๋ยที่ใส่
(กรัมต่อต้น)
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยเม็ดปุ๋ยผสม
ครั้งที่ 1
-ใส่ต้นฤดูฝนประมาณ 
เดือนพฤษภาคม
ปุ๋ยผสมสูตร 5-   500   500500   600   -ใส่ทั่วแปลงยาง โดยหว่านให้ห่างจาก 
แถวยางประมาณ 1 เมตร
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6 
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ
ครั้งที่ 2
-ใส่ปลายฤดูฝนประมาณ 
เดือนกันยายน  
ถึงเดือนตุลาคม
ปุ๋ยผสมสูตร 5-500ใส่ทั่วแปลงยางโดยหว่านให้ให้ห่างจาก 
แถวยางประมาณ 1 เมตร
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6500600
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ500-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น