วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกดอกหน้าวัว

ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นของโลก จึงนับเป็นโชคดีของเกษตรกรไทยที่สามารถปลูกไม้ดอกที่มีความสวยแปลกตา การปลูกไม้ดอกพื้นเมือง อาจกระทำได้ง่ายเนื่องจากมีความคุ้นเคยอยู่ก่อน แต่การนำเอาไม้ดอกเขตร้อนชื้นจากต่างประเทศ เข้ามาปลูกนั้น จำเป็นต้องมีวิทยาการและเทคนิคที่เหมาะสม เนื่องจากนิสัยความต้อง การของไม้ดอกสกุลนี้ต่างจากไม้ดอกชนิดอื่นอย่างมาก
การปลูกดอกหน้าวัว
หน้าวัวและเปลวเทียนเป็นไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่มีการ ปลูกเป็นการค้าในเขตร้อนชื้น โดยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีเนื้อไม้อ่อนและมีอายุยืน ลำต้นตั้งตรง ความยาวของปล้องจะแตกต่างกันใปขี้นอยู่กับชนิดหรือพันธุ์ เมี่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้นและรากเหล่านี้จะเจริญยืดยาวลงสู่ เครื่องปลูกได้ก็ต่อเมื่อโรงเรือนมีความชื้นสูงพอ ลำต้นอาจเจริญเป็นยอดเดี่ยวหรือ แตกเป็นกอก็ได้ ใบมีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปหัวใจ ดังเช่นที่พบในหน้าวัว หรือ รูปพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปี และรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดดังที่พบใน เปลวเทียน แต่ไม่ว่าจะมีรูปร่างอย่างไรจะสังเกตเห็นว่าปลายใบแหลม ในพวกที่มี ใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแห ขณะที่พวกซึ่งมีใบแคบเส้นใบจะเรียงตัว คล้ายเส้นขนาน แต่ทั้งนี้เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน ดอกหน้าวัวและดอกเปลวเทียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศคือ ดอกแต่ละดอกจะมี ทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกมีลักษณะเป็นดอกช่อโดยดอกรูปสี่เหลี่ยมข้าว หลามตัดจะเรียงอัดกันแน่นอยู่บนส่วนที่เรียกว่าปลี ดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ สีของกลีบดอกมักจะเปลี่ยนไปเมื่อดอกบาน เช่น ในปลีของดอกหน้าวัว ส่วนใหญ่ จะพบว่า เมื่อดอกบาน สีของกลีบดอกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีขาว ส่าหรับ จานรองดอกซึ่งมีสีสันที่สวยงามนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือใบประดับที่ติดอยู่กับโคน ช่อดอกหรือปลี จานรองดอกอาจมีสีขาว ส้ม ชมพูอมส้ม ชมพู แดง ม่วง และ สีเขียว หรือบางครั้งอาจพบจานรองดอกที่มีสีเขียวและ สีอื่นปนกันก็ได้ ปกติจานรอง ดอกจะมีอายุการใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 7 วัน โดยจานรองดอกจะมีคุณภาพทั้งในด้านสี และอายุการใช้งานดีที่สุดเมื่อตัดในขณะที่ดอกจริงบานได้ครึ่งปลี ส่าหรับจานรอง ดอกของหน้าวัวที่เหมาะส่าหรับในการตัดดอกเพื่อการส่งออกนั้น ควรมีร่องน้ำตาตื้น หูดอกช้อนกันเพียงเล็กน้อย และขอบจานรองดอกต้องไม่ม้วนงอ เนื่องจากลักษณะ ดังกล่าวจะช่วยป้องกันไม่ให้จานรองดอกหักในระหว่างการบรรจุและการขนส่ง อนึ่งจานรองดอกและปลีควรชี้ไปในแนวเดียวกัน ส่าหรับจานรองดอกของดอก เปลวเทียนนั้น ควรอยู่ชิดกับโคนปลีและโอบรอบปลีเอาไว้

สายพันธุ์ของดอกหน้าวัว


สายพันธุ์ของดอกหน้าวัว

พันธุ์หน้าวัวของไทยที่มีผู้นิยมปลูกเพี่อตัดดอกคือพันธุ์ดวงสมร ซึ่งมี จานรองดอกสีแดง หน้าวัวพันธุ์นี้มีสีสดใส รูปร่างจานรองดอกสวยและให้ดอกดก แต่มีข้อเสียตรงที่ว่าจานรองดอกของหน้าวัวพันธุ์นี้มักมีรอยเว้าฉีกขาดในช่วง ที่สภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากพันธุ์ดวงสมรแล้วก็อาจจะมีผู้ปลูกพันธุ์ ผกามาศซึ่งมีจานรองดอกสีส้ม และพันธุ์ขาวนายหวานซึ่งมีจานรองดอกสีขาวอยู่บ้าง พันธุ์ไทยอื่น ๆ เช่น พันธุ์จักรพรรดิ์ แดงนุกูล กษัตริย์ศึก กรุงธน นครธน ศรีสง่า ผกาทอง ดาราทอง สหรานากง โพธิ์ทอง ประไหมสุหรี ผกาวลี ศรียาตราและ วิยะดานั้นไม่เป็นที่นิยมในการปลูกเพื่อตัดดอกนัก ส่าหรับหน้าวัวพันธุ์ต่างประเทศก็ มีผู้ปลูกอยู่บ้างเหมือนกัน ได้แก่พันธุ์ Nagai พันธุ์ Avo-Anneke พันธุ์ Sunset (ตั้งชื่อโดยคนไทยที่นำเข้า) และ พันธุ์ Dusty Rose เป็นต้น ส่าหรับพันธุ์เปลวเทียนที่ปลูกกันนั้นได้แก่พันธุ์ไทย 2 พันธุ์ด้วยกันคือ พันธุ์ภูเก็ตซึ่งมีจานรองดอกสีแดง และพันธุ์ลำปาง ซึ่งมีจานรองดอกสีชมพู ส่วนพันธุ์ ต่างประเทศที่นำเข้ามาปลูกเพี่อเป็นไม้กระถาง ได้แก่พันธุ์ ARCS ซึ่งมีจานรองดอก สีม่วง พันธุ์ Lady Jane ซึ่งมีจานรองดอกสีชมพู และ A. Amni-oquiense ซึ่งมี จานรองดอกสีม่วงอ่อน แม้ปัจจุบันพันธุ์ไม้ดอกสกุลหน้าวัวมีอยู่ค่อนข้างจำกัด แต่กรมส่งเสริมการเกษตรและมูลนิธิโครงการหลวงกำลังนำพันธุ์ต่างประเทศเข้ามา ศึกษาเพื่อเตรียมเผยแพร่ในอนาคตอัน

โรงเรือนที่ใช้ในการปลูกดอกหน้าวัว


โรงเรือนที่ใช้ในการปลูกดอกหน้าวัว

ธรรมชาติของไม้ดอกสกุลหน้าวัวต้องการสภาพที่มีความชื้นสูงและมีแสง แดดรำไร แต่ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ดังนั้นโรงเรือนจึงต้องมีความสูงไม่ต่ำ กว่า 3.0 เมตร หลังคาคลุมด้วยตาข่ายพลาสติกพรางแสงชนิดที่ยอมให้แสงผ่าน ได้ 20-30% โดยจะเลือกใช้ชนิดใดขี้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบริเวณดังกล่าว รอบ โรงเรือนควรปิดด้วยตาข่ายพรางแสงให้เว้นด้านบนไว้เล็กน้อย เพื่อระบายอากาศปัองกัน ไม่ให้อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไป พื้นโรงเรือนควรเก็บความชื้นได้ดี ขณะเดียวกันจะต้องระบายน้ำได้ดี ด้วย ดังนั้นพื้นโรงเรือนจึงอาจใช้อิฐมอญหรือกาบมะพร้าวปูพื้นก็ได้ อย่างไรก็ตาม อาจใช้พื้นคอนกรีตเพือความทนทาน โดยพื้นคอนกรีตที่สร้างขึ้นจะต้องทำร่อง ระบายน้ำให้สามารถขังน้ำไว้ช่วยเพิ่มความชื้นภายในโรงเรือนได้ด้วย พื้นโรงเรือนใน ลักษณะที่กล่าวมานี้จำเป็นมากส่าหรับการปลูกในกระถาง แต่การปลูกในแปลงไม่ จำเป็นต้องใช้พื้นโรงเรือนที่เก็บความชื้นได้ เนื่องจากเครื่องปลูกช่วยเก็บ

วิธีการปลูกดอกหน้าวัว


วิธีการปลูกดอกหน้าวัว

ไม้ดอกสกุลหน้าวัวสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกลงแปลง ส่าหรับ เกษตรกรไทยนั้นนิยมปลูกในกระถาง เนื่องจากสะดวกในการจำหน่ายต้นพันธุ์ อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะปลูกในกระถางหรือปลูกลงแปลง ควรเลือกเครี่องปลูกให้ เหมาะสม ส่าหรับในประเทศไทยเครื่องปลูกที่ดีที่สุดคือ อิฐมอญทุบขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง l.5 - 3.0 เชนติเมตร เพราะสามารถเก็บความชื้นได้ดีและมีความคงทน สูง นอกจากนี้การเลือกขนาดอิฐทุบที่เหมาะสม ยังทำให้สามารถควบคุมการระบาย อากาศได้ตามต้องการอีกด้วย อนึ่งการปลูกด้วยอิฐมอญทุบในสภาพที่ค่อนข้าง แห้ง อาจเติมถ่านแกลบหรือกาบมะพรัาวสับเพี่อช่วยเก็บความชื้นคัวยก็ได้ อย่างไรก็ ตาม ผู้ปลูกควรทดลองปลูกด้วยอิฐมอญทุบจำนวนน้อยต้นก่อน เนี่องจากคุณภาพดิน ที่ใช้ทำอิฐมอญชี่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช ด้วย นอกจากอิฐมอญทุบแล้วอาจใช้กาบมะพร้าวเป็นเครื่องปลูกก็ได้ แต่ต้องหมั่น เติมเครี่องปลูกบ่อย ๆ เพราะกาบมะพร้าวผุพังง่าย

การปลูกดอกหน้าวัวในกระถาง


การปลูกดอกหน้าวัวในกระถาง

กระทำได้ไดยวางอิฐหักเปิดรูระบายน้ำที่บริเวณก้นกระถางเสียก่อน จากนั้นวางโคนต้นบนเศษอิฐหักนั้น โดยให้ต้นอยู่ตรงกลางกระถางและรากกระจาย อยู่โดยรอบ นำอิฐมอญทุบขนาดใหญ่ที่แต่ละก้อนมีความยาวด้านละประมาณ 4 เชนติเมตร ใส่รอบโคนต้นประมาณครึ่งกระถาง แล้วนำอิฐมอญทุบที่มีก้อนขนาด เล็กกว่าเดิมครึ่งหนึ่งมาใส่จนมีระดับต่ำกว่าปลายยอดประมาณ 2 เชนติเมตร หรือ ใส่จนเต็มกระถางในกรณีที่ต้นค่อนข้างสูง หากโรงเรือนตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพ อากาศที่ค่อนข้างแห้ง อาจใส่ใยมะพร้าวบนผิวเครี่องปลูกเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่ม ชื้น ทั้งนี้การใช้จานรองกระถางก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความชื้นให้แก่พืชได้


การปลูกดอกหน้าวัวลงแปลง


การปลูกดอกหน้าวัวลงแปลง

กระทำได้โดยกั้นขอบแปลงด้วยอิฐบล็อกหรือตาข่ายกรงไก่ให้ มีความสูงราว 30 เซนติเมตร พื้นแปลงควรทำเป็นสันนูนมีลักษณะคล้ายหลังเต่าเพื่อ ให้น้ำสามารถระบายออกทางด้านข้างแปลงได้โดยไม่ขังแฉะ และควรใช้ผ้าพลาสติก ปูพื้นแปลงเพี่อปัองกันไส้เดือนดิน จากนั้นจึงใส่เครี่องปลูกลงในแปลงให้มีความ หนาประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เสร็จแล้วปักหลักลงในแปลง ผูกต้นให้ตั้งตรงและ โคนต้นชิดกับเครี่องปลูกโดยให้รากแผ่กระจายบนเครื่องปลูกแล้วจึงเติมเดรี่อง ปลูกลงไปคล้ายกับการปลูกในกระถาง คือใส่ให้มากที่สุดโดยไม่กลบยอด

โดยปกติแล้วการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวนี้ จะปลูกให้แต่ละต้นห่าง กันไม่น้อยกว่า 30 เชนติเมตร ซึ่งถ้าเป็นการปลูกในกระถาง ก็อาจปลูกในกระถาง ขนาด 12 นิ้วแล้วนำมาวางชิดกัน หลังจากปลูกแล้วจะต้องหมั่นเติมเครื่องปลูกอยู่ เสมอ อย่าปล่อยให้เครื่องปลูกอยู่ในระดับที่ห่างจากยอดเกิน 30 เซนติเมตร เพราะ การที่ยอดอยู่สูงเหนือเดรี่องปลูกมาก ๆ จะมีผลทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร


การดูแลรักษาดอกหน้าวัว


การให้น้ำ


ควรเลือกใบ้ระบบสปริงเกอร์หรือระบบน้ำเหวี่ยง โดยอาจใช้ระบบที่หัว พ่นน้ำตั้งบนพื้น การให้น้ำระบบนี้จะช่วยให้ความชื้นในโรงเรือนอยู่ในระดับ สูง ปกติจะให้น้ำวันละ 2 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะเปิดน้ำให้คราวละ 10 - 15 นาที การให้น้ำควรแบ่งทยอยเปิดน้ำภายในโรงเรือนเป็นส่วน ๆ ไปเพี่อรักษาความชื้น ในโรงเรือน ไม่ควรให้น้ำพร้อมกันทั้งโรงเรือน อนึ่งในช่วงที่มีสภาพอากาศ แห้ง อาจจะต้องให้น้ำถึงวันละ 3 ครั้ง


การให้ปุ๋ย


ควรให้ปุ๋ยเม็ดสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 โรยรอบชายพุ่ม หรือรอบโคนต้นเดือนละครั้ง ในอัตราต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ (20 กรัม) และอาจใช้ปุ๋ย เกร็ดละลายน้ำสูตร 15-30-15 หรือะ 17-34-17 อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) ฉีดพ่นเสริมให้ทุก 15 วัน จะช่วยให้ต้นเจริญเติบโตได้ดีและออกดอกดก


การตัดแต่ง


ควรตัดแต่งใบออกบ้างในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยตัดให้ เหลือเพียงยอดละ 3 - 4 ใบ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริเวณโคนต้นมีการระบายอากาศได้ดีขึ้นใน ช่วงฤดูฝน อีกทั้งการตัดใบจะช่วยให้มีโรคและแมลงลดลง โดยไม่ทำให้การเจริญ เติบโตหรือจำนวนดอกลดลงแต่อย่างใด


การขยายพันธุ์


ในการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัวเพื่อการค้านิยมการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัย เพศหรือที่เรียกว่าการขยายโคลน เพราะต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดมีโอกาสที่จะกลาย พันธุ์ไปจากต้นเดิมได้สูงมาก การขยายโคลนให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์เดิมอาจกระทำ ได้ดังนี้



การตัดดอก


เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก สามารถทำได้ทั้งในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าขนาด เล็กชึ่งได้จาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยี่อ และต้นขนาดใหญ่ที่สูงเกินไปคือ ยอดสูงกว่า เครื่องปลูกเกิน 60 เชนติเมตร โดยตัดให้มีใบติดยอดมาด้วยประมาณ 4 - 5 ใบ และหากมีรากติดยอดที่ตัดมาด้วย จะทำให้ต้นตั้งตัวและเจริญเติบโตเร็ว แต่ถ้าไม่มี รากติดยอดมาเลย ในช่วงแรกจะต้องนำยอดที่ตัดมานี้ไปชำไว้ในที่ซึ่งมีความชื้นสูง มากก่อน รอจนยอดแตกรากและรากมีขนาดใหญ่พอสมควรแล้ว จึงย้ายไปไว้ในโรงเรือนตามปกติ


การตัดหน่อ


นิยมตัดหน่อที่มีรากแล้ว 2-3 ราก ซึ่งหน่อที่ตัดนี้อาจเกิดมาจากโคนต้น ของพันธุ์ที่มีหน่อดอก หรือเกิดจากตอที่ตัดยอดและหน่อไปแล้วหรือเกิดจากการชำ การรีบตัดหน่อ ในขณะที่ยังมีขนาดเล็กจะทำให้ต้นตั้งตัวช้า จึงควรทิ้งให้หน่อมีขนาดใหญ่และมีรากพอสมควรก่อน



การปักชำ


วิธีนี้จะทำกับต้นตอที่เมื่อตัดยอดไปแล้วไม่เหลือใบติดอยู่ ซึ่งปกติจะ เป็นต้นที่มีอายุมากอาจปักชำทั้งต้นหรือตัดต้นเป็นท่อน ๆ ก่อนแล้วจีงนำไปปักชำ โดยที่แต่ละท่อนจะต้องมีข้อติดไปด้วยอย่างน้อย 3 ข้อ ในการปักชำจะต้องวาง ต้นให้ทำมุมกับวัสดุปักชำ 30-45 องศา โดยให้ตาหันออกด้านข้างเพราะจะทำให้ได้ หน่อในปริมาณมาก วัสดุปักชำอาจใช้อิฐมอญทุบละเอียด หรือทรายหยาบผสมถ่าน แกลบก็ได้ ควรปักชำในบริเวณที่มีแสงน้อยกว่าปกติ ถ้าเป็นการปักชำในกระบะชำ จะต้องควบคุมความชื้นให้อยู่ในระดับสูงอยู่เสมอแต่ไม่แฉะ



การเพาะเนื้อเยื่อ


วิธีนี้เกษตรกรจะต้องพึ่งบริการจากห้องปฎิบัติการเชิงการค้า โดยจะใช้ ใบอ่อนที่ยังม้วนอยู่ไปขยายพันธุ์ ซึ่งต้นพันธุ์ที่คัดเลือก ไว้เพื่อขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะ เลี้ยงเนื้อเยี่อนี้ จะต้องได้รับการดูแลรักษาเป็นพิเศษ คือในการรดน้ำจะต้องรด เฉพาะบริเวณโคนต้นเท่านั้น การขยายพันธุ์วิธีนี้จะกระทำในกรณีที่ต้องการต้นพันธุ์ ในปริมาณมาก เช่น10,000 ต้น ในเวลา 2 - 2.5 ปี อย่างไรก็ตาม ต้นพันธุ์ที่ได้จากการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยือจะมีขนาดเล็ก จึงต้องปลูกในบริเวณที่ร่มและมีความชื้นสูง โดย เฉพา อย่างยิ่งในระยะที่นำออกจากขวดใหม่ ๆ


การตัดดอก


ไม้ดอกสกุลนี้มีอายุการใช้งานค่อนข้างนาน คือไม่ควรต่ำกว่า 10 วัน ในระยะ ที่จานรองดอกเริ่มคลี่จะมีสีสดใสมากแต่ความสดใสจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ส่าหรับอายุการปักแจกันนั้นจะเพิ่มขึ้นเมื่อรอให้ดอกบานบนต้นนานขึ้นจนถึงระยะ ที่ปลีเปลี่ยนสีทั้งปลีแล้วจากนั้นอายุการปักแจกันของดอกจะลดลง ปกติระยะที่เหมาะสม ที่สุดในการตัดดอกคือในระยะที่ปลีเปลี่ยนสีหรือเกสรตัวเมียชูขึ้นเหนือดอกแล้ว ครึ่งปลี ซึ่งเมื่อตัดดอกแล้วควรจุ่มมีดในน้ำยาฆ่าเชื้อเช่น ฟายแชน -20 (Physan-20) ในอัตรา 5 ชีชีต่อน้ำ 1 ลิตร ทุกครั้ง เพื่อป้องกันกันการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ดอกที่ตัดมาแล้วก็ควรแช่ในน้ำสะอาดและวางไว้ในร่มก่อนที่จะจัดส่ง ไปจำหน่ายต่อไป ทิ้งนี้ต้องระวังอย่าวางดอกไว้ในที่แห้งโดยไม่แช่น้ำ

ศัตรูและการป้องกันกำจัด


ปกติไม้ดอกสกุลนี้มีศัตรูรบกวนน้อยมาก เนื่องจากสามารถผลิตสารเคมีมา ป้องกันตัวได้ อย่างไรก็ตาม หากจัดสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ก็อาจพบโรคและศัตรูบางอย่าง เช่น


โรคนี้หากไม่ได้เกิดจากการได้รับแสงมากเกินไป อาจเกิดจากเชื้อรา เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนส หรืออาจเกิดจากเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค ไฟทอพโธรา อาการของโรคแอนแทรคโนสจะสังเกตเห็นได้ชัดเพราะแผลจะแห้ง เป็นวงช้อนกันในขณะที่อาการใบแห้งจากโรคไฟทอพโธราจะไม่เป็นวง หากมีโรค ใบแห้งเกิดขึ้น ควรลดแสงเพิ่มความชื้นและการระบายอากาศให้มากขึ้น แล้วฉีดพ่น ด้วยอาลีเอท หากเป็นโรคไฟทอพโธรา หรือฉีดพ่นด้วยบาวิสติน หากเป็น

โรคแอนแทรคโนส


โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยจะทำให้เกิดอาการช้ำและไหม้ซึ่งอาจทำ ให้ต้นตายได้ โรคนี้จะแสดงอาการรุนแรงมากเมี่อมีความชื้นและอากาศไม่ถ่ายเท หากพบอาการในระยะเริ่มแรกควรนำต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลายเสียและฉีดพ่น ด้วยแคงเกอร์เอ๊กช์หรือสเตรป
1 คือใบที่แสดงอาการโรคใบแห้งที่เกิดจากเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไฟทอพโธรา
2 คือใบที่แสดงอาการโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ใบหนาและด้าน ใบจะมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ จึง ต้องรีบนำต้นที่มีอาการของโรคไปเผาทำลายทันที

พบทั้งไรแดงและไรขาว ซึ่งจะทำลายทั้งใบและจานรองดอก ทำให้ผิว ใบและจานรองดอกมีลักษณะด้าน หากพบอาการเข้าทำลายของไร ควรฉีดพ่นด้วย โอไมท์หรือกำมะถันหรือไวท์ออยล์

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าไม้ดอกสกุลหน้าวัวเลี้ยงดูง่าย ผู้ที่สนใจ อาจเลือกปลูกพันธุ์พื้นเมือง เช่น หน้าวัวพันธุ์ดวงสมร ผกามาศและขาวนายหวาน หรือ เปลวเทียนพันธุ์ลำปาง และภูเก็ต หรือเลือกพันธุ์ต่างประเทศจากรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือจากประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้

ตัวอย่างเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกดอกหน้าวัว



ตัวอย่างเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จจากการปลูกดอกหน้าวัว


คุณ ดำ อยู่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่ 8 ตำบลขุนกระทิง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร 86190 คุณดำ เรียนจบจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รุ่น 49 ปัจจุบันเขาปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน หน้าวัว รวมทั้งจำหน่ายปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อาทิ ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และอื่นๆ เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเกษตร สิ่งที่เกษตรกรหนุ่มทำอยู่ จึงมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก

สำหรับ หน้าวัว คุณดำ ปลูกเลี้ยงมาตั้งแต่ ปี 2544 ในพื้นที่ 3 ไร่ ด้วยกัน

ก่อน หน้านี้ งานปลูกเลี้ยงหน้าวัว ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะมีการคิดคำนวณตัวเลขแล้ว ผลตอบแทนต่อไร่ค่อนข้างมาก แต่เมื่อทำเข้าจริงๆ มีอุปสรรคไม่น้อย หลายคนเลิกราไป แต่สำหรับคุณดำแล้วยืนหยัดมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้มีอุปสรรคก็แก้ไขให้ลุล่วงได้

ถามถึงเรื่องการลงทุนก่อน ว่าตกไร่ละเท่าไร

นักเกษตรหนุ่มบอกว่า เมื่อก่อนลงทุนมากกว่าปัจจุบัน สาเหตุนั้น โครงสร้างโรงเรือนใช้เหล็กล้วนๆ ปัจจุบันมีการผสมผสานใช้เหล็กผสมผสานกับท่อ พีวีซี เรื่องของต้นพันธุ์นำเข้ามาจากฮอลแลนด์ สนนราคาต้นละ 120 บาท ต้นทุนโรงเรือนบวกกับต้นพันธุ์ เมื่อเริ่มแรกจึงตกไร่ละ 600,000 บาท (หกแสนบาทถ้วน) เมื่อผ่านปีที่ 5 ไปแล้ว ผู้ปลูกสามารถขยายพันธุ์เอง ต้นทุนช่วงหลังจึงตกไร่ละ 300,000 บาท

โรงเรือนที่ปลูกหน้าวัว มุงด้วยซาแรน ส่วนแปลงนั้นพูนดินให้เป็นรูปหลังเต่า แล้วปูด้วยพลาสติค จากนั้นทำขอบแปลงให้สูงขึ้น วัสดุปลูกดีที่สุดคือ ถ่าน สำหรับหน้าวัวที่ต้นอายุไม่มาก เมื่อเวลาผ่านไป ต้นสูงขึ้น เจ้าของบอกว่า ให้ใช้เปลือกมะพร้าวเป็นวัสดุปลูก ต้นจะได้ยึดไม่ล้มง่าย อีกอย่างต้นทุนการผลิตจะถูกลง เนื่องจากถ่านแพงกว่าเปลือกหรือกาบมะพร้าวอย่างแน่นอน

ระยะระหว่างต้นระหว่างแถวที่ปลูก ราว 1 ฟุต ไร่หนึ่งปลูกได้ประมาณ 10,000 ต้น

สายพันธุ์ที่ปลูกอยู่ มีดังนี้

สีแดง ได้แก่ พันธุ์ทรอปิคอล

สีเขียว ได้แก่ พันธุ์พิตาเช่

สีขาว ได้แก่ พันธุ์แชมเปญ

สีชมพู ได้แก่ พันธุ์เชียร์

ต้นพันธุ์ของหน้าวัว ปัจจุบันมีการสั่งเข้ามาน้อย ในเมืองไทย ถือว่ามีอยู่มากพอสมควร ผู้ที่สนใจปลูกหน้าวัว สามารถเสาะหาได้จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หน่วยงานทางราชการก็สนับสนุนผู้สนใจ ทั้งเรื่องวิชาการและปัจจัยการผลิต

คุณดำ บอกว่า การดูแลรักษาหน้าวัวไม่ง่ายนัก เพราะมีปัญหาเรื่องโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย หากพบต้องรีบกำจัด อาจจะกำจัดเป็นส่วนๆ ไป เช่น ระบาดในแปลงยาว 2 เมตร อาจจะยกไปทำลาย 3 เมตร บางครั้งอาจจะทั้งแปลง โรคอย่างอื่นก็มีสาเหตุที่เกิดจากเชื้อไฟทอปทอร่า ที่ทำให้ต้นเน่า ที่ผ่านมาคุณดำสามารถดูแลได้ แต่เน้นเรื่องของการป้องกันมากกว่า เช่น ก่อนที่จะเข้าไปชมแปลง มีอ่างน้ำยา ผู้ที่จะเดินเข้าไปในแปลงต้องจุ่มรองเท้าลงไปในน้ำยาก่อน เป็นการป้องกันขั้นพื้นฐาน เหมือนอย่างฟาร์มเป็ด ฟาร์มไก่ เขาทำกัน

เรื่องของการให้น้ำ หากเป็นหน้าแล้ง เจ้าของให้น้ำวันละ 3 ครั้ง หากเป็นหน้าฝน ที่ชุมพรฝนชุก สัปดาห์หนึ่งอาจจะไม่ต้องให้น้ำเลย

เรื่อง ของปุ๋ย เจ้าของให้ปุ๋ยละลายช้า สูตร 17-17-17 จำนวน 100 กรัม ต่อ 3 ตารางเมตร ระยะเวลา 4 เดือน ใส่ให้ครั้งหนึ่ง ปีหนึ่งใส่ให้ 3 ครั้ง

ตลาดและผลตอบแทน เป็นอย่างไรบ้าง

คุณ ดำ บอกว่า เดิมผลผลิตดอกหน้าวัวตนเองทำส่งญี่ปุ่น ราคาดอกละ 18-20 บาท แต่ขั้นตอนการบรรจุหีบห่อทำได้ยาก จึงจำหน่ายเฉพาะในเมืองไทยระยะหลัง โดยดอกส่งที่กรุงเทพฯ และภูเก็ต สนนราคาดอกละ 10 บาท ที่ชุมพรก็มีจำหน่ายบ้าง ราคาอาจจะย่อมเยาลง 5-6 บาท ต่อดอก ถือว่าราคาต่ำสุดแล้ว

“ผลผลิตหน้าวัว 3 ไร่ จำนวน 30,000 ต้น หักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือ 15,000-20,000 บาท ต่อเดือน ดอกหน้าวัวตอนนี้ไม่พอส่งตลาด การตัดดอก ตัดอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละ 1,000 ดอก สิ่งที่ผู้ปลูกท้อกันคือโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เป็นแล้วจะลามทั้งแปลง ต้องดูอย่างละเอียด เป็นนิดเป็นหน่อยต้องเอาไปทำลาย เรื่องของพันธุ์เมื่อเข้าปีที่ 4 เริ่มตัดขยายพันธุ์ คล้ายวาสนา ต้นเป็นข้อปล้อง เป็นพืชที่น่าลงทุน ตลาดไม่พอ ยังจำหน่ายได้ราคาดี กุหลาบยังขายได้ไม่เท่าหน้าวัว”

คุณดำ บอก และเล่าอีกว่า “ที่คนไม่ค่อยทำกันคือลงทุนสูงที่โรงเรือนและพันธุ์ รวมทั้งสู้โรคไม่ได้ คนมาดูกันบ่อยที่แปลงปลูกของผม ที่ผ่านมา คนมีเงินไปดูงาน ลงทุนเป็น 10 ล้าน เจ๊งก็มี มีคนมาดูงานที่ผมแล้วไปทำได้ผล เริ่มจากเล็กๆ น้อยๆ 2,000-3,000 ต้น แล้วค่อยๆ ขยาย ที่ชุมพร สุราษฎร์ฯ มีหลายแปลง เลิกปลูกไปก็มาก ของผมถือว่ารายได้เป็นรายเดือน”

คุณดำ บอกว่า งานปลูกหน้าวัวของตนเอง หากเปรียบเทียบกับงานทางด้านอื่น เช่น ทำทุเรียนนอกฤดูส่งต่างประเทศ ทุเรียนจะดูวูบวาบกว่า มีแรงจูงใจมากกว่า เพราะมีโอกาสรับทรัพย์ก้อนโต แต่โดยรวมแล้ว หน้าวัว ก็ยังน่าทำ เนื่องจากผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพียงแต่ต้องศึกษาว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ผลิตให้เหมาะสมก็จะอยู่ได้

โรคใบไหม้ ของหน้าวัว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris

เชื้อจะเข้าบริเวณขอบและใต้ใบ ทำให้เกิดจุดฉ่ำน้ำเล็กๆ สีน้ำตาล และมีสีเหลืองที่ขอบล้อมรอบแผล ไม่มีรูปร่างที่แน่นอน กระจายอยู่ทั่วไป อาการจะเด่นชัดด้านหลังใบ ขนาดของแผลจะแตกต่างกันออกไป บางครั้งจะเป็นเหลี่ยม และถูกจำกัดด้วยเส้นใบ หรือขยายออกไปตามแนวยาวของเส้นกลางใบ จนถึงขอบใบ ลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยม นอกจากนี้ ยังพบอาการแผลยาวสีน้ำตาลจากปลายปลีลงมาและลุกลามเข้าไปในก้านดอกและจาน รองดอกได้อีกด้วย หากใบที่เป็นโรคไม่ถูกตัดทิ้งในระยะเริ่มต้น เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปทั้งต้นพืช โดยผ่านทางท่อน้ำ ท่ออาหาร อาการต่อมาที่พบคือ ใบแก่ จะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองด้านๆ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อน้ำ ท่ออาหาร เมื่อผ่าตัดตามขวางจะเห็นท่อน้ำ ท่ออาหาร เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ก้านใบ ก้านดอก หลุดร่วงได้ง่าย

สภาพที่เหมาะต่อการระบาดนั้น มีเรื่องของความชื้น อุณหภูมิ ฝน หรือการให้น้ำถูกใบ อาจทำให้ใบเป็นแผลและเป็นทางให้แบคทีเรียเข้าทำลายได้ง่าย

นักวิชาการเกษตรแนะนำว่า ควรหาทางป้องกันโรคนี้ ดีกว่าให้ระบาดแล้วรักษาแนวทางป้องกัน ทำได้โดย

1. ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรค

2. ฆ่าเชื้อใบมีดสำหรับการตัดใบและตัดดอก โดยจุ่มในน้ำยาฆ่าเชื้อ

3. ไม่ควรปลูกพืชสกุลใกล้เคียงกันไว้ใกล้ๆ เช่น อะโกลนีมา ดิฟเฟนบาเกีย ฟิโลเดนดรอน บอน เดหลี เป็นต้น

4. ตัดแต่งใบให้ลมถ่ายเทได้สะดวก

5. หากเชื้อระบาด ควรถอนไปทำลายทิ้ง

6. ควรงดปุ๋ยไนโตรเจนชั่วคราว หากมีการระบาด

7. หากมีการระบาดควรพ่นด้วยสารสเตรปโตมัยซิน และสารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น