วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกและการดูแลรักษาสตรอเบอรี่ ( ในระบบไฮโดรโปรนิคส์ แบบปลูกในวัสดุปลูก )






ลักษณะทั่วไป
สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชหลายปี แต่โดยทั่วไปจะปลูกปีเดียวแล้วจะมีการปลูกใหม่ในปีถัดไป ลักษณะการเจริญเติบโต
จะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย สูงจากพื้นดิน 6-8 นิ้วทรงพุ่มกว้าง 8 -12 นิ้ว ระบบรากส่วนใหญ่อยู่ระดับลึกประมาณ 12 นิ้วจาก
ผิวดิน ลำต้นปกติยาว 1 นิ้ว ความยาวของก้านใบขึ้นกับพันธุ์ ขอบใบหยัก ใบส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ใบย่อย
ตาที่โคนของก้านใบจะพัฒนาเป็นตาดอกลำต้นสาขาไหลหรือพักตัว โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรองดอสีเขียวกลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองและเกสรตัวเมียเรียงอยู่บนฐานรอง
ดอก ซึ่งฐานรองดอกนี้จะพัฒนาเป็นเนื้อของผลส่วนเมล็ดอยู่ติดกับผิวนอกของผล ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม
ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาวทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขี้นอยู่กับพันธุ์
ผลจะมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน
กลิ่นหอมน่ารับประทาน

พันธุ์

* พันธุ์เพื่อการบริโภคสด ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 70 , 80 เบอร์50 และเบอร์20 , 329 เป็นต้น
* พันธุ์เพื่อการแปรรูป ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 และเซลวา , 329

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ทำได้หลายวิธีได้แก่

1. การใช้ไหล ขยายต้นไหลจากพันธุ์ที่สามารถให้ไหลได้ดี
2. การแยกต้น แยกต้นจากพันธุ์ที่ออกไหลไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกพันธุ์ป่า
3. การใช้เมล็ด ใช้ในกรณีที่มีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
4. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นขบวนการผลิตต้นไหลที่ปลอดโรค และสามารถขยายพันธุ์ให้มีปริมาณต้นไหลเพิ่มขึ้น
อย่างรวดเร็ว

การปลูกและการดูแลรักษา
ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก

ระยะปลูก

สำหรับระยะที่ใช้ปลูกจะใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 30 - 40 เซนติเมตร ระหว่างต้น 25 - 30 เซนติเมตร

วิธีการปลูก 

ปลูกโดยการปลูกในวัสดุปลูกคือ ทรายหยาบ + แกลบดิบปลูกให้พอดีกับขนาดของต้นไม่ลึกเกินไป
ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีตอนปลูกใหม่ เพราะอาจทำให้ระบบรากเสียหายและต้นตาย ได้ ควรปล่อยเฉพาะน้ำเปล่าๆ การปลูกต้นไหลนั้นระดับรอยต่อของรากและลำต้นจะต้องพอดีกับระดับของผิววัสดุปลูก ไม่ปลูกลึกหรือตื้นเกินไป
ถ้าปลูกลึก คือ ส่วนลำต้นจมอยู่ต่ำกว่าผิววัสดุปลูก หากเชื้อโรคเข้าทางยอดของลำต้นจะทำให้ยอดเน่า
ต้นเจริญเติบโตช้าและอาจถึงตายได้ ถ้าปลูกตื้น คือ ปลูกต้นไหลแล้วรากลอยขึ้นมาเหนือผิววัสดุปลูก ทำให้รากถูกอากาศและ
แห้ง ต้นเจริญเติบโตช้า ไม่สมบูรณ์ และอาจเป็นสาเหตุให้ต้นตายได้เช่นกัน การปลูกควรให้ขั้วไหลด้านที่เจริญมาจาก
ต้นแม่หันเข้ากลางแปลง เพื่อที่จะให้ผลสตรอเบอรี่ที่ผลิตออกมาอยู่ด้านนอกของแปลงได้รับแสงแดดเต็มที่
ทำให้รสชาติดี สะดวกในการเก็บเกี่ยวและลดปัญหาเรื่องโรคของผลได้ ปลูกหลุมละ 1 ต้น การใช้ต้นไหลที่ผ่าน การเกิดตาดอกจากพื้นที่สูงจะทำให้ได้ผลผลิตเร็ว และมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
เมื่อปลูกต้นไหลแล้ว ระยะตั้งแต่เดือนตุลาคมไปจนถึงประมาณเดือนธันวาคม ต้นไหลบางพันธุ์จะผลิตส่วนไหลออก
มาเรื่อยๆ ให้เด็ดหรือตัดส่วนไหลออกให้หมดทุกต้น ไม่ควรเลี้ยงไหลไว้เพื่อใช้ปลูกต่อไป เพราะจะทำให้ต้น
ที่ย้ายปลูก (ต้นเดิมที่นำลงมาจากภูเขา)สร้างตาดอกรุ่นต่อมาช้าลง และทำให้ต้นโทรม ขาดความแข็งแรงได้
นอกจากนี้ยังจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตรวมทั้งแปลงอีกด้วย

การให้น้ำ + การให้ปุ๋ย

เนื่องจากเป็นการปลูกระบบไฮโดรโปรนิคส์ ทั้งน้ำและปุ๋ยจะมาพร้อมกันในระบบน้ำหยด ซึ่งควบคุมด้วยตัวตั้งเวลาให้น้ำวันละ 4 ครั้ง
การกำจัดวัชพืช

การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร
ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่า
สม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่งใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ
และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้
เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

โรค แมลง และศัตรูพืช

สตรอเบอรี่เป็นพืชหนึ่งที่มีโรค แมลง และศัตรูรบกวนมาก นับตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว
การป้องกันตั้งแต่ระยะแรกจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรคของสตรอเบอรี่บางโรคการป้องกันไม่ให้เกิดโรค
จะสามารถทำได้ง่ายกว่าการกำจัดหลังจากที่โรคระบาดทำความเสียหายแล้ว เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส

การป้องกันไม่ให้โรคและแมลงเข้าทำลายส่วนต่างๆของสตรอเบอรี่ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ต้านทานโรค
ใช้ต้นไหลที่แข็งแรงจากต้นแม่พันธุ์ที่ปลอดโรคและต้านทานโรค ซึ่งได้จากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การจัดการเขต
กรรมที่ดี มีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม การป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี ก็จะสามารถลดปัญหาการเข้า
ทำลายของศัตรูสตรอเบอรี่ได้ระดับหนึ่ง ส่วนการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูสตรอเบอรี่นั้น เกษตรกรควรใช้เป็น
ทางเลือกสุดท้าย เพราะการใช้สารเคมีอย่างไม่ถูกต้องและเหมาะสม จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งของเกษตรกร
และผู้บริโภค
โรคสตรอเบอรี่ที่สำคัญ

1.โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหงิก ย่น หรือมีอาการใบด่าง ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น ต้นเตี้ย แคระแกรน
ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่นขนาดใบเล็กกว่าปกติ ต้นพืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดลง
พบว่าแมลงพวกปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะของโรค โรคนี้เมื่อเกิดแล้ว
ไม่สามารถรักษาให้หายได้ นอกจากการป้องกันโดยคัดเลือกกล้าที่ไม่เป็นโรค ซึ่งเกิดจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้จากวิธีการ
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูก ทำการอบดินเพื่อทำลายไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะของโรคไวรัส กำจัดแมลงพวกเพลี้ยไฟ
เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เมื่อพบว่ามีต้นที่แสดงอาการผิดปกติดังกล่าวให้ขุดออกไปเผาทำลายทันที
และการบำรุงพืชให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยต้านทานเชื้อโรคได้

การป้องกันกำจัดแมลงพาหะของเชื้อไวรัส

* ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่นเพื่อขับไล่และยับยั้งการกินอาหาร การเจริญเติบโตของแมลง ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ
* ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง วิธีการนี้สามารถดักจับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ ผีเสื้อต่างๆที่เป็นตัวแก่
ของศัตรูพืช ทำให้ลดปริมาณศัตรูพืชลงได้

สูตรผสมของกาวเหนียว

1. น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี.
2. ยางสน 100 กรัม
3. ขี้ผึ้งคาร์นาว่า 10 - 12 กรัม

วิธีทำ นำน้ำมันละหุ่งมาใส่ภาชนะตั้งไฟให้ร้อน มีไอขึ้นที่ผิวหน้า แล้วจึงทยอยใส่ผงยางสนและขี้ผึ่งคาร์นาว่าลงไป
ใช้ไม้พายคนให้เข้ากันจนละลายหมด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที อย่าใช้ไฟแรงนักเพราะจะทำให้ยางสนไหม้ หลังจากนั้น
ยกภาขนะลงวางในถังหรือกาละมังที่ใส่น้ำแข็งทุบเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อให้ได้รับความเย็นอย่างรวดเร็ว จากนั้นบรรจุใส่
ภาขนะปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้งาน

วิธีใช้ ใช้ภาชนะที่ใช้แล้ว เช่น กระป๋องน้ำมันเครื่องหรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง (สีเหลืองจะช่วยดึงดูดแมลงตัวเต็มวัย
ให้บินเข้ามาติดกับดักและตาย) หุ้มด้วยพลาสติกใส เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนกาวเมื่อกาวแห้งหรือปริมาณของแมลง
หนาแน่น ทากาวเหนียวด้วยแปรงทาสีให้รอบ แล้วใช้แผ่นเหล็กหนาครึ่งหุนขนาด 1*3 นิ้ว ปาดกาวให้กาวติดบางที่สุด
ไม่ให้ไหลเยิ้มเพื่อเป็นการประหยัดกาวที่ใช้

กาววางกับดักกาวเหนียวสีเหลือง ควรวางให้อยู่ระดับสูงเหนือยอดต้นสตรอเบอรี่ประมาณ 1 ฟุต ในฤดูหนาวซึ่งมีการ
ระบาดของแมลงน้อย อาจวางกับดัก 15 - 20 กับดัก/ไร่ แต่ในฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งจะมีการระบาดของแมลงศัตรูพืช
ควรวางกับดัก 60 -80 กับดัก/ไร่

2. โรคแอนแทรคโนส (โรคกอเน่า) เกิดจากเชื้อราคอลเล็คโตตริคัม จะแสดงอาการเริ่มจากแผลเล็กๆสีม่วงแดงบน
ไหล แล้วลุกลามไปตลอดความยาวของสายไหล แผลที่ขยายยาวมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
รอบนอกของแผลเป็นสีเหลืองอมชมพูซีด แผลที่แห้งเป็นสีน้ำตาลทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล
ต้นไหลอาจจะยังไม่ตาย แต่เมื่อย้ายต้นไหลที่มีการติดเชื้อลงมาปลูกบริเวณพื้นราบ หากสภาพอากาศเหมาะสมกับ
การเจริญเติบโตของเขื้อ(อากาศร้อนชื้น) สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉาและต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว
พบว่าเนื้อเยื่อส่วนกอด้านในมีลักษณะเน่าแห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตาย
ในที่สุด โรคนี้สามารถเกิดที่ผลสตรอเบอรี่ได้ด้วย พบอาการเป็นแผลลักษณะวงรี สีน้ำตาลเข้ม แผลบุ๋มลึกลงไปใน
ผิวผล เมื่ออากาศชื้นสามารถมองเห็นหยดสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์ขยายพันธุ์ของเชื่อราอยู่ในบริเวณแผล

การป้องกันกำจัด ในฤดูกาลผลิตผลสตรอเบอรี่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ควรวางแผนจัดการในการผลิต
ต้นไหลให้ปราศจากเชื้อโรคทั้งที่เป็นอาการแบบต่างๆของโรคแอนแทรคโนสที่ปรากฎให้เห็น ได้แก่ อาการโรคใบจุดดำ
ขอบใบไหม้ แผลบนก้านใบ และแผลบนสายไหลตลอดจนต้นไหลที่มีการติดเชื้อแบบแฝง
โดยที่ต้นไหลยังแสดงอาการปกติ แต่จะตายเมื่อมรการย้ายลงมาปลูกบริเวณพื้นที่ราบ ในสภาพอากาศเหมาะสมกับ
การเจริญของเชื้อ

3.โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรารามูลาเรีย โรคนี้จะปรากฎกับต้นแม่และต้นกล้า พบอาการระบาดรุนแรงในแปลงที่ปลูกกัน
มานาน การควบคุมโรคไม่ดีพอ แปลงที่มีวัชพืชมาก อาการเริ่มแรกจะเห็นแผลขนาดเล็กสีม่วงแก่บนใบ
ต่อมาแผลขยายขนาด รอบแผลสีม่วงแดง กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงขาวหรือเทา แผลค่อนข้างกลมคล้ายตานก
สีอาจเปลี่ยนไปบ้างแล้วแต่ความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของพืช อาการอาจปรากฎบนก้านใบ
หรือบางครั้งพบอาการที่ผลด้วย

การป้องกันกำจัด ถ้าพบอาการของโรคที่ใบให้เด็ดใบที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้บริเวณแปลงปลูก
เพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของโรคต่อไป บำรุงพืชให้แข็งแรงในระยะปลูกเพื่อผลิตไหล อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรก
เพราะวัชพืชเป็นแหล่งอาศัยของโรค ควรดูแลความสะอาดของแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน

4. โรคเหี่ยว เป็นผลมาจากอาการรากเน่าโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า จะพบการตายของราก โดยเริ่มจาก
ปลายรากแล้วลุกลามต่อไปรากแขนงจะเน่าบริเวณท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีแดง อาการเน่าสามารถลามขึ้นไปจนถึง
โคนต้น ถ้าหากอาการไม่รุนแรงพืชจะแสดงอาการเพียงแคระแกรน แต่ถ้าอาการรุนแรงจะเหี่ยวทั้งต้น
ใบเป็นสีเหลืองจนถึงสีแดง และทำให้พืชตายได้ภายใน 2 - 3วัน เมื่อถอนต้นดูพบว่าก้านใบจะหลุดออกจากกอได้ง่าย
ท่อลำเลียงภายในรากถูกทำลายจนเน่าทั้งหมด

การใช้สารเคมีควบคุมโรคสตรอเบอรี่

สารฆ่าเชื้อราส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายหรือมีน้อยมากต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แต่บางชนิดอาจมีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง
(ผู้ฉีดพ่นสารเคมี) และบางชนิดอาจมีผลต่อการเกิดเซลมะเร็ง (ผู้บริโภค) ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบกันแต่ชัด ดังนั้น
การใช้สารเคมีจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว โดยเลือกชนิดที่ไม่ปรากฎคราบของสารบนผล
และดูค่าความปลอดภัยจาก LD50 (คือ ค่าของระดับความเป็นพิษที่หนูตาย 50 เปอร์เซนต์ (มก./กก.ของน้ำหนักตัว)
สารที่มีค่าLD50 ต่ำจะเป็นสารที่มีพิษร้ายแรงกว่าสารที่มีค่า LD50 สูง) ในการฉีดพ่นทุกครั้ง?

ศัตรูสตรอเบอรี่ที่สำคัญ

1. ไรสองจุด เป็นศัตรูที่สำคัญของการผลิตผลสตรอเบอรี่ ไรจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบสตรอเบอรี่โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบ
ทำให้ผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายมีลักษณะกร้าน ใต้ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ผิวใบด้านบนจะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็กๆ
กระจายอยู่ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาวเล็กๆเหล่านี้จะค่อยๆแผ่ขยายติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง
จนทำให้ทั่วทั้งใบมีลักษณะเหลืองซีด ใบร่วง เป็นผลทำให้สตรอเบอรี่ชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน
ให้ผลผลิตน้อยลง พบระบาดมากในสภาพอากาศแห้งความชื้นต่ำ

ไรสองจุด

ความสูญเสียระดับเเศรษฐกิจเนื่องจากการทำลายของไรสองจุดบนใบสตรอเบอรี่ในหน้าหนาว คือ 20 -25 ตัว/ใบ
แต่ในหน้าร้อนจะอยู่ที่ 50 ตัว/ใบ การป้องกันให้ใช้สารฆ่า"รโปรปาไจท์ ฉีดพ่นในช่วงที่ไม่มีแสงแดดจัด
และควรสลับชนิดของสารฆ่าไรเพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบครอบจักรวาล
ให้เลือกใช้สารที่จำเพาะเจาะจงและเป็นสารที่มีพิษย้อยต่อตัวห้ำตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของไรสองจุด
ที่พบในแปลงสตรอเบอรี่ ได้แก่ ไรตัวห้ำ ซึ่งมีรายงานค้นพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถควบคุมไรสองจุดได้ดี
นอกจากนั้น การให้น้ำแบบใช้สปริงเกอร์จะช่วยลดประชากรไรได้ เพราะจะเป็นการชะล้างไรให้หลุดจากใบพืช ชะล้าง
ฝุ่นละอองที่ไรชอบหลบอาศัยอยู่ และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้ชุ่มชื้น เหมาะกับการอยู่อาศัยของศัตรูธรรมชาติ
ของไร หมั่นทำความสะอาดแปลง ไม่ให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงปลูก และไม่ควรปลูกพืชผักโดยเฉพาะ เช่น กระเทียม
ขึ้นฉ่าย แซมในแถวปลูกสตรอเบอรี่ เพราะเป็นการเพิ่มพืชอาศัยให้ไรสองจุด

2. หนอนด้วงขาว เป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง ตัวสีขาว ปากมีลักษณะปากกัด สีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่
ใต้ดิน จะเริ่มกัดกินรากสตรอเบอรี่ในช่วงปลายฤดูฝน ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้ เมื่อใบคายน้ำจึงทำให้ใบเหี่ยว
รูใบปิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบ การสังเคราะห์แสงจะลดลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่อ่อนแอ
ชงักการเจริญเติบโต เมื่อพบอาการดังกล่าวให้ขุดหาหนอนแล้วทำลาย ในการเตรียมแปลงให้ย่อยดินให้ละเอียด
โดยเฉพาะพื้นที่เปิดใหม่ใกล้ป่าหรือใกล้กองปุ๋ยหมัก ใช้สารเคมีประเภทคลอร์ไพริฟอสราดบริเวณที่พบ
สารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีกำจัดแมลงประเภทสัมผัสและกินตาย มีพิษตกค้าง 20 - 25 วันในดิน

หนอนด้วงขาว

3. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด จะดูดน้ำเลี้ยงของใบ ก้านใบ ด้านท้ายลำตัวเพลี้ยอ่อนมีท่อยื่นออกมา 2 ท่อ
ใช้ปล่อยสารน้ำหวานเป็นอาหารของเชื้อรา ทำให้พืชสกปรกเกิดราดำ พืชสังเคราะแสงได้ลดลง
ทำให้ชงักการเจริญเติบโต ใบหงิกย่น เพลี้ยอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามส่วนยอดช่อดอกและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว

นอกจากศัตรูดังกล่าวแล้ว บางพื้นที่ยังพบว่าทากและหนูเป็นศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายผลสตรอเบอรี่ได้

การติดดอกออกผล และ การเก็บเกี่ยว

ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงและช่วงแสงของวันสั้นเข้า คือ
ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากปลูก เมื่อดอกบานมีการผสมเกสรแล้วประมาณหนึ่งเดือน ผลจะเริ่มทยอยแก่พร้อมที่จะเก็บ
เกี่ยวได้ โดยผลสุกมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและจะวายประมาณปลายเดือนเมษายน

สตรอเบอรี่นอกจากเป็นอาหารแล้วยังใช้เป็นสมุนไพรได้ เนื่องจากผลสตรอเบอรี่อุดมด้วยวิตามินซีและธาตุเหล็ก
มีคุณประโยชน์ต่อระบบเลือดและหัวใจ ลูกสีแดงสดอุดมด้วยซูเปอร์ไฟเบอร์เพคติน ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณ
โคเลสเตอรอลได้ระดับหนึ่ง นอกจากนั้นยังช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้สะดวก มีสรรพคุณเป็นยาระบายอย่าง
อ่อน ยาขับปัสสาวะและสามารถยับยั้งสารก่อมะเร็งกลุ่มไนโตรซามึนได้ (สารกลุ่มนี้กระตุ้นการเกิดมะเร็งในลำไส้)
เนื่องจากมีโพลีฟินอลปริมาณสูง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น