วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การจัดการสวนแบบเกษตรอินทรีย์

การปลูก การดูแลรักษาและการจัดการสวนผักตระกูลสลัดผสมผสานอินทรีย์

ครอบครัวคุณปิยะทัศน์และคุณทิพวัลย์ ปลูกผักตระกูลสลัดเพื่อจำหน่ายเป็นพืชหลักตลอดปี ร่วมกับการปลูกผักและพืชสมุนไพรอื่นๆ หลากหลายชนิดเสริมรายได้ การจัดการจึงมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด และตามฤดูกาลผลิต ดังนี้
1) เลือกผักตระกูลสลัด พืชผัก และสมุนไพร ที่แปลกใหม่และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป
2) ปรับและปรุงดินให้ร่วนซุยและอุดมสมบูรณ์ ด้วยปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ แกลบและฟางข้าวอย่างต่อเนื่อง
3) ปลูกพืชหมุนเวียนปรับเปลี่ยนไปทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว โดยเลือกพืชต่างชนิดและต่างตระกูล เพื่อลดปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลง การจัดรอบการปลูกพืชผักยังผันแปรตามฤดูกาลและความต้องการของผู้บริโภคด้วย ทั้งนี้เพื่อให้มีผลผลิตที่หลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการของตลาด

ตาราง การจัดรอบการปลูกผักตระกูลสลัดผสมผสานร่วมกับพืชหลากหลายชนิด
การจัดรอบการปลูกพืชผักในแต่ละแปลงปลูก          ฤดูหนาวการจัดรอบการปลูกพืชผักในแต่ละแปลงปลูก        ฤดูฝนและฤดูร้อน
รอบปลูกที่ 1รอบปลูกที่ 1
สลัดคอสผักปัง
รอบปลูกที่ 2รอบปลูกที่ 2
สลัดกุหลาบพืชตระกูลสลัด
รอบปลูกที่ 3รอบปลูกที่ 3
ขึ้นฉ่าย หรือ หอม หรือ ผักชีลาวหอม หรือ หญ้าปักกิ่ง หรือ ผักชีลาว
รอบปลูกที่ 4รอบปลูกที่ 4
สลัดแก้วพืชตระกูลสลัด
รอบปลูกที่ 5รอบปลูกที่ 5
สลัดม่วงผักปัง หรือ บวบ
5) ทดลองปลูกพืชผักนอกฤดูการผลิตหรือปลูกตลอดปี เช่น ปลูกพืชตระกูลสลัดในฤดูฝน แม้จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ทำหลังคากันฝน ตลอดรวมถึงสลัดจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตต่ำกว่าฤดูหนาว 3-4 เท่าก็ตาม ทั้งนี้เพราะครอบครัวคุณปิยะทัศน์ เป็นห่วงผู้บริโภคที่เจ็บป่วยที่ต้องบริโภคผักอินทรีย์เท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพการผลิต การจัดการ และการเรียนรู้ลักษณะการเจริญเติบโตของพืชของพืชแต่ละชนิดในสภาพที่สภาวะแวด ล้อมแตกต่างกัน ซึ่งผลจากการทดลองแต่ละครั้งล้วนมีประโยชน์ต่อการปลูกพืชในครั้งต่อไป
6) เลือกชนิดพืชปลูกที่จะสร้างรายได้หลักให้เหมาะสมกับฤดูกาลผลิตและการเจริญ เติบโตของพืช เช่น ฤดูหนาวเลือกปลูกพืชตระกูลสลัดเป็นพืชหลัก ส่วนฤดูฝนและฤดูร้อนเลือกปลูกผักปังเป็นพืชหลัก และปลูกบวบ หอมสด หญ้าปักกิ่ง และจินกุยฉ่าย เป็นพืชรอง แล้วจึงปลูกพืชผักอื่นๆ เสริมรายได้
7) การปรับอัตราปุ๋ยให้เหมาะสมกับระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน เนื่องจากดินได้รับการปรับปรุงด้วยปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์มานานกว่า 5 ปี จึงเกิดการสะสมอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืชมากขึ้น มีความเป็นกรดด่างเหมาะสมต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารพืช ดังนั้นคุณปิยทัศน์จึงลดอัตราปุ๋ยน้อยลงกว่า 1-2 ปีแรก ฤดูฝนจะใส่ปุ๋ยถี่และมากกว่าฤดูหนาว เพราะปุ๋ยบางส่วนถูกชะล้างออกไป
8) การใส่ปุ๋ยอินทรีย์จะมีความแตกต่างกันไปตามชนิดพืชผัก ระยะการเจริญเติบโตและฤดูการผลิต สำหรับผักตระกูลสลัดจะใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมการเตรียมดิน และครั้งที่สองใส่หลังต้นกล้าตั้งตัวได้แล้ว ซึ่งเดิมใส่ปุ๋ยหมักอินทรีย์เพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันนำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดมาใช้ร่วมด้วยมีเวลาในการผลิตปุ๋ยเองน้อย ลง ประกอบกับดินได้รับการปรับปรุงจนมีความอุดมสมบูรณดีแล้ว อย่างไรก็ตาม เทคนิคการจัดการปุ๋ยในแต่ละรอบการผลิตอาจมีความแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแวดล้อม ที่กล่าวมาจึงเป็นเพียงแนวทางหนึ่งที่ผู้สนใจสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม กับตนเองต่อไป
9) การรดน้ำหมักชีวภาพสำหรับพืชผักและสมุนไพร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผักกินใบ จึงรดด้วยน้ำหมักใบพืชสีเขียวเป็นหลัก ผสมเสริมด้วยน้ำหมักหอยเชอรี โดยจะใช้อัตราส่วนน้ำหมัก 200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ซึ่งความถี่ในการรดน้ำหมักสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ โดยจะลดความเข้มข้นและความถี่ในการรดน้ำหมัก เมื่อพืชผักยังเจริญเติบโตดี แต่มีข้อควรระวัง คือ หากรดน้ำหมักเร่งดอกผล (น้ำหมักจากผลไม้) จะทำให้ผักกินใบหยุดชะงักการเจริญเติบโตด้านลำต้นแทนการเจริญเติบโตด้านลำ ต้น
10) ระยะปลูก ฤดูฝนระยะปลูกผักจะต้องถี่กว่าฤดูหนาว เพื่อเพิ่มจำนวนต้นต่อพื้นที่ปลูก เพราะผักตระกูลสลัดมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ ซึ่งการปรับระยะปลูกให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อพื้นที่ได้
11) อายุการเก็บผลผลิตพืชผักแต่ละชนิดจะผันแปรตามฤดูกาลผลิต ความต้องการของตลาดและปริมาณผลผลิตผักจากสวน  ฤดูหนาวผักสลัดเจริญเติบโตเร็ว จึงมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ในขณะที่ฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้ช้าตามลักษณะการเจริญเติบโต  หากผักขาดตลาดและ/หรือมีปริมาณผักไม่เพียงพอ จะแบ่งเก็บผลผลิตที่เจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ไปจำหน่ายเพื่อรักษาลูกค้า และทยอยเก็บผลผลิตไปเรื่อยๆ จนกว่าผลผลิตจะหมดแปลง
12) วิธีการเก็บ และการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ช่วงแดดอ่อนๆ ในตอนเย็นเป็นเวลาที่เหมาะสมต่อการเก็บผลผลิต ผักทุกชนิดต้องนำมาตัดแต่งและล้างให้สะอาดแล้วนำใส่เข่งคลุมทับด้วยผ้าชุบ น้ำ
13) การศึกษาถึงคุณค่าของพืชผักและสมุนไพรที่ตนเองปลูกและจำหน่ายเป็นสิ่งสำคัญ ยิ่ง พร้อมต้องทดลองชิมและปรุงอาหารจากพืชผักเหล่านั้น เพราะจะทำให้ผู้ผลิตมีความมั่นใจต่อคุณภาพสินค้าของตนเองพร้อมทั้งสามารถที่ จะอธิบายให้กับผู้บริโภคได้เข้าใจถึงสรรพคุณของพืชผักและสมุนไพรนั้นได้เป็น อย่างลึกซึ้ง หากมีเอกสารอ้างทางวิชาการจะยิ่งช่วยทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นต่อ ผลิตภัณฑ์ และย้อนกลับมาซื้อสินค้าเพื่อบริโภคตลอดไป
14) พืชสมุนไพรเป็นอีกกลุ่มพืชหนึ่งที่มีแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคเพิ่ม สูงขึ้น ด้วยผู้บริโภคสนใจรับประทานอาหารและสมุนไพรเพื่อสุขภาพมากขึ้น สมุนไพรได้รับความนิยม เช่น หญ้าปักกิ่ง จิงกุยฉ่าย และว่านหางจระเข้ เป็นต้น
15) การปลูกไม้ผลช่วยเพิ่มความหลากหลายของผลผลิตและสร้างรายได้ทดแทนในช่วงฤดู ร้อน ซึ่งผักเจริญเติบโตให้ผลผลิตน้อย ประกอบกับไม้ผลต้องการความละเอียดในการดูแลรักษาน้อยกว่าพืชผัก ผลไม้ที่โดดเด่น ได้แก่ มะม่วงโชคอนันต์ มันขุนศรีและมะม่วงพันธุ์ลูกผสม เป็นต้น
16) การปลูกพืชผักอินทรีย์ มักพบการระบาดของแมลงเข้าทำผลผลิต ซึ่งบางครั้งไม่สามารถที่จะควบคุมได้ นอกจากนี้ยังพบอาหารขาดธาตุอาหารพืชเมื่อดินมีสภาพเป็นด่าง (ค่า pH > 7) โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ที่จะแสดงอาการสีเหลืองซีสของใบยอด อย่างไรก็ตาม ขอให้เรายอมรับธรรมชาติ และจัดการกับปัญหาด้วยความรอบคอบ เราย่อมมีความสุขและสนุกกับงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น