วันว่างๆๆๆๆๆๆ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การปลูกพลับ


 
 
พลับเป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกเป็นอาชีพอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญเนื่องจากมีศักยภาพทางการตลาด และเหมาะสมสำหรับปลูกบนพื้นที่สูงมาก

 
 1. การปลูกพลับในประเทศไทย
                ประเทศไทยเริ่มปลูกพลับมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 แต่การปลูกพลับเป็นการค้าเริ่มจากมูลนิธิโครงการหลวงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำ พลับพันธุ์ต่างๆ มาทดลองปลูกเมื่อปี          พ.ศ. 2512 ที่สถานีวิจัยดอยปุย จ. เชียงใหม่ และประสบความสำเร็จ สามารถปลูกเป็นการค้าได้
 2. ลักษณะทั่วไปของพลับ
          พลับเป็นไม้ผลเขตกึ่งร้อนชนิดผลัดใบ ทรงต้นขนาดใหญ่ เมื่อโตเต็มที่มีความสูง              ถึง  12  เมตร ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีแดงอมส้ม ตามลำดับ

 3. ชนิดและพันธุ์ของพลับ
                โดยทั่วไปแบ่งพลับออกเป็น 2 ประเภท คือ
                 3.1     พลับฝาด เป็นพลับที่ต้องผ่านกรรมวิธีขจัดความฝาดจึงจะรับประทานได้  ได้ แก่
พันธุ์ พี 2  ( Xichu )  ฮาซิยา  (  Hachiya ) และ โทเนวาเช่   ( Tone Wase )   เป็นต้น
                 3.2    พลับหวาน เป็นพลับที่มีรสหวานกรอบและไม่ฝาดสมารถรับประทานได้เลย ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีขจัดความฝาดได้แก่ พันธุ์  ฟูยู ( Fuyu ) จิโร ( Jiro )  อิซึ  ( Izu ) และ เฮียะคุเมะ                 ( Hyakkume  )

 4.  สภาพพื้นที่ละสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม
  พื้นที่ปลูกต้องสูงจากระดับน้ำทะเล มากกว่า 800 - 1,000 เมตรขึ้นไป ปลูกได้ดิน              ทุกประเภทแต่ที่เหมาะสม คือ ดินร่วนปนทราย ในสภาพเป็นกรดอ่อนๆ และพ้นที่ปลูกไม่ควรมีลมแรงเพราะจะทำให้ผิวผลพลับมีตำหนิ

 5. การขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า
                  การขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า สามารถทำได้ดังนี้
  5.1  การเพาะเมล็ด พลับพันธุ์ที่ใช้เป็นต้นตอ ได้แก่ ต้นเต้าชื่อ ( D. lotus ) และต้นกล้วยฤาษี ( D.glandulosa  ) เมล็ดพลับต้นตอที่เก็บจากต้นสามารถเพาะได้ทันที ส่วนเมล็ดที่เก็บไว้นานจะพักตัว ต้องแช่เมล็ดในตู้เย็นประมาณ 1-2 เดือน ก่อนนำมาเพาะ
  5.2  การเปลี่ยนยอด ทำได้หลายวิธี เช่นการเสียบยอด การเสียบข้าง การติดตา เป็นต้น สามารถทำได้ทั้งในเรือนเพาะชำและในแปลงปลูก แต่นิยมทำในแปลงปลูกมากกว่าช่วงเวลาเปลี่ยนยอดที่เหมาะสมคือ เดือน ธันวาคม
 6. การปลูกและการดูแลรักษา
   6.1   การปลูกพลับ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 6 × 6 หรือ 8× 8 เมตร หลุมปลูกควรมีขนาดไม่น้อยกว่า  0.7 × 0.7 × 0.7  เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ช่วงการปลูกที่เหมาะสม คือ ต้นฤดูฝน
  6.2 การจัดทรงต้น การจัดทรงต้นต้องทำตั้งแต่ต้นพลับยังเล็ก และทำเป็นประจำทุกปี โดยทำการตัดยอดในช่วงพักตัวและเมื่อต้นพ้นจากพักตัวในเดือน มีนาคม ต้นพลับจะแตกกิ่งเลือกกิ่งที่สมบูรณ์ 3-4 กิ่ง เพื่อให้เป็นกิ่งโครงสร้าง
  6.3  การตัดแต่งกิ่ง ทำในฤดูหนาว ช่วงที่ต้นพลับพักตัวในเดือน ธันวาคม ถึงเดือน กุมภาพันธ์
  6.4   การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยแก่ต้นพลับ  ควรแบ่ง 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกให้เมื่อพลับเริ่มออกดอก โดยให้สูตร 13-13-21 อีกครั้งหนึ่ง ให้หลังจากเก็บเกี่ยวผลและตัดแต่งกิ่งแล้วโดยให้สูตร 15-15-15 สำหรับอัตราที่ใช้ก็แล้วแต่ขนาดและอายุของพลับ วิธีการให้ทำโดยพรวนดินรอบบริเวณทรงพุ่มตื้น ๆ ไม่ต้องลึกแล้วโรยปุ๋ยรอบ ๆ หลังจากนั้นก็ให้น้ำตาม บริเวณที่โรยปุ๋ยให้ทั่ว
  6.5    การให้น้ำ
   พลับจะแตกตาและเริ่มเจริญเติบโตใหม่ในฤดูแล้ง คือ เดือน มีนาคมควรให้น้ำในฤดูแล้งบ้างจะทำให้ต้นพลับมีการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตดีขึ้น
 6.6   การกำจัดวัชพืช
   ใช้วิธีการตัดหญ้าให้สั้นและคลุมโคนป้องกันวัชพืชหรืออาจจะปลูกพืชคลุมดิน  เช่น      ถั่วต่างๆ ช่วยควบคุมวัชพืชและบำรุงดิน
6.7  โรคและแมลง แมลงที่พบ ได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงวันทอง และแมลงกัด        กินใบ
 
 7. การเก็บเกี่ยวและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
                   ผลพลับสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือน กรกฎาคม ถึงต้นเอนกันยายน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์
                  7.1  ดัชนีการเก็บเกี่ยว จะพิจารณาจากลักษณะสีผิวของผล
                  7.2  วิธีเก็บเกี่ยวผล ให้ใช้กรรไกรตัดที่ขั้วผลให้หลุดจากกิ่ง จากนั้นตัดขั้วผลให้สั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ทิ่มแทงผลอื่นเสียหาย และให้ส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ผลด้วย
               7.3   กรรมวิธีการขจัดความฝาด มีหลายวิธี  เช่น การใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  การ         ใช้สภาพสุญญากาศ  การใช้น้ำปูนใส  และ การใช้แอลกอฮอล์  เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น